โดย มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาและเครือข่ายประชากรข้ามชาติ

เรื่อง ขอให้รัฐบาลไทยทบทวนการประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.….

เรียน นายกรัฐมนตรี

สำเนา ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ตามที่นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีหนังสือที่ นร 0503/2704 ลงวันที่ 26 มกราคม  พ.2559 ถึงประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.. ... พร้อมด้วยบันทึกหลักการและเหตุผลและบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา เป็นเรื่องด่วน โดยเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2559 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติในวาระที่ 3 เห็นสมควรประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. …เป็นกฎหมายแล้วนั้น

เเม้ คณะรัฐมนตรีจะให้ความเห็นต่อการเร่งรัดให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยมุ่งประสงค์จะปรับปรุงวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จาก ระบบกล่าวหา” (Accusatorial Procedure) ที่ คู่ความสามารถเสนอและตรวจสอบข้อเท็จจริงกันเองตามหลักเกณฑ์การสืบพยานที่ เคร่งครัด โดยศาลมีบทบาทจำกัดเป็นเพียงผู้ตัดสินคดี ให้เป็น ระบบไต่สวน” (Inquisitorial Procedure) ที่เป็นการดำเนินคดีระหว่างศาลกับจำเลย ส่วนโจทก์เป็นเพียงผู้ช่วยเหลือศาลในการค้นหาข้อเท็จจริง ทั้งยังเปิดโอกาสให้มีการเสนอพยานหลักฐานต่อศาลอย่างกว้างขว้าง อันจะก่อให้เกิดความรวดเร็วเเละสอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิของผู้เสีย หายจากการค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัติป้องกันเเละปราบปรามการค้ามนุษย์ พ..2551 มากขึ้น

อย่างไร ก็ตาม มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา และเครือข่ายประชากรข้ามชาติ ยังมีข้อกังวลและข้อสังเกตต่อกระบวนการเเละหลักการของร่างพระราชบัญญัติดัง กล่าวในประเด็นดังต่อไปนี้

กระบวนการตราร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ..  มูลนิธิ เห็นว่า หากรัฐบาลประสงค์จะยกระดับวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์เพื่อให้ตอบสนองต่อความ รวดเร็วในการดำเนินคดี รัฐบาลควรที่จะทบทวนถึงสภาพปัญหาของการบังคับใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญาว่าเหตุแห่งความล่าช้าเป็นเพราะหลักการตาม ระบบกล่าวหา” หรือ เพราะเหตุแห่งการบังคับใช้ประมวลกฎหมายดังกล่าว เหตุเพราะการตรากฎหมายใหม่โดยปราศจากการทบทวนถึงประสิทธิภาพของกฎหมายเก่า ย่อมไม่ก่อประโยชน์ใดแก่ผู้บังคับใช้เเละยังอาจก่อให้เกิดปัญหาแก่ผู้ ปฏิบัติงานในอนาคตด้วย

นอกจาก นี้ มูลนิธิยังเห็นว่าในกระบวนการยกร่าง ยังขาดซึ่งการพิจารณาความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่มผู้บังคับใช้กฎหมาย ตลอดทั้งยังขาดซึ่งกระบวนการเผยเเพร่เนื้อหาต่อสาธารณะที่เเม้ในภาวะนี้จะ ไม่สามารถขอทบทวนเนื้อหาว่าชอบตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ได้ เเต่โดยที่บทบัญญัติมีผลเป็นการจำกัดซึ่งสิทธิเเละเสรีภาพของประชาชนผู้ต้อง เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นอย่างมาก หน่วยงานผู้เสนอจึงควรเป็นอย่างยิ่งที่จะคำนึงถึงประเด็นนี้ไม่น้อยไปกว่า การมุ่งปราบปรามการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์เพียงอย่างเดียว

ที่มาของการบัญญัติความผิดฐานค้ามนุษย์ตามพันธกรณีระหว่างประเทศ กล่าวคือตามอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.. 2000 เเละพิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก กำหนดเพียงนิยามของฐานความผิดที่ร้ายเเรงว่าหมายความถึงความผิดที่มีโทษจำ คุกอย่างสูงตั้งเเต่ 4 ปีขึ้นไปเมื่อความผิดดังกล่าวมีลักษณะข้ามชาติและเกี่ยวข้องกับกลุ่มองค์กรอาชญากรรม ซึ่งรวมถึงความผิดฐานค้ามนุษย์ด้วย

ภายใต้กฎหมายภายในของประเทศไทย ความผิดฐานค้ามนุษย์ถูกจัดให้เป็นความผิดอันเกี่ยวพันถึงเหตุแห่งความสงบเรียบร้อยเเละศีลธรรมอันดีของประชาชน ดัง นั้น จึงอยู่ในหมวดเดียวกับความผิดที่เกี่ยวกับการวางเพลงเผาทรัพย์และความผิดที่ เกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งมีเพียงเเต่ความผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติดเท่านั้นที่มีพระราชบัญญัติวิธี พิจารณาคดียาเสพติด พ..๒๕๕๐ บัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาความความเเตกต่างจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เเต่ยังคง ระบบกล่าวหา” ไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว

มูลนิธิจึงยังไม่เห็นถึงความจำเป็นนอกจากความรวดเร็วในการพิจารณาคดีเเละความเชื่อมโยงในการปรับให้ใช้ ระบบไต่สวน” เเทนที่ ระบบกล่าวหา” ในความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับฐานความผิดในกลุ่มเดียวกันตามที่กล่าวมาในข้างต้นเเต่อย่างใด

เนื้อหาในร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.. ด้วย การกำหนดนิยามของคดีค้ามนุษย์เพื่อนำเข้าสู่ระบบวิธีพิจารณาคดีตามระบบ ไต่สวน การกำหนดขอบเขตการบังคับใช้ การสืบพยานล่วงหน้า การเรียกค่าสินไหมทดแทนเเละค่าเสียหายกรณีอื่น การปล่อยชั่วคราว การรับฟังพยานหลักฐานในชั้นศาล ตลอดทั้งการอุทธรณ์เเละฎีกานั้น ถูกบัญญัติตามหลักการของ ระบบไต่สวน” ในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว

ในการนี้ มูลนิธิกลับพบว่ามีบทบัญญัติสำคัญ หลายประการที่ทำให้จำเลยถูกจำกัดสิทธิในลักษณะเป็นกรรมแห่งคดี ด้วยการไม่นำหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั่วไปมาใช้ เช่น การเพิ่มเงื่อนไขในการพิจารณาปล่อยชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลย การกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบความบริสุทธิ์ของตนเอง การวางโครงสร้างการดำเนินคดีที่ทำให้จำเลยถูกสันนิษฐานตั้งแต่เบื้องต้นว่า มีความผิด การไม่ใช้หลักยกผลประโยชน์แห่งข้อสงสัยให้กับจำเลย การใช้พยานหลักฐานของจำเลยเองมาลงโทษจำเลยได้ เเละการกำหนดให้จำเลยเป็นคู่ความกับศาลเช่นนี้ ย่อมทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องเผชิญกับความยากลำบากในการต่อสู้คดี

มูลนิธิเห็นว่าระบบไต่สวน” ใน ร่างพระราชบัญญัตินี้ มีนัยมุ่งเน้นไปที่การลงโทษจำเลย และไม่เคารพสิทธิของจำเลย ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการขัดหลักสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ การดำเนินคดีอาญาที่ขัดต่อหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสิ่งที่ นานาอารยะประเทศเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และย่อมทำให้ ขาดคุณลักษณะความเป็นประชาธิปไตย” ด้วย

ดัง นั้น มูลนิธิและเครือข่ายประชากรข้ามชาติ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทย โดยคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติเเห่งชาติเเละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนถึงหลักการของบท บัญญัติเเละความจำเป็นในการประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.  ตาม เหตุเเละผลที่กล่าวมาเบื้องต้น รวมทั้งควรจัดให้มีการจัดทำประชาพิจารณ์เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆที่ เกี่ยวข้อง ทั้งจากภาครัฐ ภาคประชาชน และนักวิชาการ ที่ทำงานส่งเสริมและสนับสนุนรัฐเพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ ได้แสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับหลักกฎหมายภายในตลอดทั้งพันธกรณีระหว่างประเทศด้วย

ด้วยความเคารพในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

1.มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา

2.เครือข่ายประชากรข้ามชาติ


 

ข้อมูล เพิ่มเติมติดต่อ นายปภพ เสียมหาญ ผู้ประสานงานโครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงงาน มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา โทรศัพท์ 094 548 5306 หรือ อีเมลล์ mthaim420@gmail.com

image_pdfimage_print