ในขณะที่ประเทศในทวีปยุโรปต่างวิตกกังวลเกี่ยวกับประเด็นการค้ามนุษย์และวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัย แต่ชาวบ้านในประเทศไทยยังคงมีความหวังว่าการย้ายถิ่นฐานไปทำงานอยู่ต่างประเทศของผู้หญิงนั้นจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาดีขึ้น

วันที่ตั๊กเดินทางออกจากหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในอีสานที่เธอเคยอาศัยอยู่ เธอหยิบเอาวิทยุของญาติฝ่ายสามีติดตัวไปด้วย แล้วก็ขึ้นรถบัสเดินทางไปยังตัวเมืองจังหวัดนครราชสีมา

ตอนนั้นตั๊กอายุ 33 ปี สามีของเธอไปทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย แต่เงินที่หามาได้ถูกนำไปใช้ซื้อเหล้าดื่มเมามาย และในที่สุดสามีก็หยุดส่งเงินมาให้เธอ ตั๊กต้องทำงานหาเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัวโดยรับจ้างทั่วไป เช่น ทำงานไร่มันสำปะหลัง ในเขตหมู่บ้านที่เธออาศัยอยู่ เธอต้องดูแลลูกอีก 4 คน และพ่อแม่ของสามี รวมถึงพ่อแม่ของตัวเองและพี่สาวที่กำลังป่วยหนักอยู่

ตั๊กเอาวิทยุเครื่องที่หยิบมาจากบ้านฝ่ายสามีไปจำนำ จากนั้นเธอใช้เงินที่ได้จากการจำนำ ไปซื้อตั๋วรถบัสเพื่อเดินทางต่อไปที่พัทยา ตั๊กวางแผนไว้ว่าจะไปทำงานที่บาร์เบียร์สักแห่ง แล้วก็หาชายชาวต่างชาติสักคนมาแต่งงานด้วย เพื่อที่เธอจะได้เดินทางไปอาศัยอยู่ต่างประเทศแล้วก็มีงานทำ หลังจากมาอยู่พัทยา ตั๊กก็ได้พบกับชายชาวเดนมาร์ก

Isaan-natives Sommai, Basit, Kae and Mong are married to Danish men and are all living in Denmark where they work as cleaners, in the fishing industry or other labor intensive sectors. Photo credit: Henrik Bohn Ipsen / still photo from the documentary "Love on Delivery" by Janus Metz and Sine Plambech

ลูกสาวอีสานแดนไกล: สมหมายประสิทธิ์เก๋และหม่องล้วนแต่งงานกับชายชาวเดนมาร์กและอาศัยอยู่ในประเทศนี้ที่พวกเธอทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาดโรงงานอุตสาหกรรมประมงหรือภาคส่วนแรงงานอื่นๆถ่ายภาพโดย – เฮนริกบอห์นอิปเซน / ภาพนิ่งจากภาพยนตร์สารคดีเรื่อง“Love On Delivery” โดยยานัสเมทซ์และซีเน พลามเบค

เมื่อเดินทางไปอยู่ที่เดนมาร์กแรกเริ่มที่ย้ายไปใหม่ๆ แต่ละวันตั๊กต้องทำงานถึง 3 อย่างด้วยกัน เธอทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาด ทำความสะอาดบ้านพักร้อนให้กับครอบครัวชาวเดนมาร์ก แล้วก็ทำงานในช่วงกลางคืนบนเรือข้ามฟากระหว่างประเทศเดนมาร์กกับนอร์เวย์ ตั๊กต้องส่งเงินกลับให้ครอบครัวที่ประเทศไทยตลอด แต่หลังจากที่สมาชิกในครอบครัวหลายคนเสียชีวิตไปแล้ว ทำให้เธอไม่ต้องส่งเงินกลับบ้านในจำนวนมากเหมือนเมื่อก่อน ตอนนี้ตั๊กเลยทำงานที่โรงงานผลิตโลหะเพียงแห่งเดียว โดยในแต่ละเดือนเธอส่งเงินกลับให้ครอบครัวที่ประเทศไทยประมาณ 5,300 บาท

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีผู้หญิงไทยหลายคนย้ายมาอาศัยอยู่ในเขตภาคเดียวกันกับที่ตั๊กอยู่ในประเทศเดนมาร์ก หนึ่งในนั้น คือ ดิฉันได้พบกับมนต์ขณะที่เธอกำลังนั่งอยู่บนเตียงนอนภายในห้องใต้ดินของซ่องโสเภณีที่เธอทำงานให้ ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ในชนบทของประเทศเดนมาร์ก

วันนั้นมนต์รู้สึกไม่สบาย เธอไอบ่อยครั้ง ในห้องนอนของมนต์มีพระพุทธรูปหลายองค์ มีโต๊ะเครื่องแป้งไว้แต่งหน้า อ่างน้ำร้อน สายไฟกระพริบ และทีวีอีกหนึ่งเครื่องซึ่งกำลังถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลอยู่ สถานที่แห่งนี้เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง แต่วันนี้มนต์รู้สึกเพลียมากเหลือเกิน ซึ่งเธอจะต้องรับลูกค้า เธอจึงตัดสินใจล็อคประตูไว้ หลังประตูบานนั้นมนต์วางไม้เบสบอลไว้ 2 อัน เธอบอกว่าเอาไว้เผื่อใช้ป้องกันตัวหากลูกค้าคิดทำมิดีมิร้ายกับเธอ

หลังจากแยกทางกับสามีชาวเดนมาร์ก มนต์ตัดสินมาทำงานขายบริการเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัว มนต์กล่าวว่าเธออยากหยุดทำงานขายบริการ แต่ด้วยภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากของครอบครัวที่ประเทศบ้านเกิดที่เธอต้องแบกรับ งานโรงงานนั้นก็ค่อนข้างหนักและให้ค่าแรงน้อย มนต์จึงต้องทำงานที่ซ่องโสเภณีแห่งนี้ต่อไป โดยเธอบอกครอบครัวที่ไทยว่าเธอทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาดที่เดนมาร์ก ทุกเดือนมนต์ส่งเงินกลับไปให้ที่บ้านประมาณ 15,800 บาท

มนต์และตั๊กไม่ได้เป็นเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายขององค์กรค้ามนุษย์ เฉกเช่นที่สังคมประเทศในยุโรปและประเทศเดนมาร์กเองมองผู้หญิงไทยว่าเป็นอย่างนั้น ผู้หญิงเหล่านี้ย้ายถิ่นมาอยู่ที่นี่หลังจากแต่งงานและได้กลายเป็นแรงงานอีกกลุ่มหนึ่งให้กับประเทศแห่งนี้

พวกเธอก็รู้สึกภูมิใจกับข้อเท็จจริงนี้ ผู้หญิงเหล่านี้ต่างทำงานอย่างหนักและส่งเงินกลับมาให้ครอบครัวในอีสานบ้านเกิด

ประเทศเดนมาร์กและประเทศอื่นๆ ในยุโรปมองผู้หญิงไทยอย่างผิดๆและอย่างมีอคติว่า พวกเธอเป็นเพียงแค่นางบำเรอบ้าง เป็นเหยื่อขององค์กรค้ามนุษย์บ้าง หรือเป็นผู้หญิงที่ “ถูกนำเข้ามา” และถูกสามีชาวต่างชาติเอารัดเอาเปรียบ และสังคมในยุโรปต่างเชื่อว่าผู้หญิงเหล่านี้นั้นใช้การแต่งงานเพื่อเป็นทางลัดไปสู่ความร่ำรวย มีน้อยมากที่จะเชื่อว่าผู้หญิงเหล่านี้แต่งงานเพราะความรัก และการตัดสินใจย้ายมาอยู่ยุโรปเพื่อโอกาสที่จะสามารถทำมาหากินค้ำจุนครอบครัวทางบ้านนั้นเป็นการตัดสินใจอย่างรอบคอบดีแล้ว

ดิฉันขอยกตัวอย่างสมการง่าย ๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ทำไมผู้หญิงเหล่านี้ถึงอยากย้ายมาอยู่และทำงานที่นี่ เช่น ถ้าทำงานรับจ้างให้กับเจ้าของไร่มันสำปะหลัง 1 วัน เธอจะได้เงินค่าแรง 300 บาท ถ้าทำงานโรงงานชำแหละไก่ข้ามชาติ 1 วัน จะได้เงินค่าแรง 400 บาท ถ้าทำงานโรงงานผลิตโลหะที่ประเทศเดนมาร์ก 1 วัน จะได้เงินค่าแรง 3,200 บาท และถ้าทำงานขายบริการในซ่องแห่งหนึ่งในประเทศเดนมาร์ก 1 วัน (วันที่มีลูกค้าเยอะ) จะได้เงิน 15,800 บาท

ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันนั้นเพียงพอ เพียงแค่ค่าอาหารของทุกคนในครอบครัวต่อวัน แต่ก็ไม่มากนัก กรณีมีการเจ็บไข้ได้ป่วย , ได้รับอุบัติเหตุ หรือไม่มีงานทำ เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนเป็นหายนะที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานอยู่บ่อยครั้ง และค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทนั้นก็คงไม่สามารถเอามาใช้จ่ายช่วยเหลือตรงนี้ได้ ตั๊กมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ชาวบ้านในชุมชนยังมีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างยากจนและต้องอาศัยเงินรายได้จากลูกผู้หญิงหลายคนที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปอยู่ประเทศในยุโรปที่ส่งมาให้แต่ละเดือน จากจำนวนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ทั้งหมดประมาณ 600 คน มีผู้หญิงจำนวนถึง17 คนที่ได้เดินทางไปอยู่ตามประเทศต่างๆ ในยุโรป และมีถึง 9 คนที่ย้ายมาอยู่ในประเทศเดนมาร์ก นั่นหมายความว่ามีหลายครอบครัวจากหมู่บ้านแห่งนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการย้ายถิ่นฐานของหญิงสาวเหล่านี้ พวกเขาคิดถึงห่วงหาหญิงสาวผู้ซึ่งเป็นแม่ให้กำเนิด ผู้ซึ่งเป็นพี่สาวและน้องสาว และผู้ซึ่งเป็นลูกสาวที่รักยิ่งที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เงินที่ส่งกลับมาให้แต่ละเดือน หนี้เงินกู้ที่พวกเขาไปยืมมา และบ้านที่พวกเขาอาศัยอยู่ทุกๆ วัน ล้วนเป็นสิ่งย้ำเตือนให้พวกเขาเหล่านี้คิดถึงสมาชิกครอบครัวผู้อยู่ห่างไกลอยู่เสมอ

สืบเนื่องจากบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับรายงานการวิจัยโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ระบุว่า นับเป็นเวลาหลายทศวรรษที่การย้ายถิ่นไปทำงานของแรงงานจากภาคอีสานเป็นสาเหตุทำให้สมาชิกในครอบครัวต้องแยกย้ายกันไปอยู่คนละทิศคนละทาง ผู้วิจัยให้เหตุผลว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือเด็ก ๆ ที่เติบโตภายใต้การดูแลของปู่ย่าตายาย โดยไม่มีพ่อแม่อยู่ด้วยในบ้านนั้น มีแนวโน้มที่จะไม่ได้รับเลี้ยงดูอย่างดีพอ และมีความเสี่ยงที่เด็กเหล่านี้จะมีปัญหาด้านพัฒนาการและพฤติกรรม ผลการวิจัยดังกล่าวควรเผยแพร่และให้ข้อมูลอย่างระมัดระวังเพราะแม้ว่าครอบครัวแรงงานย้ายถิ่นจะตกอยู่ในสถานการณ์อันยากลำบากแล้วก็ตามผลการวิจัยนี้อาจทำให้สังคมตัดสินตำหนิครอบครัวของพวกเขาเหล่านี้ได้ในทางกลับกัน

ผลการวิจัยดังกล่าวควรชี้ให้เห็นถึงภาระความรับผิดชอบของรัฐไทยที่ควรจัดหาให้มาซึ่งโครงการสวัสดิการสังคมต่างๆ และการช่วยให้ความช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนของตน ในขณะดียวกันการศึกษาวิจัยฉบับนี้ก็ยังได้เน้นไปที่พ่อแม่ของเด็กๆ ที่เดินทางไปทำงานในกรุงเทพฯ แน่นอนว่าเด็กบางคนที่อาศัยอยู่ในหมู่แห่งบ้านเดียวกันที่ตั๊กเคยอยู่คงได้รับผลกระทบจากการไม่มีแม่อยู่บ้านและคงคิดถึงแม่ของตนที่ต้องเดินทางไปอยู่ต่างประเทศในยุโรป แต่เงินที่แม่ๆ เหล่านี้ส่งมาให้กับลูกๆ ของเธอ ล้วนหมายถึงโอกาสที่พวกเขาเหล่านี้จะได้รับซึ่งการดูแลในสถานเลี้ยงดูเด็กเอกชน ได้ทานอาหารดีๆ มีประโยชน์ และปู่ย่าตายายเองก็ดูแลเลี้ยงดูบุตรหลานของตนอย่างดีที่สุดแล้ว

A scene from the 2008 documentary "Love on Delivery" by Janus Metz and Sine Plambech. The documentary portrays the lives of Isaan women who migrated to Danemark. Photo credit: Henrik Bohn Ipsen

ภาพบางส่วนจากภาพยนตร์สารคดีเรื่อง“Love On Delivery” โดยยานัสเมทซ์และซีเน พลามเบคภาพยนตร์สารคดีที่นำเสนอเรื่องราวชีวิ๖หญิงสาวลูกอีสานที่อพยพย้ายถิ่นไปอาศัยอยู่ประเทศเดนมาร์กถ่ายภาพโดย – เฮนริกบอห์นอิปเซน

ตั๊กเป็นผู้หญิงคนแรกของหมู่บ้านที่ได้เดินทางมาอยู่ในยุโรป นับตั้งแต่นั้นมาความเป็นอยู่ในหมู่บ้านก็เปลี่ยนแปลงไปมาก ญาติของตั๊กซึ่งยังอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้กล่าวว่า

เมื่อ 8 ปีก่อน ทั้งหมู่บ้านมีรถอยู่แค่คันเดียวเอง แต่ตอนนี้มีรถมากกว่า 10 คันแล้วล่ะ รถปิ๊กอัพสี่ล้อคันใหม่หลายคันเลย บ้านคนแต่ก่อนก็มีแค่บ้านไม้สองชั้นที่ปูพื้นกระเบื้องสีฟ้าอยู่หลังเดียว ดูสะอาดเรียบร้อย แต่ตอนนี้มีอย่างน้อย 15 หลังที่สร้างใหม่ บ้านคอนกรีต ประตูหน้าต่างกระจกบานเลื่อน ปูพื้นกระเบื้อง มีตู้เย็น หลังคาบ้านก็มีหลายสีมากขึ้น บางหลังก็ดูใหญ่โตเหมือนกับวังเลย ไม่น่าเชื่อว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปเร็วแค่ไหน

ครอบครัวที่สามารถสร้างบ้านหลังโตสวยงามเช่นนี้ได้ ก็มีแต่ครอบครัวที่มีสมาชิกผู้หญิงสักคนเดินทางไปอาศัยและทำงานอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งในยุโรป หรือไม่ก็คนรวยเศรษฐีที่ดินในชุมชนเท่านั้น แต่ไม่ได้มีแค่หมู่บ้านนี้แห่งเดียวที่เปลี่นแปลงเป็นเช่นนี้ ในช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา หมู่บ้านในอีสานหลายแห่งได้เป็นสักขีพยานแห่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบนี้เช่นเดียวกัน

เงินที่ได้รับจากแรงงานย้ายถิ่นผู้หญิงเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนเพียงอย่างเดียว แต่ยังใช้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับพ่อแม่เมื่อยามเจ็บไข้และต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล รวมทั้งยังเป็นค่าเล่าเรียนให้กับลูกๆ ของพวกเธอ รายได้ของแรงงานผู้หญิงย้ายถิ่นเหล่านี้คือเงินจากทางไกลเพื่อเก็บไว้ใช้หลังเกษียณและเป็นหลักประกันให้กับตัวเองเมื่อไม่มีงานทำ นั่นหมายความว่า สิ่งที่ผู้หญิงกลุ่มนี้จัดหามาให้ครอบครัวของตัวเองจากการย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศนั้น ควรเป็นสิ่งที่เราจะคาดหวังจากรัฐไทยว่าจะจัดหามาให้กับประชาชนของตน

แต่สิ่งที่ขัดแย้งกันคือข้อเท็จจริงที่ว่า งานที่ผู้หญิงเหล่านี้ทำอยู่ในประเทศเดนมาร์กนั้นคือจำพวกงานที่คนเดนมาร์กน้อยนักจะอยากทำ ขณะเดียวกันเอง สิ่งที่ผู้หญิงเหล่านี้มอบให้ ไม่ว่าจะมาจากการทำงานอย่างหนัก เป็นพนักงานทำความสะอาด หรือขายบริการทางเพศ ล้วนแล้วแต่เป็นการพัฒนาความเป็นอยู่ของครอบครัวตนเอง และยังถือว่าเป็นการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะภาคอีสาน

แม้ว้าจะไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าเงินที่สตรีไทยเหล่านี้ส่งกลับมาเป็นจำนวนเท่าใด แต่ตามข้อมูลธนาคารโลกพบว่ามีการส่งเงินกลับมาประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา และสัดส่วนเปรียบเทียบระหว่างเพศชายหญิงชาวไทยที่ย้ายถิ่นไปอยู่ประเทศในยุโรปเป็นผู้หญิงถึงร้อยละ 85 ขณะที่ผู้ชายมีเพียงร้อยละ 15

อีกไม่นานประเทศไทยคงจะได้รับประโยชน์เต็มๆ จากผู้หญิงกลุ่มนี้ที่หาเงินเข้าประเทศทั้งที่ประเทศไทยไม่ได้มอบอะไรกลับคืนให้กับพวกเธอเท่าใดนัก

ตามมุมมองชาวบ้านในอีสานแล้ว ลูกผู้หญิงที่ย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศนั้นคือ “วีรสตรี” แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าชีวิตผู้หญิงเหล่านี้ในฐานะผู้ย้ายถิ่นไปอยู่ประเทศเดนมาร์กจะมีความเป็นอยู่ราบรื่นไปเสียหมด ผู้หญิงไทยที่ดิฉันได้พบปะนั้นส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จกับชีวิตคู่หลังการแต่งงาน

แต่ความจริงแล้วก็มีหลายคนทีเดียวที่ต้องผันตัวเองไปทำงานขายบริการ ทำงานหนักในโรงงานอุตสาหกรรม และถูกสามีทำร้ายร่างกาย แต่ความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจของผู้หญิงเหล่านี้ยังคงทำหน้าที่กระตุ้นให้ผู้หญิงชาวบ้านอีกหลายคนอยากเดินทางไปอยู่ต่างประเทศบ้าง

ประเด็นด้านการค้ามนุษย์และงานบริการทางเพศยังคงบดบังไม่ให้เกิดพื้นที่สำหรับการพูดคุยอภิปรายกันเรื่องผู้หญิงไทยในสังคมยุโรปและเดนมาร์กสังคมนี้ยังขาดมุมมองที่มาจากผู้หญิงย้ายถิ่นเอง และมุมมองจากฝั่งญาติพี่น้องของเธอที่อาศัยอยู่ในภาคอีสาน แต่ว่าสิ่งที่ควรจะนำเอาศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ต้องพูดถึงความจริงของโลกใบนี้ว่าอะไรและทำไมพวกเธอถึงต้องเดินทางมายังประเทศเดนมาร์กและประเทศอื่นๆ ในยุโรป

ผู้หญิงบางคนแต่งงานด้วยความรัก บางคนเพื่อมาหางานทำ บางคนเพื่อมาทำงานขายบริการ สาเหตุที่พวกเธอต้องเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาไกลขนาดนี้ก็เพราะว่ารายได้จากการทำงานในประเทศไทยนั้นไม่เพียงพอที่จะจุนเจือครอบครัวได้ ก็เหมือนกับผู้หญิงไทยย้ายถิ่นคนอื่นๆ การตัดสินของตั๊กและมนต์ที่จะย้ายมานั้นก่อร่างสร้างรูปมาจากความไม่เท่าเทียมกัน นโยบายวีซ่าเข้าประเทศในยุโรปที่เคร่งครัด และวัฒนธรรมการย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศที่กำลังเติบโตเบ่งบานอยู่ในสังคมไทย ความเข้าใจซึ่งปัจจัยสาเหตุที่มากไปกว่านั้นจะทำให้เห็นว่าผู้หญิงไทยที่อยู่ต่างประเทศนั้นไม่ได้เป็นแค่ “นางบำเรอ”แต่วีรสตรีหญิงสาวเหล่านี้มิใช่หรอกหรือที่ต้องแบกรับภาระอันเกิดขึ้นเนื่องจากระบบสวัสดิการสังคมของภาครัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพและการพัฒนาสนับสนุนช่วยเหลือชุมชนหมู่บ้านทุรกันดารอย่างไม่ทั่วถึง

image_pdfimage_print