ขอนแก่น – ในวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีการชุมชนุมในมหาวิทยาลัยขอนแก่นซึ่งถือเป็นการชุมชุมที่มีความพิเศษกว่าการชุมนุมทั่วไป เพราะถึงแม้ว่าการชุมนุมนี้จะมีการเรียกร้องให้ยุติการใช้สองมาตรฐาน มีการยืนหยัดต่อความรักที่มีต่อประชาธิปไตย และรวมทั้งมีนักศึกษาคนหนึ่งที่ใช้สีทาหน้าของตัวเองเพื่อเลียนแบบใบหน้าของศพ แต่การชุมนุมของนักศึกษากลุ่มนี้กลับไม่สามารถเรียกความสนใจจากผู้คนได้ ในใจกลางเมืองที่รู้กันว่ามีชุมชนเสื้อแดงที่ใหญ่ที่สุดและมีความเข้มข้นที่สุดในประเทศนั้น กลุ่มนักศึกษาขาดสิ่งหนึ่งที่การชุมนุมแทบไม่เคยขาด นั่นคือ จำนวนคน จากจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งหมดกว่า 24,000 คน มีเพียง 14 คนเท่านั้นที่รวมตัวแสดงจุดยืนของตนเอง
” ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะสังคมไทย” ปฏิวัฒน์ สาหร่ายแย้ม ผู้นำนักศึกษา วัย 20 ปี กล่าวถึงเหตุที่การชุมนุมเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์การสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงครั้งนี้มีนักศึกษาเข้าร่วมน้อยมาก “ สังคมไม่ได้สอนให้คนหนุ่มสาวทำสิ่งดีๆต่อประเทศมากสักเท่าไหร่นัก และระบบการศึกษานั้นก็ไม่ได้สอนให้ใส่ใจผู้คนรอบข้างอีกด้วย ”
วันที่ 19 พฤษภาคมปีนี้ถือเป็นวันครบรอบ 1 ปีของการปราบปรามทางทหารที่นองเลือด คนเสื้อแดงซึ่งรวมตัวก่อม็อบกันในกรุงเทพฯ เพื่อเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งที่ยุติธรรม
อีกเหตุผลหนึ่งที่การชุมนุมนี้ไม่ได้รับความสนใจนัก เพราะขณะนี้เป็นช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน ในขณะที่นักศึกษากลุ่ม “ซุ้มเกี่ยวดาว” รวมตัวกันที่หน้าสโมสรนักศึกษา เพื่อนร่วมสถาบันส่วนใหญ่ต่างก็กลับบ้านเป็นเวลาหลายสัปดาห์แล้ว อย่างไรก็ตาม สมาชิกของกลุ่มยังประมาณการว่าการชุมนุมนี้เป็นไปเกือบเต็มรูปแบบ นายปฏิวัฒน์เล่าว่า ในการทำกิจกรรมครั้งหนึ่งๆ สมาชิกกลุ่มซุ้มเกี่ยวดาวมักมารวมตัวกันไม่ถึง 20 คน ด้วยซ้ำ
รศ. ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง อาจารย์จากสาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า เรื่องนี้แสดงให้เห็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการประท้วงของนักศึกษาในเหตุการณ์พฤษภาคมทมิฬ เมื่อพ.ศ. 2535 ดร. บัวพันธ์เล่าว่า ในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าว เขานำขบวนนักศึกษาประท้วงโดยการขับรถมอเตอร์ไซค์เป็นระยะทางกว่า 6 กิโลเมตรจนถึงตัวเมืองขอนแก่น เพื่อคัดค้านการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารบก สุจินดา คราประยูร ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดร. บัวพันธ์ยังกล่าวอีกว่า มากกว่าร้อยละ 20 ของนักศึกษาสมัยนั้นมีความตื่นตัวเรื่องการเมือง แต่ว่าปัจจุบันนี้ได้ลดลงไปจนมีไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำ
อะไรคือต้นเหตุที่ทำให้จำนวนคนหนุ่มสาวที่สนใจการเมืองลดลงเล่า ? “คำตอบ คือ บริโภคนิยม ” ดร.บัวพันธ์กล่าว “การศึกษาในประเทศไทยนั้นเพียงแค่ส่งเสริมสถานะของคนเพื่อให้พวกเขาสามารถหาเงินได้มากขึ้น และถ้าคุณขอให้นักศึกษาเรียงลำดับว่าอะไรสำคัญที่สุด นักศึกษาจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เงิน ” ดร. บัวพันธ์ได้อธิบายต่อไปอีกว่า แนวคิดบริโภคนิยมนี้เป็นผลโดยตรงจากการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและความทันสมัยที่เกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด
การเกิดขึ้นของลัทธิบริโภคนิยมนี้มักเป็นคำอธิบายทั่วไปของการที่นักศึกษาเอาตัวออกห่างจากการเมือง แต่ นายยรรยง ผิวผ่อง นายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น (เคยถูกจับกุมในฐานะคนเสื้อแดงมาแล้ว 1 ครั้ง) ได้เสนอการวิเคราะห์ที่ร้ายแรงมากกว่านั้น “มีบางคนที่คุณอาจคิดว่าจะเป็นคนเสื้อแดง แต่ส่วนใหญ่ไม่ต้องการที่จะแสดงตนว่าเป็นคนเสื้อแดง” นายยรรยงกล่าวว่ามีการกดดันจากสถาบันและสังคมอย่างมากในการห้ามแสดงออกทางการเมืองที่ชัดเจน
แม้ว่าการพูดคุยกันเรื่องการเมืองไทยในห้องเรียนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้น ได้สร้างแรงสนับสนุนบางคนให้ตะโกนออกไปว่า ” เกลียดทักษิณ ” หรือคำพูดที่คล้ายๆ กัน แต่ก็เทียบไม่ได้ยินความเห็นที่ต่อต้านอย่างสุดขั้วเลย อาจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น จากบรรดานักศึกษาหลายร้อยคนของอาจารย์ท่านนี้ มีเพียงหนึ่งคนเท่านั้นที่ต่อต้านเสื้อแดงอย่างโจ่งแจ้ง ส่วนนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 1 ได้กล่าวอย่างเป็นนัยๆ ว่าเขาต้องแสดงจุดยืนในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง แต่เขากลัวกว่าสิ่งนี้อาจส่งผลกระทบกับการเรียนของเขา
แม้แต่สมาชิกกลุ่มซุ้มเกี่ยวดาวเองก็ไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นในการประชาสัมพันธ์ของกลุ่ม ในวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีสมาชิกกลุ่มเพียง 8 คนเท่านั้นที่ใส่เสื้อสีแดงและหลายคนก็ปฏิเสธที่จะบอกชื่อเมื่อมีการสัมภาษณ์
พักหลังๆ นี้ การกิจกรรมหรืแอการเคลื่อนไหวของนักศึกษาได้รับความสนใจจากภายนอกเป็นอย่างมาก จากการที่กลุ่มต่อต้านประเพณีการรับน้องของมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ก่อให้เกิดประเด็นถกเถียง เมื่อคลิปวิดีโอการรับน้องเมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมาถูกเผยแพร่สู่สาธารณชน ผศ.ดร. ศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดีของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ให้สัมภาษณ์กับทางผู้จัดการเอเอสทีวีถึงกรณีนี้ว่า นักศึกษาที่ประท้วงต่อการรับน้อง “มีความนรู้มากเกินไป” และ “ศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนมากเกินควร ”
สภานักศึกษาอีสานและสภานักศึกษาแห่งประเทศไทยได้เข้ามาช่วยปกป้องกันผู้ชุมนุมประท้วงด้วยการยื่นจดหมายเปิดผนึกซึ่งเรียกร้องให้มีการยุติระบบโซตัส (SOTUS) ในการรับน้องใหม่ โดยยืนยันว่าระบบนี้ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของนักศึกษาใหม่
เหตุการณ์วุ่นวายที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่การชุมนุมทางการเมืองของนักศึกษา แต่ก็เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ทราบถึงมุมมองของผู้บริหารที่มีต่อการแสดงออกของนักศึกษาภายในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเห็นได้จากการแสดงความเห็นของท่านอธิการบดี สุรชัย ที่กล่าวว่า “ถ้านักศึกษาร้องเรียนเรื่องการรับน้อง ประเทศไทยก็คงจะถึงจุดวิกฤตแล้ว”
หากการร้องเรียนที่ถือเป็นเรื่องธรรมดาของการแสดงความคิดที่ไม่เห็นด้วยนั้นก็เพียงพอที่เป็นอันตรายต่อรากฐานของทั้งประเทศแล้ว ก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมนักศึกษาจึงเลือกที่จะหันไปหาลัทธิบริโภคนิยมและปิดปากเงียบ