ขอนแก่น – ร่องรอยของน้ำท่วมได้หายไปแล้ว เหลือเพียงทุ่งนาที่ว่างเปล่า นายอุดม พันธ์พระศรี กำลังใช้เวลาทั้งสัปดาห์ในการปักดำกล้าข้าวเป็นแนวยาวลงไปในแปลงนาที่เต็มไปด้วยโคลน ซึ่งมีชาวบ้านแวะมาดูการปักดำกล้าทีละต้นของนายอุดมอย่างเงียบๆ
ในบ้านยางหย่อง นายอุดมเป็นที่รู้จักดีในเรื่องความสามารถในการทำนา และมักจะมีชาวบ้านเข้ามาสอบถามและเรียนรู้เคล็ดลับต่างๆ จากเขา แต่ในขณะที่ชาวบ้านต่างอยากรู้เกี่ยวกับเคล็ดกลับการทำนาของเขา แต่กลับไม่มีใครเลยที่ทำตามวิธีที่ควรจะเป็นของนายอุดม ชาวบ้านกว่า ๖๐ ครอบครัวยังคงเดินตามวิถีเกษตรแบบเคมีที่ยังคงได้รับความนิยมอยู่มากในขณะนี้

นายอุดมและภรรยากำลังปักดำต้นกล้าในนาของพวกเขา
“มันเป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนใจชาวบ้านให้หันมาใช้สารอินทรีย์ และแม้ว่าผมจะบอกพวกเขาว่า อย่าใช้สารเคมีเลย พวกเขาก็ไม่ฟัง เพราะวิธีที่พวกเขาทำ มันง่ายกว่ามาก แต่ก็มีชาวบ้านหลายคนที่พยายามจะใช้ปุ๋ยชีวภาพ แต่จากนั้นเพียงหนึ่งเดือน พวกเค้าก็กลับมาพึ่งพาปุ๋ยเคมีเหมือนเดิม” นายอุดมกล่าว
ตั้งแต่ช่วงปี ๒๕๐๐ เป็นต้นมา การทำเกษตรแบบเคมีในภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ตามรายงานของกลุ่มกรีนพีช ซึ่งเป็นองค์กรที่รณรงค์เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมได้รายงานว่า เกษตรกรไทยได้ใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นประมาณ ๙๔ เท่า จากปี ๒๕๐๔ ที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีประมาณ ๑๘๐๐๐ ตันเพิ่มเป็น ๑,๗๐๐,๐๐๐ ตันในปี ๒๕๔๖ แต่ผลผลิตทั้งประเทศกลับเพิ่มขึ้นเพียงสองเท่าเท่านั้น
เป็นที่หน้าแปลกใจอย่างยิ่งที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น แต่กลับได้ผลผลิตทางการเกษตรในปริมาณน้อย ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดความกังวลอย่างมากจากผลกระทบจากสารเคมีที่ใช้ แต่นี้ก็ทำให้มีชาวนาเพียงไม่กี่คนหันกลับมาทำการเกษตรแบบอินทรีย์ นอกจากนี้ การใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไป หรือใช้ผิดวิธีก็สามารถส่งผลร้ายต่อสุขภาพของเกษตรกรและทำให้คุณภาพของดินเสื่อมลงทั้งชาวนาและนักวิชาการต่างเห็นด้วยที่ว่า การทำการเกษตรแบบอินทรีย์นั้นยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เพราะไม่มีตลาดส่งออกไปยังต่างประเทศสำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย
“รัฐบาลให้ความสนใจไปที่การส่งออก ดังนั้นจึงไม่มีการประกันราคาข้าวที่ได้จากการทำนาแบบอินทรีย์ และรัฐบาลก็ไม่ได้ให้ความสนใจในการสนับสนุนวิถีทางของการเกษตรทางเลือก” อ.วิเชียร แสงโชติ จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่นกล่าว
ในขณะที่การส่งออกข้าวหอมมะลิได้รับความนิยมอย่างมากและได้ราคาขายจากรัฐบาลถึงตันละ ๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นราคาประมาณสองเท่าของมูลค่าในตลาด ในทางตรงกันข้าม ข้าวชนิดอื่นที่ได้จากการทำเกษตรอินทรีย์กลับไม่ได้รับการประกันราคาจากรัฐบาล
เกษตรกรอินทรีย์อย่างนายอุดมมีเพียงไม่กี่ทางเลือกในการขายข้าว เขาจึงต้องจำยอมขายข้าวให้กับโรงสีเอกชนในท้องถิ่นที่มักจะกดราคาข้าวอย่างมาก “เจ้าหน้าที่รัฐบอกไม่ให้เราใช้ปุ๋ยเคมี แต่เมื่อเราเอาข้าวไปขายให้กับรัฐบาล รัฐบาลกลับชอบข้าวที่ได้จากการใช้ปุ๋ยเคมี” นายอุดมกล่าวอย่างคับข้องใจ
การชักนำให้ชาวนาเปลี่ยนการทำเกษตรมาเป็นแบบอินทรีย์ยังคงเป็นอุปสรรค์ เนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมีในฤดูกาลเก็บเกี่ยวนั้นๆ ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น และต้นข้าวมีความแข็งแรง แต่การใช้ปุ๋ยอินทรีย์นั้นผลของการใช้ปุ๋ยจะเริ่มเห็นในสองถึงสามปีหลังจากการใช้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้เริ่มใช้โครงการลดการพึ่งพาเกษตรแบบเคมีเมื่อประมาณสิบห้าปีที่แล้ว กระทรวงเกษตรฯ ได้จ้างเจ้าหน้าที่เกษตรของแต่ละจังหวัดให้สอนเกี่ยวกับหลักปฏิบัติของการทำการเกษตรที่ดี ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกษตรกรมีการใช้สารเคมีในภาคการเกษตรและสารอินทรีย์มากขึ้น
“เมื่อก่อนนชาวนาใช้เพียงปุ๋ยเคมีเท่านั้น เป็นหน้าที่ของเราที่จะทำให้ชาวนาลดการใช้ปุ๋ยเคมีและหันกลับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์” นายอำพน ศิริคำ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการของกระทรวงเกษตรฯ กล่าว
แต่ทว่า หลายปีที่ผ่านมา มีการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก ๔๒,๐๐๐ ตันในปี ๒๕๔๐ เป็น ๑๓๗,๐๐๐ ตันในปี ๒๕๕๒
นายอำพลคาดว่าในตำบลโคกสีที่นายอุดมอาศัยอยู่นั้น มีชาวนาว่าครึ่งที่ทำนาโดยใช้สารเคมี และอีกครึ่งใช้ทั้งสารเคมีและสารอินทรีย์ ซึ่งการเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบอินทรีย์อย่างเดียวนั้นเป็นเรื่องยาก
“ถ้านายอุดมเป็นเพียงคนเดียวในหมู่บ้านที่ทำกาเกษตรแบบอินทรีย์ เขาอาจลำบากในการขายข้าวให้ได้ในราคาที่เป็นธรรม เขาต้องรวมกลุ่มกับชาวนาที่ทำเกษตรแบบอินทรีย์คนอื่นๆ หรือไม่ก็ชักชวนในเพื่อนบ้านหันมาทำนาแบบอินทรีย์มากขึ้น หากมีเขาเพียงคนเดียว เขาก็ต่อรองอะไรไม่ได้เลย” รศ.ดรพัชรี แสนจันทร์ อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกล่าว
เครือข่ายของเกษตรกรอินทรีย์นั้นมีจำนวนน้อยมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย กลุ่มเครือข่ายเกษตรกรทางเลือกกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในจังหวัดยโสธรและสุรินทร์ และมีกลุ่มสหกรณ์เล็กๆ กระจายตัวอยู่ตามจังหวัดต่างๆ