วันที่ 18 ส.ค. 59 ที่ผ่านมา อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเผยผลสำรวจเรื่อง “เหตุผลคนอีสานในการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559” ผลสำรวจพบว่า 3 เหตุผลหลัก ที่คนอีสานรับร่างรัฐธรรมนูญ คือ ต้องการให้ประเทศสงบ/ไม่วุ่นวาย ต้องการให้มีการเลือกตั้งเร็วที่สุด และรัฐธรรมนูญจะช่วยถ่วงดุลนักการเมือง/และปราบนักการเมืองทุจริต ขณะที่ 3 เหตุผลหลัก ที่คนอีสานไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ คือ ต้องการให้มีการร่างรัฐธรรมนูญจากตัวแทนของประชาชน กระบวนการทำประชามติไม่เป็นไปตามหลักสากล  และอาจมีการสืบทอดอำนาจของ คสช. หรือเปิดช่องนายกรัฐมนตรีคนนอก

ผศ.ดร.สุทินเวียนวิวัฒน์หัวหน้าโครงการอีสานโพลเปิดเผยว่าการสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นและแรงจูงใจของคนอีสานในการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ทำการสำรวจระหว่างวันที่  13 – 16  สิงหาคม  2559  จากกลุ่มตัวอย่าง 1,177  รายที่ไปใช้สิทธิลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด

สำหรับการสอบถามครั้งนี้  อีสานโพลได้สอบถามกลุ่มตัวอย่างที่ไปลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ   เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559  ที่ผ่านมา  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ  51.7   ระบุว่าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนอีกร้อยละ  48.3  ระบุว่ารับร่างรัฐธรรมนูญ

ESAANPOLL-whyyeswhynoสำหรับเหตุผลที่กลุ่มรับร่างรัฐธรรมนูญคิดว่าเป็นแรงจูงใจในการตัดสินใจมากที่สุด ในบรรดา 8 ตัวเลือก/เหตุผล  คือ ต้องการให้ประเทศสงบ/ไม่วุ่นวาย  ร้อยละ 93.7   รองลงมา คือ ต้องการให้มีการเลือกตั้งเร็วที่สุด   ร้อยละ 89.4  ตามมาด้วย รัฐธรรมนูญจะช่วยถ่วงดุลนักการเมือง/และปราบนักการเมืองทุจริต  ร้อยละ  85.2    กลัวได้รัฐธรรมนูญที่แย่กว่าฉบับนี้  ร้อยละ  75.5   พอใจเนื้อหารัฐธรรมนูญโดยรวม   ร้อยละ  71.3   เชื่อมั่น คสช. ในการปฏิรูปประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่าน ร้อยละ  69.4   นักการเมืองประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ   ร้อยละ  58.5  และต้องการให้ พลเอกประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อหลังจากการเลือกตั้ง ร้อยละ  54.2

สำหรับเหตุผลที่กลุ่มไม่รับร่างรัฐธรรมนูญคิดว่าเป็นแรงจูงใจในการตัดสินใจมากที่สุด ในบรรดา 8 ตัวเลือก/เหตุผล  คือ ต้องการให้มีการร่างรัฐธรรมนูญจากตัวแทนของประชาชน  ร้อยละ 94.7  รองลงมา คือ   กระบวนการทำประชามติไม่เป็นไปตามหลักสากล  ร้อยละ  87.7   ตามมาด้วย อาจมีการสืบทอดอำนาจของ คสช. หรือเปิดช่องนายกรัฐมนตรีคนนอก  ร้อยละ  84.7   ไม่พอใจการได้มาซึ่ง ส.ว.  ร้อยละ  81.6  ไม่เชื่อมั่น คสช. ในการปฏิรูปประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่าน ร้อยละ  81.2    ไม่พอใจเนื้อหารัฐธรรมนูญโดยรวม   ร้อยละ  76.9   ไม่พอใจเนื้อหารัฐธรรมนูญโดยรวม  ร้อยละ  71.7  และเลือกตามนักการเมืองที่ชื่นชอบ ร้อยละ  58.6

ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์ 99% และคลาดเคลื่อนได้บวกลบ4%  ประกอบด้วยเพศหญิงร้อยละ 50.3  เพศชายร้อยละ 49.7 ส่วนใหญ่ร้อยละ 29.7 มีอายุ36-45ปี  รองลงมาร้อยละ 25.6 มีอายุ 26-35ปี  ร้อยละ 21.3  มีอายุ 46-55 ปี  ร้อยละ 9.7 มีอายุ 18-25 ปี  ร้อยละ7.7 มีอายุ 61 ปีขึ้นไป  และร้อยละ5.9 มีอายุ 56-60 ปี

ส่วนระดับการศึกษา ร้อยละ 38.3  จบการศึกษาระดับประถมศึกษา / หรือต่ำกว่า   ร้อยละ16.2  จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น   ร้อยละ17.0  จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช. ร้อยละ 7.9 จบการศึกษาอนุปริญญา / ปวส. ร้อยละ  19.3  จบการศึกษาปริญญาตรี และร้อยละ 1.4 จบการศึกษาระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า

ด้านอาชีพส่วนใหญ่ร้อยละ 43.8  ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รองลงมาร้อยละ 13.9  ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/งานอิสระ   ร้อยละ 13.2  รับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน   ร้อยละ 9.3 พนักงานบริษัทเอกชน  ร้อยละ 8.6รับราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ   ร้อยละ 5.3  พ่อบ้าน/แม่บ้าน  ร้อยละ 3.7 นักเรียน/นักศึกษา  และอื่นๆ ร้อยละ 2.2

ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่วนใหญ่ร้อยละ 40.3  อยู่ที่ 5,001-10,000 บาท   รองลงมาร้อยละ  23.7    มีรายได้อยู่ระหว่าง  10,001-15,000 บาท  ร้อยละ 12.1  มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท   ร้อยละ 11.1  มีรายได้ 15,001-20,000 บาท   ร้อยละ 11.0 มีรายได้ 20,001-40,000   และร้อยละ 1.8 มีรายได้มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป

image_pdfimage_print