อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นผู้ร่วมดำเนินงานระบบสาธารณสุขขั้นพื้นฐานในประเทศไทยมาเป็นเวลา 35 ปีแล้ว และประเทศไทยก็ได้มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาเป็นเวลาหลายปีแล้วเหมือนกัน งานอาสาสมัครฯ ดังกล่าวแต่เดิมทีก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยให้ชุมชนยากจนและกันดารสามารถเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขที่จำเป็น แล้วปัจจุบัน อสม. ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่

เมขลา นนทสิริ วัย 47 ปี เป็นโรคความดันโลหิตสูงและแทบจะเดินไม่ได้เนื่องจากภาวะกระดูกขาดแคลนแคลเซียม สุขภาพเมขลาจะดีขึ้นได้หากทว่าเธอได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันเธอสามารถพึ่งพาการช่วยเหลือจากอุทุมพรได้เพียงทางเดียว

เมขลา นนทสิริ วัย 47 ปี เป็นโรคความดันโลหิตสูงและแทบจะเดินไม่ได้เนื่องจากภาวะกระดูกขาดแคลนแคลเซียม สุขภาพเมขลาจะดีขึ้นได้หากทว่าเธอได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันเธอสามารถพึ่งพาการช่วยเหลือจากอุทุมพรได้เพียงทางเดียว

โดย โซอี สวารท์ซ มาริโกะ พาวเวอร์ส และ เคที มาทีสัน

ขอนแก่น — เมขลา นนทสิริ นั่งอยู่ทางเข้าบ้านเช่าขนาดสองห้องของเธอในชุนแออัดแห่งหนึ่งในขอนแก่น เธอป่วยเป็นโรคภาวะกระดูกขาดแคลนแคลเซียม โรคร้ายดังกล่าวทำให้เธอแทบจะเดินไม่ได้ การอาศัยอยู่ในชุมชนแออัดในเขตเมืองโดยที่ร่างกายพิการนั้นก็ถือว่ายากลำบากมากพอแล้ว ถ้าหากไม่มีอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนเข้ามาเยี่ยมเยือนในแต่ละวัน ชีวิตของเมขลาคงจะยากลำบากมากไปกว่านี้

เมขลาอาศัยอยู่ที่ชุมชนแออัดเทพารักษ์ 5 ซึ่งเป็นหนึ่งในอีกหลายชุมชนแออัดในจังหวัดขอนแก่น บ้านของเธอตั้งอยู่หลังเส้นทางเดินหลักอันคับแคบของชุมชน แต่ทว่าทางเข้าบ้านของเมขลานั้นแคบยิ่งกว่า หากมองจากบ้านของเมขลาจะสามารถเห็นรางรถไฟได้ชัดตาทีเดียว เมขลาเองก็เหมือนกับทุกคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้ เธอชินกับการต้องหยุดบทสนทนาขณะรถไฟวิ่งผ่านพร้อมกับเสียงดังที่ทำให้แทบจะไม่ได้ยินอะไร

มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เมขลาต้องกังวลถึง แต่มีสิ่งเดียวที่เธอไม่ต้องเป็นห่วงก็คืออาหารการกินในตอนเที่ยง ในแต่ละวัน อุทุมพร ศรีชัย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจะมาเยี่ยมเยือนและเอาอาหารกลางวันมาให้เมขลา อุทุมพร วัย 52 ปี ได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ อสม. ของชุมชนมากว่า 6 ปีแล้ว เธอมีหน้าที่ดูแลผู้พิการ 15 คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเทพารักษ์และชุมชนอื่นๆ ใกล้เคียง

ในชุมชนของเธอเอง อุทุมพรและเจ้าหน้าที่ อสม. คนอื่นอีก 9 คน ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยประสานการดำเนินงานระหว่างชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนและหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐ เจ้าหน้าที่ อสม. ทำหน้าที่ให้บริการงานด้านสาธารณสุขต่างๆ เช่น ตรวจวัดความดันโลหิต ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และบางครั้งยังต้องพาชาวบ้านไปโรงพยาบาลอีกด้วย

ประเทศไทยได้สร้างระบบบริการด้านสุขภาพนี้มาตั้งแต่ปี 2523 ภายหลังการลงนามคำประกาศอัลมา อตา ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศกำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนทุกคน

ในช่วงทศวรรษระหว่างปี 2523 ถึง 2533 ประชากรจำนวนมากยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่กันดารซึ่งการเดินทางยังคงยากลำบาก ค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์และการรักษามีราคาสูง ทำให้คนยากคนจนไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ จึงเป็นหนทางให้ชุมชนต้องพัฒนาปรับปรุงวิธีการดูแลสุขภาพของตนเอง

ในปี 2558 ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ตามข้อมูลโครงการพัฒนาขององค์กรสหประชาชาติ จำนวนครัวเรือนผู้ยากไร้ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดลงจากร้อยละ 3.4 ในปี 2539 เหลือน้อยกว่าร้อยละ 1.3 ในปี 2552 นั่นหมายความว่าประชาชนชาวอีสานได้รับการศึกษาและมีความเป็นประชากรเมืองมากขึ้น

และที่สำยิ่งไปกว่านั้น ในปี 2545 มีการประกาศใช้โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือเรียกว่า 30 บาทรักษาทุกโรค

แต่ทว่างานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในปี 2548 ประเทศไทยมีเจ้าหน้าที่ อสม. ทั้งหมด 700,000 คน ปัจจุบันจำนวนประชาชนที่ทำหน้าที่เป็น อสม. มีมากกว่าหนึ่งล้านคน ซึ่งอาสาสมัครทั่วประเทศแต่ละคนจะดูแลครัวเรือนตั้งแต่ 7 ถึง 12 ครัวเรือนในแต่ละชุมชนที่ตัวเองอาศัยอยู่ และต้องประสานงานสืบเนื่องกับนโยบายด้านสาธารณสุขของรัฐอย่างเป็นระบบ

งบประมาณต่อปีของงาน อสม. มีมากกว่า 7.2 พันล้านบาท ซึ่งงบดังกล่าวประกอบด้วยเงินกองทุนค่าสนับสนุนให้กับอาสาสมัครรายละ 600 บาทต่อเดือน ซึ่งได้เริ่มมอบให้กับอาสาสมัครเหล่านี้มาตั้งแต่ปี 2544

หากดูความเปลี่ยนแปลงด้านสถิติจำนวนประชากรผู้ยากจนในประเทศไทยและการเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขที่ขยายมากขึ้น เจ้าหน้าอาสาสมัครเหล่านี้ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่?

อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดร. อมร นนทสุต ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งดูแลโครงการสาธารณสุขมูลฐานแห่งชาติตั้งแต่ปี 2526-2529 ปัจจุบันดร. อมร อายุ 87 ปีและพ้นจากตำแหน่งแล้ว แต่ทว่าเมื่อโครงการอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน (อสม.) เริ่มต้นขึ้นนั้น เขาเป็นผู้ที่คอยดูแลโครงการอย่างใกล้ชิด

พันธกิจโครงการอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน (อสม.) คือการขยาย “การเข้าถึงของชุมชน” โดยการมอบหมายให้ชาวบ้านดูแลการสาธารณสุขมูลฐานเองและสร้าง “อำนาจการดูแลสุขภาพของตนเอง” ขึ้น ดร. อมรกล่าวให้สัมภาษณ์ผ่านทางอีเมลกับทางเดอะอีสานเรคคอร์ด เดิมทีนั้นเขาเองหวังที่จะเห็น “ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการวางแผนและการจัดการด้านสุขภาพ” แต่ ดร.อมรยอมรับว่า “ปัจจุบันพันธกิจดังกล่าวยังไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์”

รายงานในปี 2540 พบว่ามีการใช้บริการเจ้าหน้าที่ อสม. ลดลงเนื่องจากประเทศไทยได้มีความเป็นเมืองมากขึ้นและการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ดีขึ้น ดังนั้น “มีจำนวนประชาชนมากขึ้นที่ส่งตัวเองเข้ารับการรักษาในระดับบริการดังกล่าว” รายงานระบุ

“คนที่อาศัยอยู่ในเมืองมีทางเลือกในการพบแพทย์ พวกเขาก็เลยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่ อสม. อีกต่อไป” วนารัตน์ คงคำ เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลงาน อสม. ในเขตเทศบาลนครขอนแก่นกล่าว

ผู้สนับสนุนงานอาสาสมัครสาธารณสุขฯ ชี้ให้เห็นว่างาน อสม. สอดคล้องการพัฒนาชุมชนอย่างแน่นแฟ้น ซึ่งเป็นบทบาทที่ไม่สามารถเติมเต็มได้โดยการบริการด้านสาธารณสุขจากฝ่ายรัฐเพียงอย่างเดียว

“เจ้าหน้าที่ อสม. เป็นต้นแบบของชาวบ้านในชุมชน อาสาสมัครฯ เหล่านี้อุทิศตนทำงานเพื่อสังคมหลายอย่าง ได้รับการเคารพนับถือและอาจได้รับเลือกให้เป็นผู้นำชุมชน” วราภรณ์ ชูคันหอม เลขาธิการผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุขอำเมืองขอนแก่นกล่าว

เจ้าหน้าที่รัฐที่ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ อสม. ได้แสดงความคิดเห็นและยืนยันว่างานของ อสม. ยังมีบทบาทสำคัญต่อระบบงานสาธารณสุขในประเทศ วนารัตน์กล่าวว่าตั้งแต่เริ่มดำเนินการโครงการ อสม. “ซึ่งออกแบบโดยเฉพาะเพื่อให้คนยาคนจนสามารถเข้าถึงระบบบริการทางสาธารณสุขได้”

ในหลายกรณี ภาวะขาดซึ่งระบบการขนส่งก็เป็นอุปสรรคต่อการรักษาทางการแพทย์ สำหรับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลในภาคอีสานแล้ว การเดินทางมาโรงพยาบาลอาจจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก ในการแก้ปัญหาดังกล่าว งาน อสม. ในอีสานจึงได้ก่อตั้ง “สุขศาลา” สถานีดูแลอนามัยขนาดเล็ก ที่เจ้าหน้าที่ อสม. ให้การดูแลสุขภาพเบื้องต้นใกล้บ้านประชาชน

“โครงการพัฒนาสุขศาลาดำเนินไปได้ดี” วราภรณ์กล่าว อีกยังเสริมว่าโครงการนี้ช่วยให้ประชาชนที่ต้องการการรักษา “ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงพยาบาล”

ขณะที่เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขฯ ก็เป็นสมาชิกในชุมชนนั้นๆ พวกเขาเหล่านี้ต่างรู้ว่าเพื่อนบ้านใกล้เคียงร่วมอาศัยในชุมชนเดียวกันต้องต่อสู้ดิ้นรนทำมาหากินอย่างไรในแต่ละวัน และพวกเขาเองก็สามารถคอยดูคอยติดตามชีวิตความเป็นอยู่ทั่วไปของแต่ละครัวเรือนที่ตนเองรับผิดได้ เจ้าหน้าที่ อสม. สามารถช่วยเหลือเพื่อนบ้านที่เดินเหินไม่ได้โดยการให้ความช่วยเหลือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วยอาบน้ำ ทำความสะอาด หรือแม้กระทั่งจัดหาอาหารที่เหมาะสมมาให้

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เจ้าหน้าที่ อสม. เหล่านี้ช่วยเหลือชาวบ้านในการแนะนำหน่วยงานทางการแพทย์ที่พวกเขาต้องไปติดต่อหรือขอเข้ารับการรักษาบริการ เมื่อตอนที่เมขลาเริ่มมีปัญหาในการเดิน เธอไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อรถเข็นมาใช้ แต่อุทุมพรก็ได้เข้ามาช่วยเหลือตรงนี้ โดยติดต่อขอให้ทางเทศบาลนครขอนแก่นสนับสนุนงบประมาณมาซื้อรถเข็นให้กับเมขลา

งานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านยังได้ทำหน้าที่อบรมให้ความรู้เบื้องต้นด้านสาธารณสุขและสุขภาพให้กับชาวบ้านที่ได้รับเลือกอาสาเข้ามา

ชาวบ้านที่อาสาเข้ามาจะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อกับระบบการดูแลสุขภาพที่เป็นทางการและหนุนเสริมระบบการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันในชุมชนตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทบาทการเป็นสะพานเชื่อมต่อดังกล่าวมีความหมายเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ สมภาร สอนพรหมมา ชาวบ้านวัย 50 ปี แห่งบ้านโคกสี หมู่บ้านแห่งหนึ่งอยู่ห่างออกไปจากตัวเมืองขอนแก่น 8 กิโลเมตร สมภารเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ อสม. อีก 20 คนที่ทำหน้าที่ให้ความรู้แก่ชาวบ้านถึงวิธีป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหนะ เช่น โรคไข้เลือดออก ภารกิจของเธอในแต่ละสัปดาห์คือการไปเยี่ยมเยือนครอบครัวที่เธอรับผิดชอบ สมภารต้องเอาลูกปลาและทรายอะเบทไปให้กับชาวบ้านเพื่อใช้กำจัดลูกน้ำในแหล่งน้ำในครัวเรือน

สมภาร (ถ่ายคู่กับลูกสาวของเธอ) ใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันทำงานในไร่นาของตนเอง แต่ทุกสองชั่วโมง เธอจะต้องหยุดพักงานเพื่อมาดูแลแม่ที่แก่ชรา สมภารต้องผูกมือแม่เธอติดกับเตียงเพื่อกันไม่ให้แม่ดึงสายให้อาหารออก เจ้าหน้าที่ อสม. ส่วนใหญ่มักมีงานประจำทำและใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ทำงานอาสาให้กับชุมชน จากข้อมูลองค์กรสหประชาชาติพบว่าอัตราศักยภาพของการสนับสนุนในประเทศไทยกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว โดยภายในปี 2568 จำนวนตัวเลขผู้ใหญ่วัยทำงานที่มีศักยภาพสนับสนุนประชากรอายุ 65 ปี หรือมากกว่าจะลดลงเกือบครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนในปี 2549

สมภาร (ถ่ายคู่กับลูกสาวของเธอ) ใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันทำงานในไร่นาของตนเอง แต่ทุกสองชั่วโมง เธอจะต้องหยุดพักงานเพื่อมาดูแลแม่ที่แก่ชรา สมภารต้องผูกมือแม่เธอติดกับเตียงเพื่อกันไม่ให้แม่ดึงสายให้อาหารออก เจ้าหน้าที่ อสม. ส่วนใหญ่มักมีงานประจำทำและใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ทำงานอาสาให้กับชุมชน จากข้อมูลองค์กรสหประชาชาติพบว่าอัตราศักยภาพของการสนับสนุนในประเทศไทยกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว โดยภายในปี 2568 จำนวนตัวเลขผู้ใหญ่วัยทำงานที่มีศักยภาพสนับสนุนประชากรอายุ 65 ปี หรือมากกว่าจะลดลงเกือบครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนในปี 2549

“เจ้าหน้าที่ อสม. และชาวบ้านอาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกัน ดังนั้นอาสาสมัครฯ เหล่านี้จึงรู้ถึงปัญหาของชาวบ้านได้ดีกว่าหมอ อีกทั้งยังสามารถช่วยเหลือกันและกันได้เป็นอย่างดี” จิตติ เชิดชู ผู้นำชุมชนเทพารักษ์ 5 กล่าว

ในประเทศไทยงานบริการทางสาธารณสุขโดยอาสาสมัครที่อาศัยอยู่ในชุมชนถือว่ามีประสิทธิภาพ เนื่องจากว่างานดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่ปฏิบัติกันในเชิงวัฒนธรรมอยู่แล้ว ชาวบ้านดูแลสมาชิกในครอบครัวของตนเอง และขณะเดียวกันก็ส่งเสริมความเป็นอยู่ของชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่

image_pdfimage_print