โดยมัจฉา พรอินทร์

ตอนที่ 2 — บทเรียนจากในห้องและนอกห้องเรียน

ตลอดระยะ 21 วัน ฉันเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มที่ทั้งในห้องและนอกห้อง ได้สร้างเครือข่ายและได้รณรงค์โดยเฉพาะสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง สิทธิผู้หญิง และสิทธิของคนที่ถูกผลักให้เป็นชายขอบ

และที่สำคัญคือ เรื่องสิทธิความหลากหลายทางเพศ เรียกได้ว่า ธงสีรุ้งอยู่ข้างกายฉันตลอดฉัน ซึ่งฉันและเพื่อนๆ หลายคนพากันรณรงค์และให้ข้อมูลกับเพื่อนๆ คนอื่นๆ ที่อาจซิยังบ่เข้าใจเรื่องสิทธิความหลากหลายทางเพศ

ในการอบรมที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง แต่ผู้เข้าร่วมไม่ได้ถนัดพูดภาษาอังกฤษที่สุด กระบวนกรจึงบอกแต่แรกว่า “ภาษาอังกฤษบ่แมนภาษาแม่ของใผสักคนในห้องนี่ เพราะฉะนั้นเฮามาม่วนกับการเว่าผิดกันให้เติมที่ไปเลย”

การสร้างพื้นที่ปลอดภัย (safe space)

ด้วยความที่ในห้องเรียนย่อยขนาด 15 คน ที่ฉันอยู่ด้วย มีความหลากหลายทั้งเรื่องสีผิว อายุ ประสบการณ์ เพศและรสนิยมทางเพศ มีศาสนาและไม่มีศาสนา ภาษาและเชื้อชาติและภูมิภาค ฯลฯ การที่ซิให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกับ โดยบ่มีช่องว่างและความวิตกกังวล หรือหวาดกลัว กะคือ ต้องเฮ็ดให้ทุกคนมั่นใจ ปลอดภัย เปิดใจและรับฟังทั้งที่เหมือนและแตกต่างกัน

เรื่องใหญ่ที่ทุกคนกังวลใจกะคือเรื่องภาษาเพราะ 100% ในห้องนี่ ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2, 3 หรือ 4 และเนื่องด้วยกระบวนกรเป็นคนมีประสบการณ์และความสามารถที่รอบด้าน บอกแต่ตอนแรกเลยว่า ภาษาอังกฤษบ่แมนภาษาแม่ของใผสักคนในห้องนี่ เพราะฉะนั้นเฮามาม่วนกับการเว่าผิดกันให้เติมที่ไปเลย หลายคนรวมทั้งฉันกะเลยสบายใจจนรู้สึกได้เลยว่า ภาษาบ่แม่นช่องว่างอีกต่อไป

ในมิติทางเพศเนื่องการอบรมนี้ให้ความสำคัญสูงสุด นี่เองเป็นครั้งแรกที่ฉันเห็นวิธีการรับมือ การการคุกคามทางเพศ (sexual harassment) อย่างเป็นระบบ คือ มีคู่มือนิยาม อธิบาย และมีกระบวนการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพคือ เมื่อมีใผถูกคุกคาม สามารถแจ้งไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งเป็นคนภายนอกการอบรมทั้งหมด ซึ่งซิเข้ามาสืบสวน สอบสวนและให้ความคุ้มครอง ปกป้องและเป็นธรรมกับคนที่ถูกคุกคาม เพราะการคุกคามทางเพศบ่ได้ส่งผลเฉพาะคนที่ถูกคุกคามทางเพศเท่านั้น แต่ส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้ของทุกคน

เรื่องใหญ่สำหรับการอยู่ร่วมกันตลอด 3 อาทิตย์คือเฮ็ดจั่งใดให้ทุกคนเคารพซึ่งกันและกัน และบ่รุกล้ำพื้นที่และความเป็นส่วนตัวและมีพื้นที่กลางให้ทุกคนได้เข้าไปใช้ร่วมกันอย่างเติมที่เพื่อสร้างการเรียนรู้ ข้อตกลงร่วมกันที่เฮาวางกันเป็นพื้นฐานกะคือ การเคารพเวลา การฟัง การบ่ตัดสิน การสะท้อนอย่างสร้างสรรค์ การเป็นผู้กระตือรือร้นที่ซิเฮียนฮู้ (active learner) ไม่ใช้เครื่องมือสื่อสาร การใช้โอกาสอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม การเคารพเรื่องราวส่วนตัวและการปิดเป็นความลับ การถ่ายภาพที่ต้องขออนุญาตเจ้าตัวหากมีการโพสต์บนพื้นที่ออนไลน์ ฯลฯ

ทั้งหมดที่เล่ามาในส่วนของการสร้างพื้นที่ปลอดภัยนี่เองที่เฮ็ดให้ฉันและเพื่อนๆ ทั้ง 15 คน รู้สึกว่า ม่วนคักและกะพร้อมที่ซิเฮียนแล้ว

เรียนรู้วิธีการสร้างการ “มีส่วนร่วม” ที่กว้างกว่าที่เคยเฮ็ดมา นั่นก็คือบ่ได้เอาประเด็นของเฮาเป็นตัวตั้งแต่แรก แต่ฟังประเด็นปัญหาของทุกคนก่อน

การมีส่วนร่วม (participatory approach)

หลักสูตรนี้สอนเรื่องการศึกษาสิทธิมนุษยชน (human rights education) โดยใช้ฐานคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน แบบการมีส่วนร่วมและมีฐานคิดในมิติเรื่องความเป็นธรรมทางเพศ พอเว่าเรื่องการมีส่วนร่วม ฉันเองคึดว่ามันกะน่าซิเหมือนกับที่ฉันเข้าใจและปฏิบัติมาโดยตลอด กะคือ พยายามให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมเฮ็ดและกะร่วมสรุป แต่ฉันพบว่ามันก็บ่แม่นเสียทีเดียว

ได้มาเรียนรู้ว่ามันกว้างขวางกว่า “การมีส่วนร่วม” ที่เคยเฮ็ดมา นั่นก็คือเอาปัญหา เอาประเด็นของเฮาเป็นตัวตั้ง แล้วพยายามดึงคนอื่นมาร่วม แต่อีหลีแล้วต้องเอาประสบการณ์ของแต่ละคนเป็นตัวตั้ง แล้วกะซิเห็นความเหมือน ความต่าง

อันนี้เองการมากำหนดประเด็นปัญหาจึงบ่ได้มาก่อน แต่มาหลังจากที่คนได้เว่าประสบการณ์ของเจ้าของก่อน

ตัวอย่างของการใช้การมีส่วนร่วมแบบนี้ ในการอบรมเฮ็ดให้ฉันเห้นว่า เอ้า ข้อยเป็นคนไทย มีปัญหาเรื่องชาติพันธุ์ มีปัญหาเรื่องเพศ มีปัญหาเรื่องการบ่เป็นประชาธิปไตย มีปัญหาเรื่องคอนฟลิกต์ในเขตชายแดนภาคใต้ บัดนี้ขะเจ้ามาจากซูดาน ก็ซิเห็นว่าสงครามในซูดานส่งผลกระทบให้เด็กบ่ได้เรียนหนังสือ หรือพวกหมู่จากเอเชียใต้ เด็กน้อยผู้ญิงจำนวนมากถ้าบ่ได้เรียนหนังสือ และก็ซิถืกจับแต่งงานเลย พวกมาจากจอร์แดน ขะเจ้าก็เว้าให้ฟัง เฮาก็ได้เห็นว่า ถึงแม้นว่าบริบทซิต่างกัน แต่ก็มีการกดขี่ชนเผ่าคือๆ กัน มีปัญหาความขัดแย้ง มีความรุนแรงเรื่องเพศ และความหลากหลายทางเพศ อันนี่เองเฮ็ดให้เฮาเห็น common issues แม้นบริบทซิแตกต่างกัน

มันกะได้เห็นความเป็นสากลของปัญหา แต่ก็มีพื้นที่ให้เห็นความต่าง ตามบริบทของประเทศนั้นๆ เฮ็ดให้เพื่อนๆ และฉันได้เห็นว่าปัญหาของพวกเฮาเป็นส่วนหนึ่งของโลกนี้

เมื่อแชร์กันออกมาแล้ว แล้วจากนั้นค่อยวิเคราะห์ว่าข้อมูล และชุดความรู้ใด ที่จำเป็นที่ซิเติมเต็มบนฐานของประสบการณ์เหล่านั้น แล้วจึงออกแบบวางยุทธศาสตร์ ว่าซิแก้ปัญหาจั่งใด๋ อันสุดท้ายก็คือ Action เฮ็ดมันเลยทีนี้ พอเฮ็ดนำกันแล้วก็เบิ่งนำกันว่ามันแก้ปัญหาได้หรือบ่

เหล่านี่คือตัวอย่างของกระบวนการเรียนรู้ที่นั่น เข้าใจบริบทของเจ้าของ บริบทของผู้อื่น และเป็นบริบทโลก เฮ็ดให้เฮามองไปที่เป้าหมายคือการสร้าง “วัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน” (human rights culture) โดยเริ่มจากการใช้จินตนาการถึงคุณค่าร่วมเพื่อที่ซิอยู่ร่วมกันแบบเท่าเทียม เป็นธรรมและเคารพกัน จากวิธีคิดแบบนี่ จึงนำไปสู่การปฏิบัติ

แลกเปลี่ยนนอกห้องเรียน

ถือว่าฉันโชคดีที่สามารถ come out (เปิดเผยตัว) ว่าเป็นนักเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิความหลากหลายทางเพศในพื้นที่สาธารณะได้ ฉันมีคามปลอดภัยมากพอที่ซิบอกเล่าประเด็น LGBTIQ ในขณะที่เพื่อนๆ LGBTIQ หลายๆ คนที่มาจากแอฟริกาหรือแถบใกล้ๆ รัสเซีย บ่สามารถ come out ได้ เพราะอาจหมายถึงชีวิต ฉันจึงเป็นคนแรก นับเป็นคนที่แอ็คทีฟที่ซิเว่าเรื่องนี้มากที่สุดในบรรดาผู้เข้าร่วมเกือบร้อยคน

เมื่อแรกที่ไปถึงแคนาดา ที่แรกที่ไปกะคือ Gay Village ซึ่งเป็นย่านธุรกิจของคนหลากหลายทางเพศ จัดเป็นถนนคนเดินที่บ่ให้รถผ่านและผูกธงสีรุ้งตลอดสาย ที่นี่เองฉันกะได้ไปซื้อธงสีรุ้งที่มีสัญลักษณ์เลสเบียนและถ่ายรูปที่นั่น ถ่ายปุ๊บกะเลยเปลี่ยน profile แล้วกะติดแฮชแท็ก #IHRTP #PIFDH และ #EQUITAS50 เพราะว่าอยากให้คนฮู้ว่านี่เฮาเป็นส่วนหนึ่งที่มาอบรมและเฮาเป็นเลสเบี้ยน ในขณะเดียวกันกะมีการประกวดภาพถ่ายในการอบรมนำ ซึ่งปรากฏว่ารูปนี้ได้อันอับหนึ่งในอาทิตย์แรกของการประกวด และหลังจากนั้นมัจฉากะบ่เคยวางธงสีรุ้งอีกเลย

ฉันมีประเด็นสำคัญที่อยากเล่าสู่ฟังในเรื่องความหลากหลายทางเพศ ว่าด้วยเรื่องรูมเมทของฉันซึ่งเป็นหญิงรักหญิงมาจากประเทศหนึ่งในแถบแอฟริกา ซึ่งการเป็นคนที่ความหลากหลายทางเพศถือว่าผิดกฎหมาย

เธอได้ถูกติดตามและคุกคามอย่างหนักในประเทศของเธอก่อนที่ซิได้มาอบรมที่แคนาดา เพราะเธอถูกขโมยและถูกขายข้อมูลความเป็นส่วนตัวเรื่องรสนิยมทางเพศให้กับสื่อต่างๆ จนเป็นข่าวดังทั่วประเทศ ครอบครัวของเธอถูกรังควาน ในพื้นที่ออนไลน์หาก search ชื่อเธอก็ซิพบว่ามีคอมเม้นจำนวนมากที่แสดงความความเกลียดชังและข่มขู่คุกคามสารพัด

ซึ่งเป็นเหตุให้เธอไม่มีความปลอดภัยเพียงพอที่จะกลับไปใช้ชีวิตในบ้านของตัวเอง ปัจจุบันเธอกำลังดำเนินการขอสถานะผู้หลี้ภัย (ลี้ภัย) ในแคนาดา

ถึงแม้แคนาดาจะเป็นประเทศที่เปิดกว้างเรื่องผู้หลี้ภัย แต่การที่คนคนหนึ่งต้องหนีออกจากบ้าน เพราะถูกข่มขู่ คุกคามด้วยเหตุแห่งอัตลักษณ์ทางเพศ (gender identity) รสนิยมทางเพศ (sexual orientation) และการแสดงออกทางเพศ (sex expression) สำหรับฉันมันเป็นสิ่งที่เจ็บปวดจนอธิบายบ่ถืก เพราะฉันเองกะเคยผ่านประสบการณ์แบบนั้น เพียงแต่ว่าฉันบ่ถึงขนาดต้องขอหลี้ภัย ฉันยังสามารถกลับบ้านไปหาลูก หาเมียได้

ฉันเคยทำให้หวาดกลัว ถูกข่มขู่ คุกคาม ทำลายความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้วยเหตุเพราะฉันเป็นหญิงรักหญิง และฉันบ่ได้รับการปกป้องในทางกฎหมาย คือ เมื่อเดือนเมษายน 2559 ฉันถูกลักลอบเผารอบๆ บ้านกลางดึก 5 เทื่อ ในระยะเวลา 10 วัน ซึ่งฉันบ่ได้มีความขัดแย้งใดๆ หรือฮู้จักกับเขาเป็นการส่วนตัวด้วยซ้ำ ฉันจึงตระหนักดีว่ายังมีคนบางคนที่มีความเกลียดกลัวการรักเพศเดียวกัน (homophobia) และโดยที่บ่ได้ฮู้จักกัน เขาสามารถเฮ็ดหยังกับชีวิตและความปลอดภัยของเฮาได้

ฉันจึงพยายามพูดสะท้อนสถานการณ์ที่ LGBTIQ เผชิญอยู่ เพราะเพื่อนๆ ที่มีความหลากหลายทางเพศในหลายประเทศบ่ได้มีความปลอดภัยที่ซิเคลื่อนไหว และนี่เองเป็นเรื่องสิทธิมนุษชน คือกัน และเพื่อนๆ 90 กว่าคนของฉัน น่าซิตระหนักว่า เขาทุกคนสามารถทำงานเรื่องนี่ได้ไปพร้อมๆกับประเด็นสิทธิมิติอื่นๆ

และฉันกะมีเรื่องประทับใจอยากเล่าสู่ฟัง ว่าฉันสามารถเฮ็ดให้เพื่อนอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นภาครัฐจากเคนย่า (คนที่มาอบรมไม่ได้มีแต่ NGOs เท่านั้น แต่มีหลากหลาย) มีความเข้าใจและเปลี่ยนแปลงวิธีคิดต่อ LGBTIQ จนสามารถทำงานอย่างเป็นรูปธรรมต่อ LGBTIQ ได้ ฉันใช้การพูดคุยทั้งหมด 3 ครั้ง

ครั้งแรกฉันถามถึงสถานการณ์และมุมมองที่เขาและของสังคมในประทศนั้นที่มีต่อ LGBTIQ เขากะเล่าให้ฟังถึงสถานการณ์ความรุนแรงรูปแบบต่างๆที่ LGBTIQ ในเคนย่าเผชิญอยู่ รวมถึงการเป็น LGBTIQ ถือว่าผิดกฎหมาย และฉันกะเริ่มให้ข้อมูลอีกด้านที่เขาบ่เคยได้ยิน ฉันใช้ storytelling  โดยบอกเล่าผ่านชีวิตและการทำงานของฉันเอง บทสนทนามื้อนั้น ดูเหมือนว่าเพื่อนของฉันซิเริ่มเข้าใจ ฉันทิ้งใจความสำคัญไว้ว่า

“คุณซิยอมรับได้บ่ ถ้าวันนึง คุณลืมตาขึ้นมาแล้วการมีผิวสีดำ เป็นเรื่องผิดกฎหมาย, ให้จินตนาการต่อว่า พ่อ – แม่และครอบครัวบ่เคยยอมรับคุณแต่พยายามจะเปลี่ยนแปลง และผลักไสคุณตลอดเวลา ไปโรงเรียนแม่แต่ซิเข้าห้องน้ำกะบ่ได้ ถูกเพื่อนๆ กลั่นแกล้ง รังแก ละเมิดและคุกคามทางเพศ ไปสมัครงานที่ไหนกะบ่มีคนรับให้เข้าทำงาน มีความรักสังคมกะบ่ยอมรับ แต่งงานกันกะบ่ได้ มีลูกกฎหมายกะบ่คุ้มครอง ถ้าเป็นคุณ คุณซิฮู้สึกจั่งใด และนั่นแหละที่ฉันและเพื่อนๆ LGBTIQ  ของฉันฮู้สึกและกำลังเผชิญอยู่”

ครั้งที่ 2 ฉันให้เพื่อนลงลึกไปถึงในรายละเอียดว่างานที่เพื่อนเฮ็ดอยู่นั่น คือ เรื่องหยัง เพื่อนเล่าให้ฟังว่า เขาทำงานพัฒนาระบบเรือนจำ เพื่อนมีความพยายามยามที่จะใช้วิธีคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนที่ได้เรียนมา เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบเรือนจำให้เคารพสิทธิผู้ต้องขัง

แต่ในขณะเดียวกันเพื่อนกะทิ้งท้ายไว้ว่า แม้ซิมีความเข้าใจเรื่องสิทธิ และมีความต้องการที่ซิสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ต้องขัง แต่กะมองบ่เห็นทางว่า จะทำงานประเด็น LGBTIQ ได้ จึงเป็นที่มาของการพูดคุยครั้งที่ 3

ครั้งที่ 3 ฉันพยายามให้เพื่อนเข้าใจว่า ในเรือนจำกะมีผู้ต้องขังที่เป็น LGBTIQ อยู่ และได้ยกสภาพปัญหาที่เขาเผชิญในขณะที่อยู่ในเรืองจำ เช่น การที่เกย์ กะเทย หรือผู้หญิงข้ามเพศ ถูกข่มขืนในเรือนจำ การที่ LGBTIQ มีปัญหาทางด้านสุขภาพ เช่น การบ่สามารถรับฮอร์โมนต่อเนื่อง หรือหากรับยาต้าน HIV อยู่ ในระบบเรือนจำกะบ่เอื้อหรือบ่ตระหนักว่ามีความจำเป็นที่ต้องได้รับยาต้านฯ ต่อเนื่องและต้องมีความเป็นส่วนตัว (right to privacy) ที่จะเปิดเผยผลเลือด หรือไม่ ฯลฯ

ตรงนี้เองที่เพื่อนฉันเริ่มเข้าใจแล้วว่า จากงานที่เขาทำ ซึ่งเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้น จะสามารถครอบคลุมสิทธิคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ได้จั่งใดแหน่

ฉันตบท้ายด้าน Good Practice ที่ในไทยเองกะได้เฮ็ดไว้ ที่เรือนจำพัทยา คือ เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ ได้ร่วมลงพื้นที่เรือนจำพร้อมกับกรมคุ้มครองสิทธิ เพื่อสำรวจสภาพปัญหาตลอดจนพยายามที่แก้ไขการละเมิดสิทธิผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ เพียงการคุยกัน 3 ครั้งนี้ กะสามารถให้เพื่อนของฉันเกิดการยอมรับ เข้าใจ และมีความอยากและพร้อมที่ซิกลับไปทำงานได้แล้ว

ยังบ่จบท่อนั้น หลังการอบรม IHRTP ปรากฏว่าเพื่อนชาวเคนย่าผู้นี่กะได้สมัครมาอบรมเรื่องว่าด้วยเรื่องการพัฒนาสิทธิของผู้ต้องขังโดยใช้ Nelson Mandela Rules ซึ่งจัดในประเทศไทย โดย (International Commission of Jurists – ICJ) เพื่อนตั้งใจไว้ว่า จะได้กลับไปพัฒนาระบบเรือนจำให้มีความเป็นธรรมต่อผู้ต้องขังจริงซึ่งรวมถึงผู้ต้องขัง LGBTIQ นำ

image_pdfimage_print