ขอนแก่น-ผู้คน ส่งเสียงร้องด้วยความชื่นชมทันทีเมื่อภาพอดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปรากฏอยู่ในภาพโปรเจคเตอร์ แต่ถ้าว่าเสียงแซ่ซ้องนั้นก็ไม่ได้เป็นการสนับสนุนอดีตนายกท่านนี้แต่อย่าง ใด แท้ที่จริงแล้วผู้ชมในห้องประชุมต่างพากันส่งเสียงสนับสนุนคำกล่าวของผู้พูดบรรยายภาพสไลด์นั่นเอง
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาที่วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่ม ผู้สัมนากล่าวสนับสนุนบทบาทสำคัญของศาลอาญาระหว่างประเทศที่จะสามารถสร้าง ความยุติธรรมต่อระบบศาลไทยโดยยุติการยกเว้นโทษให้ผู้มีอำนาจทางการเมือง
นอกจากภาพของอดีตนายกอภิสิทธิ์แล้ว ทั้งนี้ยังมีการแสดงภาพของผู้นำของโลก เช่น Thomas Lubanga Dyilo ผู้นำแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, Charles Taylor ผู้นำลิเบีย ซึ่งไดถูกนำขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศในข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติผู้ ร่วมอภิปรายยังกล่าวอีกว่าอดีตนายกรัฐมนตรีควรเป็นรายต่อไป
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย คุณจารุพันธ์ กุลดิลก กล่าวว่า “ผู้มีอำนาจสั่งให้กองกำลังทหารฆ่าประชาชนซึ่งการปฏิบัตินี้ยังคงมีอยู่ และไม่มีท่าทีว่าจะหยุดลง”
การถกเถียงนี้ได้มีขึ้นในการสัมนาอภิปรายภายใต้หัวข้อ “สิทธิของประชาชนในการปกป้องตนเองกับศาลอาญาระหว่างประเทศ” ชาวเสื้อแดงท้องถิ่นมาร่วมประชุมในห้องประชุมอย่างหนาแน่นเพื่อฟัง คุณสุนัย จุลพลสธร , คุณปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคุณสุทสันจวน สุทธิศร, คุณกิตติบดี ใยพูน อาจารย์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และคุณจารุพรรณ นำเสนอเรื่องราวดังกล่าว
ผู้ ร่วมอภิปรายเน้นย้ำว่า ในประวัติศาสตร์ ระบบการพิจารณาคดีความของประเทศไทยนั้น ค่อนข้างลำเอียงโดยเอื้อประโยชน์ให้ผู้มีอำนาจด้วยการละเว้นโทษให้บุคคลที่ กระทำความผิดซื่งผู้อภิปรายเชื่อว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และตัวอย่างที่เห็นได้เมื่อไม่นานมานี้ก็คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องเรื่องราวเหตุการณ์การใช้กำลังปราบปรามของกองกำลังทหาร เมื่อเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคมปี 2553 นอกจากนี้เหล่าผู้ร่วมอภิปรายยังกล่าวอีกว่าศาลไม่ให้ความเป็นธรรมแก่คน ยากจนที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเสื้อแดงจากภาคอีสาน
การจัดสัมนาครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการต่อสู้ของคนไทยในเรื่องสิทธิมนุษยชน เนื่องจากจัดในวันเดียวกับวันครบรอบ 36 ปีของการสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือเหตุการณ์ 14 ตุลา โศกนาฏกรรมครั้งนั้นยังคงสะท้อนอยู่ในความทรงจำของชาวไทยจำนวนมาก เหตุปราบปรามนั้นนำไปสู่การเสียชาติของชีวิตนักศึกษาผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวน อย่างน้อย 46 คน และการบาดเจ็บอีกมากมายมหาศาล ซึ่งผู้ที่อยู่เบื้องหลังคำสั่งดังกล่าวไม่เคยถูกนำตัวขึ้นต่อศาลไทย แม้ความผิดดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่ผู้ร่วมอภิปรายยืนยันว่าเป็นอาชญากรรมที่ รุนแรงต่อมวลมนุษยชาติก็ตาม เหตุการณ์ 14 ตุลานี้ถือเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่ใช้ยืนยันว่าความอยุติธรรมยังคงมีอยู่ทั่วไปในระบบศาลไทย
คุณสุดสันจวน กล่าวว่า “รัฐบาลมีหน้าที่ในการปกป้องสิทธิประชาชนแต่รัฐบาลกลับข่มเหงประชาชนด้วยอำนาจ” ดังนั้นศาลอาญาระหว่างประเทศจะสามารถเป็นหนทางในการช่วยบรรเทาความไม่เสมอ ของศาลไทยและสร้างความแข็งแกร่งให้กับสิทธิทางการเมืองของประชาชนชาวไทย ไม่ใช่เพียงแค่เฉพาะผู้มีอำนาจเหล่านั้น
ในปี พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ ระบุให้ศาลดังกล่าวเป็นที่พึ่งแห่งสุดท้าย อำนาจในการตัดสินคดีของศาลนี้รวมถึงตัวบุคคลผู้ที่ได้กระทำผิดฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ, อาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมอัน เป็นการรุกราน แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าระบบยุติธรรมของประเทศนั้นๆ ไม่มีความสามารถหรือไม่ประสงค์ที่จะจัดการเอง อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังไม่ให้สัตยาบันแก่สนธิสัญญาฉบับนี้ ถึงแม้ว่าได้ลงนามทำสัญญาไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
คุณกิตติบดีตั้งคำถามให้ผู้เข้าร่วมสัมนาที่ฟังอย่างตั้งใจว่า “สังคมประชาธิปไตยพื้นฐานควรมีความเท่าเทียมกัน มนุษย์ทุกคนควรมีความเท่าเทียมกัน แต่สังคมไทยเคารพในสิ่งนี้แล้วหรือไม่” ภาคอีสานมีแร่ธาตุและทรัพยากรทางธรรมชาติมากมาย แต่ทำไมคนอีสานยังยากจนอยู่ทำไมคนอีสานไม่ได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม”
ถึง แม้ว่าผู้เข้าฟังการอภิปรายส่วนใหญ่จะเป็นชาวเสื้อแดง แต่คุณปิยบุตรก็ได้อภิบบายเพิ่มเติมว่า ศาลระหว่างประเทศจะเป็นขั้นสำคัญต่อการช่วยเหลือชาวไทยทุกคน ไม่ใช่เฉพาะการเคลื่อนไหวของชาวเสื้อแดงเท่านั้น “หาก ศาลระหว่างประเทศก่อตั้งขึ้นสำเร็จในเมืองไทย สิ่งนี้จะช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปข้างหน้าได้เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อาวไทยเพราะอำนาจของทหารจะถูกยับยั้งและทหารจะหยุดการ ทำร้ายประชาชนอย่างที่เคยปฏิบัติมาเช่นอดีต”
คุณ ปิยบุตร สมาชิกกลุ่มนิติรัตน์ซึ่งเป็นกลุ่มวิชาการกฎหมายแห่งธรรมศาสตร์ กล่าวอย่างหนักแน่นถึงความจำเป็นในการกำจัดการละเว้นโทษให้ผู้มีอำนาจทางการ เมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณปิยบุตรได้เน้นย้ำเรื่อง มาตราที่12 วรรค 3 ของ ศาลอาญาระหว่างประเทศที่ระบุไว้ว่าศาลอาญาระหว่างประเทศสามารถสอบสวนและมี อำนาจในการตัดสินคดีในประเทศที่ยังไม่เข้าร่วมในธรรมนูญ ซึ่งต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขพิเศษ และมาตรานี้คุณปิยบุตรยืนยันว่ามีส่วนสำคัญเพราะอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และอดีตรองนายกรัฐมนตรีสุเทพ เทือกสุบรรณสามารถถูกนำตัวมาขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศได้ หากประเทศไทยมีคุณสมบัติตรงต่อเงื่อนไขเบื้องต้น
ถึง กระนั้นก็ตาม ผู้ร่วมอภิปรายก็ไม่ได้ให้การสนับสนุนการแทรกแซงของศาลอาญาระหว่างประเทศ ทั้งหมด โดยคุณกิตติบดีที่แม้จะสนับสนุนบทบาทและศักกายภาพของศาลอาญาระหว่างประเทศ ในการยุติการละเว้นโทษให้กับผู้มีอิทธิพลทางการเมือง แต่คุณกิตติบดีก็ยังเสริมว่าประเทศไทยควรมีมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงระบบ พิจารณาคดีเพื่อลดความจำเป็นในนำคดีดังกล่าวขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ และคุณสุดสันจวนก็ได้ให้การสนับสนุนความคิดนี้ โดยกล่าวว่า “ประเทศอื่นอาจหัวเราะเยาะประเทศไทยว่าไม่สามารถดูแลเรื่องภายในประเทศเองและจำเป็นต้องพึ่งศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหา”
ใน ขณะที่คนไทยโต้แย้งถึงการวิธีปูทางสู่การปรองดองของคนในชาติ คนไทยอีกจำนวนมากยังคงมีความเห็นที่ไม่ตรงกันในเรื่องการสนับสนุนศาลระหว่าง ประเทศอย่างองค์กรศาลอาญาระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามการตอบสนองของผู้ชมในห้องประชุมก็บ่งี้ไดว่าการส่งเสริมการ แทรกแซงของศาลระหว่างประเทศเริ่มขยายวงกว้างขึ้นในหมู่คนเสื้อแดงในคอีสาน