กาฬสินธุ์ – เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2559 คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ได้นำเสนอรายงานศึกษาเรื่อง “นำร่องเมืองข้าว : จังหวัดกาฬสินธุ์ Rice City Pilot Project : Kalasin Province” ต่อที่ประชุมสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศหรือ สปท.  เพื่อนำไปพิจารณาเห็นชอบโดยต่อมาในวันที่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 รายงานฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบของที่ประชุม สปท. และส่งต่อไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป

ผลผลิตข้าวในปี ๒๕๕๙ ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งแต่ปริมาณข้าวนาปียังขยายตัวร้อยละ 7.3 จากข้อมูลส้านักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดว่าผลผลิตข้าวจะมีประมาณ 29.143 ล้านตัน

ตามรายงานดังกล่าว  เป้าหมายของโครงการ นำร่องเมืองข้าว: จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นไปเพื่อการแก้ปัญหาข้าวของประเทศเกษตรกร 3.5 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศที่ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพยากจน ซึ่งเกี่ยวข้องกับขีดความสามารถในการแข่งขันที่ลดน้อยลงเมื่อเทียบกับประเทศซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายอื่น  จึงจำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างระบบทั้งหมดตั้งแต่ระบบการผลิตโดยส่งเสริมทำนาแปลงใหญ่เชิงอุตสาหกรรม ทั้งส่งเสริมโรงสีข้าวทันสมัยตามแนวอุตสาหกรรม 4.0 และปฏิรูประบบแปรรูปข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยนวัตกรรมทันสมัย ต่อยอดจากงานวิจัยเชิงพาณิชย์ โดยเน้นตัวชาวนาเป็นศูนย์กลางตลอดการปฏิรูปนำมาสู่การเป็น “เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษผลิตข้าวเชิงอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมต่อเนื่องข้าวครบวงจร” เพื่อตอบสนอง ให้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

ปัจจัยที่เลือกพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดนำร่อง เพราะเป็นจังหวัดที่มีทั้งความพร้อมและศักยภาพ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่อยู่ศูนย์กลางภาคอีสานสามารถเชื่อมต่อกับระบบรางคู่ผ่านชุมทางจิระ (จังหวัดขอนแก่น) ซึ่งในอนาคตจะมีศูนย์รวบรวมตู้สินค้า (ICD) เพื่อให้เกิดการขนส่งทางรางไปสู่ท่าเรือแหลมฉบัง  ทั้งยังมีแหล่งน้ำระบบชลประทานตลอดปีจากเขื่อนขนาดใหญ่ในลุ่มน้ำชีคือเขื่อนลำปาว  ทางจังหวัดยังเสนอพื้นที่1500 ไร่ติดถนนไฮเวย์เส้นทางอีสต์เวสต์คอริดอร์สเพื่อใช้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ

รายงานดังกล่าวระบุว่า โครงการนี้แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะต่อเนื่อง ระยะแรกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2560 ต่อถึงระยะสอง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม 2560 และระยะสุดท้าย เดือนพฤศจิกายน 2560 ถึง เมษายน ในปี 2561

ซึ่งในระยะที่ 1 มีเป้าหมายในการเตรียมความพร้อมและศักยภาพของจังหวัดกาฬสินธุ์  ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัด, ด้านพลังงานสำหรับอุตสาหกรรม, ด้านแหล่งน้ำและระบบชลประทานและด้านโลจิสติคเชิงพื้นที่

ระยะที่ 2 เป็นสร้างกลไกผลักดันเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อการผลิตข้าวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวครบวงจรประกอบไปด้วยยุทธศาสตร์ 2 อย่าง

1.จัดตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการประกอบไปด้วยหน่วยงานรัฐเช่นกระทรวงมหาดไทย, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กระทรวงพาณิชย์เป็นบอร์ดใหญ่  ส่วนระดับจังหวัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานร่วมกับร่วมงานภาครัฐและเอกชนภายในจังหวัดเป็นกรรมการ

2.กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแปรรูปข้าวครบวงจรเบื้องต้นกำหนดพื้นที่เป้าหมายเหมาะสมอยู่ตั้งอยู่ที่ตำบลโคกดอนหันอำเภอยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ 1,500 ไร่

ระยะที่ 3 เป็นการดำเนินการมาตรการจูงใจเพื่อให้เกิดการลงทุน  ประกอบไปด้วย มาตรการที่สำคัญหลักอยู่สอง2 ข้อคือ

1.การปฏิรูปขับเคลื่อนด้วยกลไกโดยมติคณะรัฐมนตรีโดยรัฐบาลจะมีมติคณะรัฐมนตรีสนับสนุนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวเชื่อมโยงในการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าข้าว

2.การสนับสนุนมาตรการทางการคลังผ่านทาง BOI โดยสนับสนุนมาตรการทางภาษีให้เทียบเท่ากิจการซึ่งเข้าไปลงทุนในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ทั้งด้านการอำนวยความสะดวกของหน่วยงานซึ่งอยู่ในพื้นที่และมาตรการส่งเสริมการลงทุน

 

image_pdfimage_print