ขอนแก่น – เป็นครั้งที่สองในรอบไม่กี่สัปดาห์มานี้ คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา๑๑๒ (ครก ๑๑๒) ได้พยายามที่จะทำการปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (มาตรา ๑๑๒) ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการจัดงานในครั้งน ได้ใช้กลวิธีในการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ซึ่งใกล้เคียงกับวิธีการ “ไม่ถาม ไม่ตอบ”  สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) พยายามที่จะไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งกับมหาวิทยาลัยและเลือกที่จะแจ้งทางโรงแรมขวัญมอว่าการจัดงานที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นในครั้งนี้ เป็นการจัดงานของ “สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน” ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้รับจดหมายชี้แจงจุดประสงค์จากสหพันธ์นิสิตนักศึกษาฯ และเลือกที่จะไม่ได้ไต่ถามถึงการจัดงานในครั้งต่อไป

แม้ว่ากลวิธีที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานของผู้ที่จัดงานนี้อาจจะดูเหมือนไม่ใช่สิ่งที่สำคัญ แต่มันเป็นดั่งสัญลักษณ์ของการก้าวต่อไปที่อันตราย ซึ่งเป็นสิ่งที่ปัญญาชน และมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา ๑๑๒ เริ่มมีการรณรงค์ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นเมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา

ที่จริงแล้ว ในการจัดงานของคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา ๑๑๒ ที่โรงแรมในมหาวิทยาลัยเมื่อครั้งก่อนที่มีขึ้นในวันที่ ๒๙ มกราคม ก็ได้มีการเชิญวิทยากรจากทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร. บัวพันธ์ พรหมพักพิง แต่ได้ปฏิเสธการเข้าร่วมงานในนาทีสุดท้าย ซึ่งในตอนหลัง รศ.ดร. บัวพันธ์  อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ชี้แจ้งว่าไม่ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรในงานเพราะว่า นักข่าวของผู้จัดการออนไลน์ได้เผยแพร่ข่าวที่ว่าทางคณะของอาจารย์นั้นเป็นหนึ่งในผู้ร่วมจัดงาน ซึ่งนั้นไม่เป็นความจริง “ซึ่งทางคณะไม่ค่อยพอใจเท่าไหร่กับคำพูดดังกว่า” รศ.ดร. บัวพันธ์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในช่วงบ่ายของวันจันทร์ที่ผ่านมา อาจารย์ บัวพันธ์ได้เข้าร่วมงานและเป็นอาจารย์เพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เข้าร่วมงานนี้ เนื่องจากความสับสนของการรายงานข่าวเมื่อเดือนที่แล้ว ในครั้งนี้อาจารย์จึงเลือกที่จะไม่ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนา

“มหาวิทยาลัยต่างๆ ในแต่ละภูมิภาค ต่างระแวดระวังอย่างมากกับเรื่องนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ซึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ) เราเป็นมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดและเราคิดว่ามหาวิทยาลัยของเราเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล ซึ่งนโยบายของรัฐบาลนั้นได้ให้ความสนใจไปที่ความมั่นคง ดังนั้นมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงกังวลเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงมากกว่าเสรีภาพในการพูด” ดร. บัวพันธ์กล่าว

เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้อนุญาตอย่างเป็นทางการให้มีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับมาตรา ๑๑๒ ได้ในพื้นที่มหาวิทยาลัย หลังจากที่ห้ามจัดกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว ก่อให้เกิดการถกเถียงอย่างมาก การตัดสินใจของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองมากที่สุดในประเทศไทย ไม่ได้ส่งผลใดๆ ต่อมหาวิทยาลัยอื่นๆ ของรัฐในต่างจังหวัด

ยิ่งไปกว่านั้น ดร. เดวิด สเต็กฟาส นักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของประเทศไทยและเป็นผู้ที่อาศัยในจังหวัดขอนแก่นได้พูดเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในประเทศต่างๆ ที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุก แต่อย่างไรก็ตามเขาก็ไม่ได้พูดถึง “ประเทศไทย” เลยแม้แต่ครั้งเดียว

เมื่อถามว่าทำไม ดร.เดวิดเลือกที่จะไม่พูดเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย ดร. เดวิดเพียงตอบว่า “คนไทยอาจมีการเข้าถึงข้อกฎหมายที่แตกต่าง หรือบทบัญญัติอื่นๆ (กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) ได้น้อยกว่าประเทศอื่นๆ ที่ปกครองในรูปแบบเดียวกัน ประเทศไทยหรืออย่างน้อยรัฐบาลชุดใหม่ก็ต้องการที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานสากลของในเรื่องสิทธิมนุษยชน ในกรณีนั้นเราก็จะได้รู้ว่ามาตรฐานเหล่านั้นคืออะไร และวิธีต่างๆ ที่จะได้พบในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เช่นกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของประเทศเหล่านั้นมีการจัดการอย่างไร”

แม้ว่าในการจัดงานในวันจันทร์จะมีความระมัดระวังอย่างมาก แต่ทางนักศึกษาที่เป็นผู้จัดงานเองก็ไม่ได้กังวลต่อการจับตาของเพื่อนนักศึกษาหรือทางมหาวิทยาลัย ซึ่งพวกเขาเห็นว่าการให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรา ๑๑๒ และจุดประสงค์ของการจัดงานนี้เป็นสิ่งที่จำเป็น

“เราไม่ได้กลัว แต่เราประเมินสถานการณ์และไม่อยากให้มีแรงกดดันจนถึงขั้นว่า ไม่ให้จัดงานเลย เหมือนครั้งก่อนที่วิทยากรต้องถอนตัว ครั้งหน้า เราอาจจะจัดที่ จ.เลย หรือ จ.สกลนคร หรือถ้ามีกลุ่มหมู่บ้านที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับมาตรา ๑๑๒ เราก็ยินดีที่จะไปจัดในระดับชุมชน หมู่บ้าน หรือ อำเภอ” นักศึกษาผู้จัดงานจากสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยกล่าว

image_pdfimage_print