ชัยภูมิ — ชาวบ้านชายและหญิงรวม 11 คน จากอ. คอนสารถูกจับกุมในเช้าวันศุกร์ที่ผ่านมาเนื่องจากบุกรุกที่ดินในเขตป่าสงวน อ. คอนสาร ในช่วงเช้าของวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น เจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบมากกว่า 100 นายพร้อมอาวุธจากกรมป่าไม้  องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป. ) และกองกำลังตำรวจท้องถิ่น ได้เข้าไปยังบ้านโคกยาวและได้กวาดต้อนชาวบ้านให้ขึ้นไปยังท้ายรถตู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

การจับกุมนี้ได้เกิดขึ้นเกือบสี่เดือนหลังจากที่รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ ได้มีตัดสินใจที่จะระงับการดำเนินการทางกฎหมายกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนที่ดินที่ขัดแย้งกันในวันที่ 9 มีนาคม ที่ผ่านมา”ผมคิดว่าพวกเขาแค่จะสำรวจป่าตามปกติ” เด่น กำเล ชาวบ้านบ้านโคกยาวที่ถูกจับกุมของกลุ่ม กล่าว”พวกเขาเข้าล้อมเราและขอให้เราออกจากพื้นที่ ผมสงสัยว่าทำไมเราต้องออกจากที่ดินของเรา’ผมแสดงเอกสารต่อพวกเขาเกี่ยวกับการเจรจาต่อรอง ตั้งแต่เดือนมีนาคม 9 และเจ้าหน้าที่ว่า ของพวกนี้ไม่มีประโยชน์.'”

เมื่อถามถึงความคิดเห็น นายประทีป ศิลปเทศ  นายอำเภอคอนสาร และผู้ออกคำสั่งให้จับกุมกล่าววา เขาไม่รู้ทราบอะไรเกี่ยวกับข้อตกลงในวันที่ 9 มีนาคม การเผชิญหน้าในวันศุกร์เกิดจากข้อพิพาทที่ดินใน 10 ปีที่ผ่านมา ระหว่างชาวบ้านที่เรียกร้องสิทธิของบรรพบุรุษและองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐที่ขณะนี้ดำเนินการปลูกยูคาบนที่ดิน ในปี พ.ศ. 2529 ทางทหารได้ใช้อำนาจกำหนดให้บริเวณรอบๆ หมู่บ้านโคกยาวเป็น”พื้นที่สีชมพู” ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ภายใต้การคุกคามอันใกล้นี้ของกลุ่มการก่อความไม่สงบของก่อการร้ายคอมมิวนิสต์  และได้สั่งให้ชาวบ้านทั้งหมดย้ายออก อย่างไรก็ตาม เพียงหนึ่งปีจากนั้นองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ก็เริ่มปลูกต้นไม้ยูคาใน ไร่ข้าวโพดของ หมู่บ้านและภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ก็ไม่เคยปรากฏให้เห็นนั่นทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่าพวกเขาโดนหลอกไม่มีใครได้รับการชดเชยสำหรับที่ดินที่พวกเขาสูญเสียไป

ในช่วงต้นทศวรรษ 2540 หมู่บ้านโคกยาวทั้งพยายามและล้มเหลวในการดำเนินการเพื่อให้ได้ที่ดินของตนคืนมาผ่านการร้องเรียนโดยตรงกับหน่วยงานรัฐในจังหวัด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2548 พยายามของพวกเขาก็เริ่มสัมฤทธิ์ผล นายไสว ชูลัลนิ ผู้นำชุมชนคนใหม่ที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งในขณะนั้นได้ทำการติดต่อกับเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสานซึ่งเป็นสาขาภูมิภาคของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยและด้วยการสนับสนุนจากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน ชาวบ้านโคกยาวก็เริ่มมีส่วนในนโยบายสิทธิถือครองที่ดินที่มักจะมาการตัดสินใจในกรุงเทพและเริ่มย้ายกลับไปยังที่ดินของตนอย่างช้าๆ

จากนั้น เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา หลังจากหลายปีของการรณรงค์โดยเครือข่ายปฏิรูปที่ดิน  35 หมู่บ้านทั่วประเทศได้รับอนุญาตจากสำนักนายกรัฐมนตรีให้ย้ายกลับไปยังดินแดนบรรพบุรุษของพวกเขา แม้ว่าหมู่บ้านโคกยาวจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มของหมู่บ้านเหล่านี้ (ทั้งๆ ที่บ้านบ่อแก้ว ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงได้รับอนุญาต ) แต่ผู้นำชุมชนก็มองว่าการตัดสินครั้งนี้เป็นการเปิดเสรีมากขึ้นของรัฐบาลกลางในนโยบายที่ดิน หลังจากข้อตกลงเมื่อ 9 มีนาคมหมู่บ้านโคกยาวได้ทำการยื่นขอโฉนดที่ดินและชาวบ้านเริ่มที่จะย้ายกลับไปอย่างจริงจัง

ในขณะที่การระงับการดำเนินคดีกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนที่ดินนั้นถือเป็นความก้าวหน้าอีกก้าวหนึ่ง ของเครือข่ายปฏิรูปที่ดิน การจับกุมที่ขึ้นในวันศุกร์ที่ผ่านมา ก็แน่นอนว่าเป็นการก้าวถอยหลังไปอีก 2 ก้าว”ผมค่อนข้างกังวลเกี่ยวกับการจับกุม” นายไสวให้สัมภาษณ์สิบสองชั่วโมงหลังจากที่เพื่อนบ้านของเขาได้รับการปล่อยตัว “หากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ในเร็ว ๆ นี้ ผมคิดว่าอาจจะมีการปะทะกันรุนแรงระหว่างชาวบ้านและเจ้าหน้าที”

อย่างไรก็ตาม ยังพอมีหนทางที่จะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งได้ เมื่อ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา เครือข่ายปฏิรูปที่ดินได้พบกับฝ่ายการเมืองระดับชาติจำนวนมากเพื่ออธิบายถึงปัญหาที่ชาวบ้านหลายร้อยหลายพันคนได้รับผลกระทบจากปัญหาสิทธิในที่ดินพรรคการเมืองทั้ง 11 พรรครวมถึงพรรคเพื่อไทยที่เพิ่งชนะการเลือกตั้ง ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ชาวบ้านที่เดือดร้อน”ถ้าพวกเขาไม่ปฏิบัติตามสัญญา” นายโมทย์ เลขานุการของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสานกล่าว”เราก็จะเริ่มต้นประท้วงต่อไป

image_pdfimage_print