การเหยียดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ผู้ที่ถูกเหยียดมักจะเป็นผู้ที่ถูกจัดสถานะให้ต่ำกว่าคนทั่วไป การเหยียดยังเกิดขึ้นในโรงเรียนโดยครูห้ามนักเรียนพูดภาษาถิ่นแต่ให้พูดไทย ส่วนการต่อสู้กับการถูกเหยียดต้องเริ่มจากตระหนักว่าการเหยียดคือสิ่งที่ผิด

พีระ ส่องคืนอธรรม สัมภาษณ์

เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา มีบทความชื่อ “วิพากษ์ คำผกา จากกรณี “การเหยียด” เปก ผลิตโชค ด้วยมุมมองอำนาจทับซ้อน” เผยแพร่ในเว็บไซต์ประชาไท บทความนี้แตกต่างจากบทความที่พูดถึงการเหยียดหลายๆ ชิ้นที่ออกมาในช่วงเดียวกัน ตรงที่ว่าผู้เขียนอ้างถึงประสบการณ์ส่วนตัวหลายมิติที่ซ้อนทับกัน และยังมีย่อหน้าที่กล่าวถึงความเป็นคนชาติพันธุ์ลาวจากภาคอีสานอีกด้วย ดังว่า

ส่วนตัวเองที่พูดลาวเป็นภาษาแม่ ทุกครั้งที่ตนเองบอกว่าเป็นคนลาว มาจากอุบลฯ คู่สนทนามักจะหัวเราะและพูดต่อว่า ไหนๆ ลองพูดลาวให้ฟังซิ หลายครั้งที่ผู้เขียนตั้งคำถามกลับไปแต่ไม่มีคำตอบกลับมาคือ

1) หัวเราะอะไร (เพราะมันไม่มีบทสนทนาใดๆ ก่อนหน้าที่จะนำไปสู่การสร้างเป็นเรื่องขบขัน) และ

2) ทำไมต้องให้พูดลาวให้ฟัง (ทั้งๆ ที่บทสนทนาก็เป็นภาษาไทยอยู่ดีๆ)

ถึงตรงนี้อยากให้คนอ่านได้ลองจินตนาการว่า ผู้ที่ถูกกระทำซ้ำๆแบบนี้ ตั้งแต่อนุบาลเรื่อยไป 6 ปีบ้าง 12 ปีบ้าง จะยังคงหลงเหลือความเชื่อมั่นที่จะพูดด้วยลิ้นของแม่ ด้วยสำเนียงของตนได้อย่างไร

ผู้เขียนคือคุณมัจฉา พรอินทร์ ซึ่งเป็นนักรณรงค์หญิงรักหญิงผู้เคลื่อนไหวประเด็นสิทธิความหลากหลายทางเพศ สิทธิเด็ก สิทธิชาติพันธุ์และสิทธิสตรี ในระดับประเทศและนานาชาติ

คุณมัจฉามีภูมิลำเนาที่อีสานใต้ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี ปัจจุบันอาศัยและทำงานอยู่ภาคเหนือตอนบน และยังเป็นนักศึกษาชั้นปริญญาโทสาขาสตรีศึกษาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อีกด้วย

ตลอด 12 ปี ของเส้นทางการเป็นเอ็นจีโอผู้มีเจตนารมณ์ให้คนชายขอบได้อยู่ศูนย์กลางของทุกประเด็น ในนามองค์กร “สร้างสรรค์อนาคตเยาวชน” คุณมัจฉาได้มอบทุนการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อสร้างพลังให้แก่เยาวชนมาแล้วกว่าหนึ่งพันคน โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายคือผู้หญิงชนเผ่า เห็นเป็นผลสำเร็จคือมีผู้รับทุนกว่า 46 คนแล้วที่สำเร็จการศึกษาแล้วกลับไปบ้านเกิดของตัวเองเพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ฉันนัดพบคุณมัจฉา หรือ “เจี๊ยบ” ณ สนามบินสุวรรณภูมิ ดักรอโอกาสเมื่อเธอเดินทางมาจากเชียงใหม่และกำลังรอเที่ยวบินไปต่างประเทศพอดี โดยคราวนี้เธอจะไปสหรัฐอเมริกาเพื่อเข้าร่วมการสัมมนาประเด็นสิทธิมนุษยชนหลายเวที

ประสบการณ์ใดกันหนอ ที่เป็นพื้นฐานให้คุณมัจฉามามีข้อสรุปเรื่องการเหยียด การล้อเลียน และมาทำงานกับเยาวชนอย่างเข้มข้นเช่นนี้ได้

เนื่องจากการสัมภาษณ์ครั้งนี้ใช้ภาษาลาวอีสาน และยังกล่าวถึงประเด็นการบังคับใช้ภาษาไทยมาตรฐานในห้องเรียน บทสนทนาต่อไปนี้จึงยังคงภาษาเดิมไว้ คำที่สะกดด้วยตัว ญ หญิง แทน ย ยักษ์ เช่น “ญอม” “ญ่าง” “ได้ญิน” ใช้เพื่อแทนหน่วยเสียง ย แบบขึ้นจมูก ซึ่งแยกจากเสียง ย แบบไม่ขึ้นจมูกในภาษาลาว

บางคราวผู้ให้สัมภาษณ์ใช้คำเรียกตัวเองว่า “เฮา” แต่บางคราวก็ใช้คำว่า “เอื้อย” [พี่สาว] ก็ขอให้ท่านอย่าได้สับสนและให้เข้าใจว่าหมายถึงตัวคุณมัจฉาเองทั้งสองคำ

เอื้อยเว้าให้ฟังได้บ่ว่า ตอนเป็นเด็กน้อยมีปะสบการณ์การถืกเหยียดจั่งใด๋แน [อย่างไรบ้าง]

ถ้าเริ่มต้นเลยก็คือว่า พ่อแม่เนี่ยะ มีปัญหากัน ข้าเจ้า [เขา – ในที่นี้อ้างถึง “พ่อแม่”] มีความรุนแรงในคอบคัว พ่อกะสิมากินเหล้า กะสิมีเรื่องผู้ญิงนำ [ก็จะมีเรื่องผู้หญิงด้วย] แม่กับพ่อนี่กะสิเถียงกัน

บัดทีนี้พอเวลาพ่อกับแม่เถียงกันจั่งซี่หละเฮาก็รู้สึกว่าเป็นหญังพ่อคือ [ถึง] ต้องทำร้ายแม่ ก็ฮู้สึกว่าอันนั้นบ่ถืกต้องแล้ว เป็นหญัง [เป็นไร] แม่เป็นผู้ญิงคือต้องทน พอฮู้สึกแบบนั้นแล้วกะสิบอกแม่ว่า ให้เลิกกับพ่อสา เฮาบ่มีความจำเป็นหญังเลยที่ต้องอยู่นำกันแล้วกะทะเลาะกัน

อาญุจักปีญามนั้น [อายุกี่ปีตอนนั้น]

บอกตั้งแต่ห้าหกขวบ พ่อแม่เริ่มทะเลาะกันตั้งแต่เฮาห้าหกขวบจนกะทั่งข้าเจ้ามาเลิกอันอีหลีตอนเก้าขวบหนา เฮาก็พยายามบอกว่าแม่มัน บ่ต้องมาเถียงกันจั่งซี่ [อย่างนี้] บ่ต้องมาทะเลาะกันจั่งซี่ บ่ต้องทน ให้เซากันไปสา ให้เลาไปอยู่กับผู้อื่น อันนี้ก็คือค้ายๆ ว่า พอเห็นว่ามันบ่ถืกต้อง เฮาก็ฮู้เลยว่าอันนี้บ่ถืกต้อง เป็นหญังเฮาคือต้องอยู่ในสภาพจั่งซั่น [อย่างนั้น] อันนี้เป็นอันที่หนึ่งเนาะ

บัดทีนี้ ในระหว่างที่เฮาอยู่ในคอบคัวที่มีความรุนแรงจั่งซี่ ชาวบ้านก็สิฮู้เนาะ น้องเฮากะถืกรังแกเด๊ะบาดหนิ [ทีนี้] เฮาบ่ค่อยถืกรังแกแต่เฮาถืกล้อเลียน ถูกล้อเลียนหนักมากเลย ทั้งจากครู จากหมู่ [เพื่อนฝูง] เฮาก็เป็นคนจนนำน่อ เพราะพ่อกินเหล้าเล่นนั่นเล่นนี่แล้วกะบ่มีเงินเนาะ ญามไปโรงเรียนเฮากะสิถืกรังแก พวกหมู่กะสิล้อเลียนเฮา

ล้อเลียนว่าหญัง [ล้อเลียนว่าอะไร]

พอเฮามีความเป็นชายขอบ หมู่กะสิล้อเลียน ล้อเลียนหน้าตา สิเอิ้นเฮาว่า อีดำ สิเอิ้นเฮาว่า ตาเหลือก กะสิล้อเลียนรูปร่างหน้าตาเฮา แล้วเฮากะสิเป็นเด็กน้อยอ้วนๆ จั่งซั่นนา ถืกล้อเลียน เฮ็ดให้เฮาฮู้สึกว่าบ่มีคุณค่า

แล้วผู้ที่ล้อนั่น บ่ดำคือกันเบาะ [ไม่ดำเหมือนกันเหรอ]

มันก็ดำ แต่ว่ามันมีอัตลักษณ์ของความเป็นกะแสหลักบางอย่าง เช่น พ่อแม่มีเงิน หรือว่ามันเป็นผู้ชาย เพราะนั้นแล้วถ้าเป็นผู้ญิงนำกัน ซี่กะสิบ่ล้อเลียนกันเด๊ะ กะสิถืกหมู่พวกผู้ชายมากกว่าที่ล้อเลียน หรือว่าถ้าเป็นหมู่ผู้ญิงนำกันกะสิเป็นแบบมีเงิน หรือว่าอยู่เป็นลูกแบบ พวกสายผู้นำในหมู่บ้านจั่งซี่หนา

บัดทีนี้ ทางแม่เป็นหม้าย เลิกกับพ่อแล้วเนาะ มื้อ [วัน] นึงแม่กะจูงควยไปกินน้ำ บัดทีนี้กะมีพ่อลุงผู้หนึ่ง เฮือนอยู่ข้างๆ กัน จูงควยไปกินน้ำคือกัน ข้าเจ้าจูงควยจะญ่างผ่านบ้าน ควยแม่กะอยู่นี่ ควยข้าเจ้ากะญ่างมา

บัดหนิควยผู้สองโต [ควายตัวผู้สองตัว] มันมาพ้อกันมันสิชนกัน พ่อใหญ่อันนั่นก็ด่าแม่เฮาหวะสั่น ด่าแบบบ่เคยเห็นรุนแรงขนาดนั้น เฮากะเลยว่า มันบ่แม่นละแหลว อยู่ดีๆ สิมาด่ากันปานหมูปานหมาจั่งซี่นะ

เฮาก็เลยฮู้ว่า อ๋อ อี่หลีแล้ว พอผู้ญิงเป็นหม้ายแล้ว เขาอยากเฮ็ดจั่งใด๋ เขาอยากว่าจั่งใด๋ก็ได้ จั่งซี่ติ มันถืกแล้วติ๋? กะบ่ถืก อันนี้เป็นภาพอันนึงเลย ที่เฮ็ดให้เห็นภาพเลยว่า ถ้าเกิดว่าแม่มีผัว ถ้าเกิดว่าแม่อยู่นำผู้ชาย ผู้ชายผู้นี้สิบ่มีทางเฮ็ดจั่งซี่กับแม่เลย แต่เพราะว่าแม่บ่มีผัว แม่บ่มีผู้ชาย แล้วแม่กะมีควยโตใหญ่แฮง แม่เลี้ยงควยอย่างงามเลย กะเลยถืกผู้ชาย ผู้ใด๋กะบ่ฮู้ อยู่ดีๆ ก็มาด่าเอา ซ่ำว่าคุณค่าบ่มีจั่งซั่นหนา

แต่ว่าแม่กะเฮ็ดให้เห็นอันนึงก็คือว่า แม่บ่เคยย้านใผ แม่บ่เคยญอม แม่กะเถียงกับคือกันแหลว เฮาก็เห็นเลือดสู้ของแม่เนาะ มันก็อยู่ในเนื้อในโตเฮาจั่งซี่หนา ไอ้ความเข้าใจแบบนี้หละ ค่อยๆ เก็บมา เป็นการ recognize [เล็งเห็นและรับรู้] ว่า อันเนี้ยะบ่ถืกต้อง แล้วเฮากะ recognize แบบมีเสียงนำหนา

แบบมีเสียงคือจั่งใด๋ [คือยังไง]

แบบมีเสียง ก็คือบ่แม่นแค่ว่า ฮู้สึก แต่ว่าเฮาก็เว้ากันออกมาจั่งซั่นหนา สมมุติว่ามันเกิดขึ้นจั่งซั่นกับน้อง เฮาก็มาคุยกับน้อง มันเกิดขึ้นกับแม่ เฮาก็มาคุยกับแม่ พอเฮาฮู้สึกว่ามันบ่ถืกต้องเฮาก็บ่ได้เก็บไว้ผู้เดียวนอ เฮาก็พยายามเอาเสียงออกมา

คือตอนที่จบป.หกสิไปเฮียนต่อ แม่ก็ว่าอย่าเฮียนสา เฮาก็บอกแม่ว่า “โอ้ เฮาฮู้สึกว่าบ่แม่นแล้ว ถ้าเกิดว่าผู้ญิงบ่ได้เฮียนหนังสือแล้ว กะบ่มีทางเลยว่าสิเฮ็ดให้ชีวิตเจ้าของดีขึ้นได้จั่งใด๋” จั่งซี่หนา

เวลาเฮารู้สึกว่าบ่ถืกต้อง ขั้นที่หนึ่งก็คือเฮารู้สึกได้ ขั้นที่สองเฮา name ได้ [เรียกมันด้วยชื่อที่เราเข้าใจได้ เช่น นี่มันเป็นการเหยียดหยามนี่ นี่มันไม่ถูกต้องนะ] ขั้นที่สามเฮาเว้ามันออกมาเด้หละ

แต่ว่าพอเฮาเว่ามันออกมาหนิเฮาอาจสิได้รับแรงโต้ตอบ บ่ได้รับการญอมรับ เฮาก็ยืนยัน แม่ก็บ่เห็นนำ อ้ายน้องก็บ่เห็นนำ แต่ว่าเฮาก็ยืนยันว่า เฮาคึดจั่งซี่ละ เฮาเป็นแบบนี่ละ เฮาบ่ญอม มันก็อยู่ในเนื้อในโตมาเนาะ อันนี้ก็คือตอนที่เฮา recognize ว่าควมบ่ถืกต้องมันเกิดตั้งแต่ คนใก้โตเฮาที่สุด ไปกะทั่งคนที่อยู่นอกๆ ไป

มีปะสบการณ์กับความบ่ถืกต้องในโรงเรียนจั่งใด๋แน

มีคาวนึง ครูวิชาภาษาอังกฤษให้เฮ็ดการบ้านแล้วเฮาบ่เฮ็ด พอเฮาบ่เฮ็ดแล้วกะมาตีเฮา ตีเฮาหวะสั่น เจ็ดแปดเทือ [ที] ข้อละเทือ เฮาก็มีความรู้สึกว่า “เอ้า บ่เฮ็ดการบ้าน มาตี มันบ่ซ่อยหญังตัวะหละ ก็บ่เฮ็ดก็คือบ่เฮ็ด การตีก็บ่ซ่อยให้การบ้านแล้ว [เสร็จ]”

เฮาก็ฮู้สึกว่า ครูเฮ็ดแบบนี้บ่ถืกต้อง การลงโทษด้วยวิธีการตีหนิบ่ถืกต้อง แม้นเฮาสิเฮ็ดผิดกะซาง [ก็ช่าง] มันบ่แม่นการแก้ปัญหา แล้วมันบ่ซ่อยหญัง แต่มันได้ถิ่มร่องรอยไว้กับเฮาแล้ว  ก็คือหลังจากนั้นมาเฮากะซังภาษาอังกฤษไปเลย เพราะว่าครูภาษาอังกฤษตี

มันกะเป็นการต่อสู้นำส่วนนึง เฮากะบ่ญอมเฮียนกับเขาอีกเลย กะนั่งซื่อๆ นั่นแหลว

แต่ว่าสุดท้ายก็มาฮู้ภาษาอังกฤษได้ ญ้อนหญัง [เพราะอะไร]

ญ้อนว่าเฮามีความจำเป็นต้องใช้มันเนาะ กะย้าน [ก็กลัว] ภาษาอังกฤษนำหนา จนฮอดซุมื้อนี่ [จนถึงทุกวันนี้] กะญังมีความรู้สึกว่าเออเฮาบ่เก่งภาษาอังกฤษ มันก็เลิ้ก [ลึก] แฮงอันเนี่ย เฮาบ่ค่อยเชื่อมั่นในภาษาอังกฤษเจ้าของ

แต่ว่าเฮากะบอกเจ้าของว่า ต้องสื่อสาร คือเฮาบ่ค่อยมั่นใจในภาษาอังกฤษของเฮาเลยแต่เฮาเว้า ไปเวทีนานาชาติหนา ขึ้นเวทีระดับโลก ขึ้นไปนั่ง เฮาก็เว้า เฮาย้านนะ ย้านจนสั่น ภาษาอังกฤษเฮาบ่ได้ดี แต่ว่า เฮามีความรู้สึกว่า เสียงของเฮานั่นออกไป เฮาคึดจั่งใด๋ ปะสบการณ์เฮาเป็นจั่งใด๋ เฮาต้องการหญัง เฮามองโลกแบบใด๋ เฮาอยากให้คนแม้สิฟังเฮาบ่ฮู้เรื่อง อย่างน้อยก็ได้ญิน

เอื้อยเขียนถึงปะสบการณ์ในโรงเรียนที่ถืกห้ามบ่ให้เว้าลาวในบทความวิพากษ์การเหยียด อยากฮู้ว่าการบังคับเว้าไทยที่เอื้อยพ้อมามันคักปานใด๋ [มันหนักหนาขนาดไหน]

มันเป็นโรงเรียนบ้านนอกแฮงๆ นั่นหนา เบิด [หมด] เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์น่ะเป็นลาว ครูก็พาเว้าไทย เฮาก็มีความฮู้สึกว่า เออ เป็นหญังคือให้เฮาดัดจริตพากันเว้าไทย ลางเทือครูก็บอกว่า “ให้พูดเป็นภาษาไทยสิค๊า!” เฮากะมีความฮู้สึกว่า เอ้า ก็เว้าลาวให้กันฮู้เรื่อง แล้วเป็นหญังคือต้องบังคับให้เฮาเว้าไทย แต่ว่าครูเบิดซุคนก็เป็นคนลาวนำกัน

แต่ว่ามันบ่แม่นแค่เฉพาะว่าอ่านภาษาไทยแล้วเว้าไทย มันลามปามมาถึงขนาดว่าเฮาคุยกันกับหมู่ด้วยภาษาเฮา ครูก็บอกว่าในห้องเรียนให้พูดภาษาไทยสิคะ

ณ ตอนนั้น เฮาก็ name ว่าเป็นหญังเฮาต้องดัดจริต ทั้งๆ ที่เฮาคุยกันเป็นภาษาลาวก็ได้ แต่ว่าโอเค เขียนหนังสือภาษาไทย อ่านภาษาไทย อันนั้นเข้าใจได้ แต่ในขณะที่เฮาคุยกันนอกเหนือจากตัวหนังสือบนกะดาน ภาษาวิทยาศาสตร์เลขหนึ่งเลขสอง เฮาบ่มีความจำเป็นเลยต้องเว้าภาษาไทย

ปะสบการณ์ส่วนนี่ของคนเว้าลาวในอีสาน มันเปรียบเทียบได้บ่กับปะสบการณ์ของคนชนเผ่าที่เอื้อยเฮ็ดงานนำ

มันชัดแฮงตอนที่เฮามาเฮ็ดงานกับน้องที่เป็นชนเผ่าน่ะ อันนี้เขาโดนหนักกั่วเฮาอีก ถ้าเกิดว่าไปฟังปะสบการณ์เนี่ย พอเว้าปุ๊บครูตบปากเลยก็มี เด็กน้อยถืกตบปากเลือดไหลเลยหนาเพราะว่าเว้าภาษาชนเผ่า ครูกะสิบังคับห้ามเว้าอย่างเด็ดขาด

แล้วกะบ่แม่นเฉพาะในห้องเรียน ครูนั่งอยู่หั้น [ตรงนั้น] แล้วครูฟังภาษาชนเผ่าบ่ฮู้เรื่อง ครูกะสิบังคับให้เว้าภาษาไทยเท่านั้น ครูสิได้ฮู้นำเบิด แล้วมันบ่ได้จบแค่นั้น ในระบบห้องเรียนกะสิมีการหัวเราะเยาะกันนำ ถ้าเกิดว่าเว้าไทยบ่ชัด ค้ายๆ ว่าบังคับให้เว้าไทยแล้ว พอเว้าบ่ชัดปุ๊บ กะสิถืกบอกว่าเป็นหญังคือเว้าบ่ชัด จนกะทั่งเฮ็ดให้เด็กน้อยที่เอื้อยเฮ็ดงานนำจำนวนมาก บ่สามารถที่สิมีความเชื่อมั่นในการเว้าของเจ้าของได้เลย

มันเป็น trauma [ภาวะบาดเจ็บฝังแน่น] ที่ทรานสฟอร์มใส่เอื้อยนำ ภาษาอังกฤษเอื้อยก็เป็นจั่งซั่น แต่ว่าเอื้อยมีความฮู้สึกว่าก็ต้องบ่ญอมไง ฮู้อยู่ว่านี่คือ trauma เลย ก็คือว่าเฮามีความฮู้สึกว่ามันบ่แม่นภาษาของเฮา เฮาใช้ได้บ่ดี แต่ว่าเฮาก็ต้องข้ามมันให้ได้ เฮาก็ต้องเว้า ต้องบอกความฮู้สึกของเฮาได้ แล้วกะเฮ็ดให้เด็กน้อยเห็นว่า ท้ายที่สุดบ่ว่าเฮาสิมั่นใจหรือบ่มั่นใจ เฮาก็มีความจำเป็นที่ต้องสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปี่ยนแปง

มีเด็กน้อยที่เอื้อยเฮ็ดงานนำสามารถข้ามผ่านการถืกเหยียดไปได้บ่

มีผู้นึง บ่เคยเว้าต่อหน้า public [สาธารณชน] เลย ร้อย ในห้องเรียนนี่กะสิแทบสิบ่เว้าอยู่แล้ว เวลาเว้ากะสิเว้าไวๆๆๆ ให้มันจบจนกะทั่งบ่มีใผฟังฮู้เรื่องว่าเว้าอีหญัง ให้มันแล้วๆ ไป แล้วมื้อนึงต้องเว้าตอนเฮ็ดกะบวนการอบรม

เขานั่งไห้ [ร้องไห้] อยู่ปมาณเคิ่งชั่วโมง แล้วก็เว้าสั้นๆ ว่า “โอ๊ย ดีใจหลาย มีความสุข” จั่งซี่หนา แต่ว่าหลังจากรอบนั้นแล้วผู้นี้ก็กายเป็นคนเว้าเก่งไปเลยนะ คือหมายถึงว่าก็สามารถเว้าในที่สาธารณะได้ นำเสนองานหน้าห้องได้ แต่ถามว่ามีความเชื่อมั่นบ่ ก็ญังเขินๆ อายๆ อยู่ พอเว้าปุ๊บแล้วมีคนมาล้อก็สิรู้สึกว่า เป็นหญังคือมาล้อ แล้วบางทีกะสิเสียความเชื่อมั่น อันนี้คือเด็กน้อยที่เฮ็ดงานนำเนาะ แต่ว่าสิ่งที่เขาเห็นจากเฮาคือ สู้ เขากะสู้

มีคาวนึง เด็กน้อยลงพื้นที่ เป็นเด็กน้อยเฮียนวิชาพัฒนาสังคมอยู่ แล้วกะได้ไปลงพื้นที่ ไปฝึกสอน แล้วกะกับมาเว้าปะสบการณ์การสอนในห้องเรียนให้หมู่ฟัง บัดทีนี้ไฟบ่มา บ่มีใผพรีเซนต์ได้ เบิดทุกคนเตียม powerpoint [สไลด์ภาพเพื่อใช้ช่วยนำเสนอผลงาน] มา ครูกะเลยถามว่าในห้องนี้มีใผเว้าได้โดยบ่ต้องใช้ powerpoint บอ

เด็กน้อยที่เอื้อยเฮ็ดงานนำหนิ ข้าเจ้ากะบอกว่าเว้าได้ พรีเซนต์แล้วเสียงตบมือดังเลย แบบว่า โอ๊ยเฮ็ดดีมากเลย ครูกะบอกว่า โอ๊ “ทำได้ดีเนาะ แต่ว่าพูดไทยไม่ชัด” จบข่าว!

สูน [ฉุน, โมโห] เลยบ่

เด็กน้อยก็มาเว้าให้ฟัง รู้สึกว่า down [ซึม] ไปเป็นอาทิตย์เลยนะ มันก็เป็นสิ่งที่เขาถืกตอกย้ำตลอดเวลาว่า ต่อสิให้เฮ็ดดีปานใด๋ คัน [ถ้า] เว้าไทยบ่ชัด กะสิบ่มีคุณค่าหญังเลย

แต่ว่าเฮากะพยายาม empower [สร้างพลังให้แก่เขา] ว่าให้ข้ามผ่าน กะมีบางคนที่กับไปสื่อสารว่า “อ๊อ โอเค ถ้าเกิดว่ามีปัญหาในสำเนียงที่เว้าว่าบ่ชัดบ่หญังหนิ เนื้อหามันมีปัญหาบ่ ถ้าเนื้อหามีปัญหา โอเค แต่ว่าถ้าเกิดว่าสำเนียงมีปัญหาหนิ แก้บ่ได้ สิ่งที่ต้องแก้ก็คือเจ้าก็ต้องไปเข้าใจข้อยให้ได้แล้วกัน มันคือสำเนียงของข้อย” จั่งซี่หนา

นอกจากอันนึง recognize ว่าบ่ถืกต้อง อันที่สองก็ต้อง reflect [สะท้อน] กับไปจั่งซี่ แต่ว่าในชีวิตก็บ่เคยเจอต่างชาติมาบอกว่าเฮาเว้าบ่ดีนะ เจอแต่คนไทยนำกันเนี่ยะ บ่เคยมีฝลั่งคนไหนมาบอกให้เฮาแก้ ให้ออกสำเนียงแบบนี้ เว้าคำนี้บ่ถืก บ่เคยมีเลย

เป็นหญังจั่งมาเฮ็ดโคงการ “สร้างสรรค์อนาคตเยาวชน” ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา

เฮาฮู้มาตั้งแต่เป็นเด็กน้อยแล้วว่ามีทางเดียว ก็คือต้องเฮียนมหาลัย และต้องเป็นมหาลัยที่ดีนำ แล้วก็ต้องเฮียนเก่งนำ มีทางเดียวสำหลับเด็กน้อยที่เป็นผู้ญิง ถ้า you [คุณ] อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น you ก็ต้องเฮียนหนังสืออะ เพราะว่า you บ่ได้มีหน้าตาที่ขายได้ นึกออกบ่ you บ่ได้มีรูปร่างที่เขาปรารถนา บ่มีทางเลยที่ you สิแบบ ก็เลยมุ่งมั่นกับการเรียนหนังสือ ซัก ม.สอง ก็เตียมเอ็นทรานซ์ ซื้อหนังสือเอ็นทรานซ์เลย แล้วก็มานั่งอ่าน

พอติดมช. [มหาวิทยาลัยเชียงใหม่] แม่กะเว้าคำเดิมที่เคยเว้าเมื่อปีก่อนที่ไปเรียนรามคำแหง เอื้อยน้อง [พี่น้อง] เว้าเบิดซุคนคือกันว่า “บ่ต้องไป” เฮากะไป เก็บกะเป๋าไปผู้เดียวอยู่คือเก่า

เฮากะ recognize ว่ามีเด็กน้อยแบบเฮาหนิหลาย แล้วเฮากะเห็นว่า ภาคเหนือที่มันมีภูเขาหลายๆ เนี่ย มีคนหลายคนอยากเฮียนหนังสือแต่บ่ได้เฮียน เฮาก็เลยคึดว่าถ้าหากคนแบบเฮาได้เฮียนหนังสือ มันสินำไปสู่การเปี่ยนแปงอย่างใหญ่หลวง

ถ้าเฮาผู้เดียวสามารถส่งเด็กน้อยได้สิบคนซาวคน เขาได้เฮียนหนังสือแล้วกะกับไปสิบหมู่บ้านซาวหมู่บ้าน กะน่าสินำความเปี่ยนแปงไปได้

เฮ็ดโคงการอยู่บ่อนใด๋น้อ [ที่ไหนหนอ]

อยู่อำเภอสบเมย [จังหวัดแม่ฮ่องสอน] เป็นอำเภอที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย ยากจนต่อเนื่องและบ่เคยเปี่ยน เฮาคึดว่าปัญหามันก็คือว่าคนเข้าบ่ถึงการศึกษา แล้วเข้าบ่ถึงงานทำ

แล้วถ้าเป็นเด็กน้อยผู้ญิง ถ้าบ่ได้เฮียนหนังสือปุ๊บ กะสิถืกบังคับแต่งงาน  พอแต่งงานปุ๊บมันก็สิเป็นวงจร property [สมบัติส่วนตนของผู้อื่น] ก็คือบ่สามารถออกจากวงจรนั้นได้ แต่ว่าถ้าหากเฮาอยากตัดวงจรนั้น เฮาก็ต้องเฮ็ดให้เด็กน้อยผู้ญิงเฮียนหนังสือ เรียนจบไปแล้วมีงานทำ

กะสิญุติความยากจน ญุติการตั้งท้องบ่พ้อม ญุติปัญหาหลายอย่าง ฉะนั้นเฮาจึงโฟกัสที่เด็กน้อยผู้ญิง ทีนี้เฮากะเสริมศักยภาพด้วยการให้ทุนเป็นเงื่อนไข เพื่อให้เขามาผ่านมาอบรม ให้เข้าใจว่ามีหลายอย่างในชีวิตเขาบ่ถืกต้อง แต่ว่าเขาสิญอมแพ้บ่ได้ ต้องต่อสู้ไปให้ถึงที่สุดเพื่อสร้างการเปี่ยนแปงอย่างน้อยระดับตัวเอง ระดับคอบคัว อาจสิเอื้อให้เกิดการเปี่ยนแปงระดับสังคมได้

แล้วโคงการนี้มันเกี่ยวกับการเหยียดจั่งใด๋

คนที่มีความเป็นชายขอบอะค่ะ ถูกกดขี่หลายรูปแบบ เนาะ อันนึงที่ง่ายที่สุดเลยก็คือการถูกเหยียด การถูกเหยียดก็คือการถูกลดทอนคุณค่า ทั้งในเชิงปัจเจกและในเชิงระบบ

อย่างที่เว้าให้ฟัง คนเป็นคนๆ กะสิถืกหมู่หัวขวน หรือว่าเป็นเชิงระบบกะสิถืกมองว่าเป็นคนบ่ฉลาด เป็นคนขี้ล้าย [อัปลักษณ์] เอง เป็นคนบ่ขยันเอง ก็เลยเฮ็ดให้โง่อยู่จั่งซั่น กะอีหลีแล้ว พอเฮาไปสัมผัสแล้วปากฏว่า พ่อแม่เฮาเฮ็ดงานหนักมากเลย แต่ว่าบ่เคยลืมตาอ้าปากได้เลย เพราะระบบมันบ่เป็นธรรม

แล้วก็มีที่เคยพ้อกับตัวเองนำ ที่ระบบเอ็นทรานซ์เฮงซวย กีดกันบ่ให้เฮาสอบเข้าได้ตามความสามารถของเจ้าของ ทั้งเบิดรวมกันก็เลยเฮ็ดให้เฮามี passion [แรงทะยานอยาก] ว่าสิเฮ็ดจั่งใด๋สิให้เกิดความเปี่ยนแปง

หลังเขียนบทความเรื่องการเหยียดที่มีการวิพากษ์ คำ ผกา มีเสียงตอบรับ มี feedback ต่ออีกบ่

มันแปกที่ว่า บ่ได้ญิน feedback มาหาเจ้าของเลย เอื้อยก็บ่เข้าใจว่าเกิดหญังขึ้น ทั้งๆ ที่ไปคอมเม้นไปหญังก็เป็นชื่อเจ้าของ แต่ว่า คำ ผกา เองกะได้เอาไปโพสแล้วเว้าอยู่ว่า อยากให้มีคนเถียง อยากให้มีคนโต้ตอบแบบนี้

แต่นอกนั้นแล้วก็เห็นแต่แชร์ๆ กันไป คนก็แบบ “ดีจังเลย!” แต่บ่มี feedback โดยเฉพาะจากหมู่พวกเป็นนักกิจกรรมนำกันนะ บทความที่เอื้อยเขียนแทบสิบ่มีหมู่นักกิจกรรมนำกันแชร์ เว้าถึง สนใจ แต่ว่าคนข้างนอกสิเว้าถึงหลายกว่า

แต่ว่าคนกะสิเว้าเถิง [ถึง] ว่า “โอ๊ นี่แหล่ว เสียงจริง คนโตจริง” แต่บ่มีคนวิพากษ์วิจารณ์ เฮาอยู่ในสังคมที่บ่ก้าวิพากษ์วิจารณ์ แต่เฮามักด่า แล้วถ้าเกิดคนนั้นดูมีความรู้หรือว่ามีองค์บางอย่าง เฮากะสิด่าเขาบ่ได้

อาจสิเป็นวิธีการให้เหตุผลของเฮา เฮ็ดให้บ่มีคนค่อยก้ามาโต้เถียง ก็โต้แย้งยากเพราะว่าเฮาเว้าเรื่องปะสบการณ์เนาะ การโต้แย้งอาจสิคือการต้องมาดูถูกปะสบการณ์กันจั่งซั่น

เอื้อยสิบอกว่า นี่เป็นครั้งแรรรกในชีวิตที่พูดภาษาอีสานนะคะในการให้สัมภาษณ์! เจ้าสิเขียนภาษาลาวเบาะ?

แม่น

image_pdfimage_print