เดอะอีสานเรคคอร์ดขอเปิดตัวคอลัมน์การนำเสนอเรื่องราวจากอีสานบนเว็บไซต์ข่าวของเราอีกรูปแบบหนึ่ง เรียกว่า “ชีวิตอีสาน” ซึ่งจะนำเสนอเรื่องราวของคนอีสาน ทั้งคนที่มีและไม่มีบทบาทอำนาจในสังคม คนยากคนจน คนที่มีฐานะ คนที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสังคม และบุคคลทั่วไปที่ดำเนินชีวิตทำมาหากินในแต่ละวัน

ครั้งแรกของการนำเสนอผ่านคอลัมน์นี้ เราขอนำเสนอเรื่องราวชีวิตและการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้ซึ่งดูแลสุขภาพผู้ยากไร้ในชุมชนแออัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองขอนแก่น แต่ก็ยังเป็นได้แค่ชุมชนชายขอบของสังคมไทย

โดย โซอี สวาร์ทส, มาริโกะ พาวเวอร์ส และ เคที มาธีสัน

องค์กรสหประชาชาติรายงานว่าสืบเนื่องจากสูงวัยขึ้นของประชากรภายในประเทศ รัฐบาลไทยได้เริ่มให้การช่วยเหลือด้านสวัสดิการสังคมจำนวน 300 บาทต่อเดือน แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่อปีน้อยกว่า 10,000 บาท ซึ่งผู้ป่วยที่อุทุมพร ศรีไชยและอำพล โพสนิท ดูแลนั้นต่างมีอายุมากกว่า 60 ปี และพวกเขายังดูแลช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุ แตกต่างกันไปแล้วแต่ความเหมาะสม ขอนแก่น - "ชีวิตของฉันเองก็ลำบาก แต่เมื่อมองดูคน

องค์กรสหประชาชาติรายงานว่าสืบเนื่องจากสูงวัยขึ้นของประชากรภายในประเทศ รัฐบาลไทยได้เริ่มให้การช่วยเหลือด้านสวัสดิการสังคมจำนวน 300 บาทต่อเดือน แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่อปีน้อยกว่า 10,000 บาท ซึ่งผู้ป่วยที่อุทุมพร ศรีไชยและอำพล โพสนิท ดูแลนั้นต่างมีอายุมากกว่า 60 ปี และพวกเขายังดูแลช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุ แตกต่างกันไปแล้วแต่ความเหมาะสม
ขอนแก่น – “ชีวิตของฉันเองก็ลำบาก แต่เมื่อมองดูคน

ขอนแก่น – “ชีวิตของฉันเองก็ลำบาก แต่เมื่อมองดูคนอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ชีวิตเขานั้นยากลำบากกว่าเราอีก” นางสาวอุทุมพร ศรีไชย กล่าว เธอกำลังยืนอยู่บนตรอกหรือถนนเส้นเล็กๆ อันเป็นเส้นทางหลักของชุมชนแออัดแห่งนี้ที่เธอเรียกว่าบ้าน สำหรับชีวิตการทำงานของอุทุมพรนั้น ในตอนเย็นเธอทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาดที่ตลาดแห่งหนึ่ง แต่ในช่วงตอนกลางวันเธอทำงานเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ที่ต้องคอยดูแลทุกข์สุขเพื่อนบ้านในชุมชนแห่งนี้ที่เธอเองก็อาศัยอยู่เช่นกัน

ทุกๆ วัน อุทุมพรจะต้องเยี่ยมเยียนสมาชิกชุมชนที่เป็นคนชรา คนป่วย ผู้พิการและผู้ที่มีปัญหาทางจิต เธอต้องพบกับเด็กทารก เด็กเล็ก และผู้ติดสุรา เธอยังเห็นอีกว่าชุมชนนั้นกำลังได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นและมีความสามัคคีกันมากกว่าเดิม

อุทุมพรเคยคิดว่าชีวิตของเธอนั้นอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนี้ เธอเกิดและโตที่หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งใกลักับชายเเดนเขมร ตั้งแต่เด็กเธอใฝ่ฝันที่จะเป็นครู อุทุมพรได้เข้าศึกษาคณะครุศาสตร์ แต่เธอสอบบรรจุครูไม่ผ่าน เพราะสอบตกวิชาความถนัดด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิชาที่เพิ่งเพิ่มเข้ามาในตอนนั้น

เมื่อความฝันของการเป็นครูต้องสลายลง อุทุมพรคงหมดหวังไปแล้ว แต่เมื่อเธอกลับเลือกใช้ชีวิตบนอีกเส้นทางที่สามารถช่วยเหลือคนอื่นได้เช่นกัน เฉกเช่นที่เธอทำอยู่ทุกวันนี้

“การให้ดีกว่าการรับ” อุทุมพรในวัย 52 ปีกล่าว เธอยังโสดและไม่มีลูก เธอทำงานเป็น อสม. ชุมชนแห่งนี้มาเป็นเวลา 6 ปีแล้ว และได้รับเงินสนับสนุนเพียงเดือนละ 600 บาท เธอเล่าว่างานอาสาบริการชุมชนที่เธอดำเนินกิจกรรมอยู่ทุกวันนี้ทำให้เธอมีความสุขและมีความมั่นใจมากขึ้น

ในแต่ละวันอุทุมพรจะเริ่มทำงานโดยนำอาหารกลางวันที่ได้รับบริจาคจากโรงเรียนใกล้ชุมชนเอาไปแจกจ่ายให้กับผู้พิการที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่เธออยู่และชุมชนใกล้เคียง ส่วนอำพล โพธิสนิท ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นทั้งเพื่อนและผู้ป่วยที่อุทุมพรต้องดูแล ก็มักจะมาช่วยเธออยู่เสมอ โดยที่เขาทำหน้าที่เป็นคนขับรถพาเธอไปยังที่ต่างๆ และเป็นเพื่อนคอยให้กำลังใจ

“ในชุมชนมีคนพิการที่ต้องการความช่วยเหลืออยู่เยอะมาก ฉันก็เลยเขียนโครงการไปของบจากเทศบาลฯ เพื่อมาใช้เป็นค่าอาหารให้กับคนเหล่านั้น” อุทุมพรกล่าว ซึ่งโครงการจัดส่งอาหารกลางวันให้กับผู้พิการได้เริ่มดำเนินขึ้นเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

กระนั้นก็ตาม สิ่งที่อุทุมพรปฏิบัติอยู่ทุกวันนั้นมีมากกว่าการนำอาหารไปให้คนพิการเหล่านี้ หน้าที่อื่นๆ ที่เธอทำ ได้แก่ การเยี่ยมเยียนผู้ป่วยในชุมชน ตรวจวัดค่าความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด เตือนผู้ป่วยให้รับประทานยา และบางครั้งเธอยังต้องช่วยพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลด้วยตนเอง

ขณะที่พวกเขาทั้งสองเดินไปตามตรอกถนนเส้นหลักของชุมชน สมาชิกชุมชนสลัมต่างพา กันทักทายและพูดคุยกับอุทุมพรและอำพลอย่างคุ้นเคยและเป็นกันเอง โดยปกติ แล้ว อสม. คนอื่นๆ ส่วนใหญ่มักจะปฏิบัติงานเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ชุมชนเทพารักษ์ 5 ตั้งอยู่ริมรางรถไฟในตัวเมืองจังหวัดขอนแก่น ซึ่งซ่อนตัวอยู่ตามชายขอบของสังคมเมือง สมาชิกชุมชนหลายคนประกอบอาชีพสานตะกร้าขาย ซึ่งขายได้ใบละ 50 บาท นับตั้งแต่ได้สัญญาเช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทยทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้สามารถอาศัยอยู่ได้ถูกต้องตามกฎหมายและได้รับบริการด้านสาธารณูปโภคจากหน่วยงานรัฐ ทำให้ชุมชนสามารถใช้น้ำประปาและไฟฟ้าได้ แต่ค่าน้ำและค่าไฟฟ้าก็ยังคงมีราคาสูงเกินไปสำหรับผู้อาศัยบางครัวเรือน

เฉกเช่นเดียวกันกับผู้อาศัยคนอื่นๆ เมื่อสิบหกปีที่แล้วอุทุมพรได้เดินทางออกจากบ้านเกิดจังหวัดบุรีรัมย์เพื่อมาหางานทำในเมืองใหญ่ และเธอก็ได้เข้ามาพักอาศัยที่ชุมชนแออัดริมทางรถไฟในตัวเมืองจังหวัดขอนแก่นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ผู้อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดหลายคนมีทางเลือกในการรักษาระดับครัวเรือนที่ค่อนข้างจำกัด เพราะการอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด พวกเขาไม่มีญาติพี่น้องที่สามารถพึ่งพาอาศัยยามเจ็บไข้ได้ป่วยหรือไม่สามารถเดินเหินได้ อุทุมพรเห็นถึงความจำเป็นของการดูแลแบบพึ่งพาอาศัยกันในลักษณะนี้ เธอเล่าว่า “เราดูแลกันเหมือนญาติพี่น้อง ไม่ได้ปฏิบัติว่าจะต้องดูแลเขาเพราะเขาเป็นผู้ป่วยที่จะต้องดูแล”

หกปีที่แล้วอุทุมพรได้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและได้เข้าร่วมโครงการฝึกปฏิบัติระยะเวลาหกเดือน ซึ่งเธอได้เรียนรู้และฝึกฝนเกี่ยวกับการดูแลผู้พิการและผู้พิการทางสายตา

อุทุมพรเล่าว่าโครงการฝึกปฏิบัติดังกล่าวยังได้สอนให้เธอมีความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่และสามารถควบคุมสถานการณ์ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินได้ ครั้งหนึ่งเพื่อนบ้านคนหนึ่งมีอาการหลอดเลือดในสมองโป่งพอง และอุทุมพรเป็นคนแรกที่ต้องเข้าช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น

เช้าวันนั้นอุทุมพรกำลังกินข้าวอยู่กับเพื่อนบ้าน เพื่อนบ้านเล่าให้ฟังว่าชายคนนั้นมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง อุทุมพรจำได้ว่าในวันนั้นชายคนดังกล่าวได้ดื่มเหล้าขาวขวดเล็กไปแล้วหนึ่ง ขวด หลังจากดื่มเหล้าขาวแล้วชายนั้นลุกขึ้นยืนไม่ได้ แล้วก็ไอออกมาเป็นเลือด อุทุมพรจึงรีบโทรเรียกรถพยาบาลเคลื่อนที่และโทรหาอาสาสมัครคนอื่นๆ ให้มาช่วยดูแลผู้ป่วยรายนี้ พวกเขาช่วยกันรักษาพยาบาลเบื้องต้นอยู่ประมาณ 30 นาทีก่อนรถพยาบาลเคลื่อนที่จะเดินมาถึง

อุทุมพรต้องดูแลและอยู่กับผู้ป่วยรายนี้ที่โรงพยาบาล เพราะว่าเขาไม่มีญาติพี่น้องที่จะมาดูแล และเขาเองก็ได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลในวันเดียวกันนั้นเอง อุทุมพรกล่าวว่าเธอนั้น “พร้อมสำหรับสถานการณ์แบบนี้” และรู้สึกยินดีที่มีโอกาสได้ช่วยเหลือชายคนนั้นเท่าที่เธอจะทำได้

อุทุมพรคิดเหนือไปกว่าว่าเธอจะช่วยเหลือคนอื่นได้อย่างไร เธอขอเลือกที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ อย่างเช่น อำพล ผู้เป็นทั้งคนขับรถ คนป่วยและเพื่อนผู้ร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่ทำงานบริการชุมชนแห่งนี้ อำพลสูญเสียเเขนข้างซ้ายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อห้าปีที่แล้ว

“ผมเคยอยู่กับแฟน แฟนจะช่วยดูแลผม แต่เลิกกันแล้ว แต่ก่อนเรากินเหล้ากันเยอะมากครับ” อำพลเล่าถึงอดีต ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ห้องเช่าภายในบ้านหลังเดียวกันกับอุทุมพร ซึ่งเธอได้แบ่งให้เขาเช่า

อุทุมพรช่วยให้อำพลได้รับสวัสดิการผู้พิการจากรัฐบาล เขากล่าวว่า “แต่ก่อนผมไม่มีบัตรผู้พิการ แล้วผมเองก็ไม่รู้ว่าผมจะได้สวัสดิการอะไรจากรัฐบาล จนผมได้มาเช่าห้องที่บ้านของคุณอุทุมพร ผมถึงรู้และได้บัตร”

อุทุมพรช่วยเหลืออำพลในหลายๆ ด้าน "เขาช่วยผมอาบน้ำแล้วก็สระผม" อำพลกล่าว "คุณอุทุมพรและคนอื่นๆ ต่างให้กำลังใจ ให้ผมทำตัวดีขึ้น ให้งดดื่มเหล้าช่วงเข้าพรรษา"

อุทุมพรช่วยเหลืออำพลในหลายๆ ด้าน “เขาช่วยผมอาบน้ำแล้วก็สระผม” อำพลกล่าว “คุณอุทุมพรและคนอื่นๆ ต่างให้กำลังใจ ให้ผมทำตัวดีขึ้น ให้งดดื่มเหล้าช่วงเข้าพรรษา”

ภายในบ้านพักที่ทั้งสองแบ่งกันอยู่ อำพลใช้มือข้างขวาหยิบเอาลำโพงขนาดพกพาเครื่องธรรมดาออกมา จากนั้นเขาก็เสียบแฟลชไดรฟ์ซึ่งบันทึกเพลงโปรดของเขาหลายเพลงไว้ในนั้น อุทุมพรซื้อลำโพงเครื่องนี้ให้กับอำพลและสนับสนุนให้เขาใช้ความสามารถพิเศษของตนเองทำมาหากินเป็นนักดนตรีร้องเพลงตามตลาดใกล้ชุมชน

“ตอนนี้ชีวิตผมดีขึ้นเยอะเลยครับ คุณอุทุมพรช่วยให้ผมออกไปข้างนอกแล้วก็ทำงานหาเงินมาเลี้ยงดูตัวเอง ถ้าไม่มีเขา แต่ละวันผมคงนอนข้างถนน เดินเตร็ดเตร่แล้วก็นอนตามสถานีรถไฟ”

จากนั้นอำพลได้แสดงความสามารถร้องเพลงลูกทุ่งผ่านไมโครโฟน เสียงคีย์บอร์ดและกลองสังเคราะห์ดังตามจังหวะที่เขาร้อง อำพลร้องเพลงอย่างมั่นใจขณะที่อุทุมพรมองดูเขาพลางกับยิ้มชื่นชม

image_pdfimage_print