ขอนแก่น – ตลอด 7 ปีที่ผ่านมาสหภาพยุโรปได้ให้การสนับสนุน EuropeanUnion Thailand National Inter-varsity Debate Tournament (EUTH) หรือ การแข่งขันโต้วาทีภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา ระดับประเทศโดยมีวัตถุประสงค์ต่อเยาวชนไทย ดังนี้คือเพื่อกระตุ้นให้มีความคิดแบบมีวิจารณญาณสร้างคุณค่าเกี่ยวกับประชาธิปไตย และพัฒนาประสิทธิภาพในด้านภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตามปีนี้ถือเป็นวาระแรกสำหรับผู้จัดที่ได้ย้ายสถานที่การจัดการแข่งขันครั้งนี้ออกจากเขตเมืองหลวงเพื่อขยายโอกาสให้ผู้เข้าร่วมในพื้นที่อื่นๆที่นอกเหนือจากคนที่อยู่กรุงเทพฯซึ่งกรแข่งขันที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 นี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับเกียรติในการเป็นเจ้าภาพeuนักเรียนและนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ
ทั่วประเทศเดินทางมายังจังหวัดขอนแก่นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันโต้
วาทีในหัวข้ออภิปรายที่มีความหลากหลายในแต่ละประเด็น ได้แก่

ประเด็นสิทธิมนุษยชน ประเด็นเกี่ยวกับ เลสเบี้ยน(หญิงรักหญิง) เกย์(ชายรักชาย) ไบเซ็กชัวล์(คนที่รักได้ทั้งสองเพศ) ทรานซ์เจ็นเดอร์(คนที่แสดงออกในลักษณะเพศตรงข้ามที่ตนเองเป็น) และกะเทย ซึ่งรู้จักกันในตัวย่อ LGBTQ ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประเด็นสื่อมวลชน ประเด็นสิ่งแวดล้อม และประเด็นสังคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะมีขึ้นที่ปรึกษาการแข่งขันคุณชัยณรงค์ แสงษะน้อยกล่าวว่าการย้ายการจัดโต้วาทีมายังขอนแก่นในปีนี้ถือเป็นกลยุทธ์ในการปลุกวัฒนธรรมการโต้วาทีให้เกิดการพัฒนาและเติบโต ซึ่งไม่กี่ปีมานี้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในจังหวัดขอนแก่น

คุณจอห์น เดรบเปอร์ อาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นและเป็นหนึ่งในกรรมการการตัดสินการโต้วาที อธิบายว่ามีการวิพากวิจารณ์ระบบการศึกษาไทยว่ามุ่งให้ผู้เรียนท่องจำมากกว่ามุ่งให้ผู้เรียนสร้างความคิดแบบมีวิจารณญาณและด้วยระบบการศึกษาแบบดั้งเดิมนี้จึงทำให้ในภาคอิสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมาตรฐานการศึกษาตกในเกณฑ์ที่ต่ำและแหล่งการเรียนรู้ในภาคอิสานก็ถือว่ายังตามหลังหลัง ภาคอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและคณาจารย์หวังที่จะพยายามสร้างความแตกต่างจากแนวทางการศึกษาแบบดั้งเดิมนั้นโดยการสนับสนุนทักษะด้านโต้วาทีในแบบตะวันตก
และบ่มเพาะเยาวชนรุ่นใหม่ให้เปิดใจเรียนรู้ต่อสิ่งต่างๆ และให้รู้จักคิดวิเคราะห์ผู้เข้าร่วมและผู้เข้าชมต่างก็แสดงความรู้สึกไม่พอใจต่อระบบการศึกษาแบบดั้งเดิมโดยแสดงความคิดเห็นไว้ว่าการจัดการแข่งขันครั้งนี้สามารถสร้างความท้าทายต่อระบบการศึกษาแบบดั้งเดิมอย่างสำเร็จได้อย่างไร

ศิรวิทย์ สินเจริญกุล ผู้โต้วาทีจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้สะท้อนความเห็นต่อการวิจารณ์การศึกษาไทย ไว้ว่า“จากการโต้วาทีทำให้ผมได้เรียนรู้วิธีการใช้ความคิดอย่างพินิจพิเคราะห์เพื่อที่จะตอบโต้ออกมาให้ได้มากขึ้น เราไม่สามารถเรียนด้วยการท่องจำข้อมูลเท่านั้นการเรียนแบบนี้ไม่เกิดผลเพราะเราไม่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใด้ในอนาคตนักเรียนผู้มาเข้าร่วมที่มาจากภาคอื่นๆตระหนักถึงนัยสำคัญของการย้ายพื้นที่ในการจัดการแข่งขันออกมาจากกรุงเทพฯที่มีต่อระบบการศึกษาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอิสาน ศิรวิทย์กล่าวว่า

“ผมคิดว่านี่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าการศึกษาและโอกาสในการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดไว้เพียงที่เมืองหลวงซึ่งเป็นศูนย์กลางของประเทศไทยเพียงที่เดียว พื้นที่อื่นๆ มีโอกาสมากขึ้นในการเข้าถึงอุปกรณ์ ข้อมูล และการศึกษา ผมคิดว่านี่คือจุดเริ่มต้นที่ดีของประเทศไทยที่จะพัฒนากลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษา”มิกะ อภิฉัตรสกุล  ผู้โต้วาทีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเป็นผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอธิบาย ว่าการโต้วาที่เป็นการกระตุ้นให้เธอติดตามประเด็นข่าวคราวบนโลก เธอกล่าวว่า “กาโต้วาทีเป็นสิ่งกระตุ้นเพื่อให้เกิดการค้นคว้า ฉันอยากเป็นบุคคลที่รอบรู้”  แต่ทั้งนี้ มิกะ ก็ยอมรับว่า ความคิดแบบนี้ยังไม่ค่อยแพร่หลายในกลุ่มเยาวชนไทย
แต่ก็หวังว่าเธอจะสามารถกระตุ้นให้เยาวชนคนอื่นๆ มีความคิดวิเคราะห์และแรงผลักดันในตัวเองได้โดยการใกรโต้วาทีเป็นสิ่งช่วย

มีหลากหลายญัตติที่ใช้ในการโต้วาทีจัดขึ้นทั้งสัปดาห์ ซึ่งมีตั้งแต่การสนับสนุนให้มีโรงเรียนของผู้ที่มีความแตกต่างทางเพศ (LGBTQ)การใช้อากาศยานไร้คนขับในการทำสงคราม ไปจนถึงญัตติการย้ายเมืองหลวงของประเทศไทย
หัวข้อเหล่านี้ดูเหมือนจะจุดประกายให้ทั้งผู้เข้าชมและนักเรียนและนักศึกษาอาสาสมัครได้พูดคุย  กันภายนอกห้องประชุม แม้ว่าการแข่งขันจะจบไปแล้วก็ตามความหวังของผู้จัดการแข่งขันและสหภาพยุโรป คือ  การแข่งขันนี้จะช่วยสร้างเสริมผู้คนที่อยู่นอกเขตกรุงเทพฯ  ในเรื่องของทักษะด้านภาษาอังกฤษและอิสรภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยการสานต่อและผลักดันให้วัฒนธรรมการโต้วาทีดำเนินต่อไปเรื่อยๆและทางสหภาพยุโรปก็ได้ช่วยสร้างเวิร์คชอปส่วนภูมิภาค(งานเชิงปฏิบัติ)  ซึ่งหวังว่าสิ่งนี้จะเป็นส่วนช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้มหาวิทยาลัยต่างๆ  ที่อยู่นอกเขตกรุงเทพฯ ให้เข้าร่วมกิจกรรมนี้เพิ่มขึ้น  ด้วยการมอบโอกาสในการฝึกฝนและการเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขัน  EUTH NATION ในครั้งต่อๆ ไป ซึ่งจังหวัดนครราชสีมาก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เข้าร่วมได้โต้วาทีระดับภูมิภาคในปีนี้โดยหวังว่าพวกเขาจะสามารถเข้าร่วมการแข่งขันในระดับประเทศครั้งต่อไป

คุณแอนนา บรีทริซ มาตินส์ หัวหน้าฝ่ายการเมือง ข่าวและ ข้อมูล แห่งสหภาพยุโรป และรับหน้าที่ตัดสินการโต้วาทีรอบสุดท้าย  พูดถึงอิทธิพลที่เธอหวังให้การขยายวัฒนธรรมโต้วาทีมีต่อเยาวชนไทยรุ่นถัดไป  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องกระแสทางด้านการเมืองในปัจจุบัน โดยกล่าวว่า “เจตนาของเรา คือ  การสร้างเยาวชนรุ่นใหม่และสังคมใหม่ซึ่งเรียนรู้วิธีการถกเถียงอย่างสร้างสรรค์  และเรียนรู้ที่จะเอาชนะความคิดเห็นที่แตกต่างกันด้วยการสนทนามากกว่าที่จะใช้การรุกรานหรือความรุนแรง”  และฉันคิดว่าประเทศไทยกำลังดำเนินมาในเส้นทางนี้”

คุณแอนนาเชื่อว่าการย้ายการแข่งขันในปีนี้มาจัดที่ขอนแก่นถือว่าเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปและภาคอีสานโดยผ่านทางการสนับสนุนวัฒนธรรมการโต้วาทีให้เติบโตในภูมิภาคนี้ “พวกเรามีความรู้สึก
สุขใจอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นยินดีเป็นเจ้าภาพ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย

มหาวิทยาลัยขอนแก่นเสมือนเป็นผู้ร่วมมือโดยธรรมชาติสำหรับพวกเราเราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะดำเนินการสนับสนุนวัฒนธรรมการโต้วาทีนอกเขตกรุงเทพฯ  และเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ต่อภูมิภาคอื่นๆด้วย”

image_pdfimage_print