บทความและรูปภาพโดย อติเทพ จันทร์เทศ

เรียกฉันว่า
“น้องกาหลงอารมณ์ดี”

เบื้องหลังชีวิตริมทางรถไฟจังหวัดขอนแก่นของผู้ถูกย้ายบ้านหลังสุดท้าย

เบื้องหลังชีวิตริมทางรถไฟจังหวัดขอนแก่นของผู้ถูกย้ายบ้านหลังสุดท้าย เพื่อรองรับความเจริญของโครงการรถไฟทางคู่


“น้องกาหลงอารมณ์ดี” หญิงร่างผอมผมสีทองท่าทางอารมณ์ดี วัย 64 ปี เธอพำนักอยู่ที่ชุมชนเทพารักษ์ 3 ในจังหวัดขอนแก่น มาตั้งแต่ พ.ศ. 2550 หรือเมื่อ 11 ปีก่อน

ผมทวนถามชื่ออีกครั้งเพื่อความแน่ใจ “เรียกฉันว่า สาวหล่วง” เธอหัวเราะ ซึ่งคำว่า “หล่วง” ในภาษาอีสานหมายถึง การเดินทางไปเรื่อยๆ ไปจนสุด แต่ผมก็ยังไม่ปักใจเชื่อว่านั่นเป็นชื่อของเธอ จนกระทั่งเพื่อนบ้านที่อาศัยอยู่ติดกัน เดินมาและเรียกเธอว่า “ยายต้อย”

อันที่จริงแล้ว เธอมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “นางศิลธรรม น้อยบุตรดี” เพื่อนบ้านต่างเรียกเธอว่า “ต้อย” เธอเป็นคนอารมณ์ดี โอบอ้อมอารีย์ แถมมีบุคลิกภาพท่าทางตลก ด้วยสีผมประกายทองดูโดดเด่น บวกกับฟันทั้งสามสิบสองซีกที่หลุดร่วงเกือบหมดปากทำให้การพูดการจาไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่นักกลายเป็นเอกลักษณ์ของเธอ

Slide 1
“หล่วง” ในภาษาอีสานหมายถึง การเดินทางไปเรื่อยๆ

เธอเป็นคนอัธยาศัยดีและมีเมตตาต่อเพื่อนบ้าน เวลาทำกับข้าวอร่อยๆ ก็มักจะนำไปแจกเพื่อนบ้านให้ได้ทาน จนหลายคนไปไหนมาไหนก็เรียกหาแต่เธอ สมกับฉายานาม “น้องกาหลงอารมณ์ดี” อย่างที่หลายคนในชุมชนเทพารักษ์ 3 นิยามชื่อเรียกเธอ

SLIDE 3
Ship
ตั้งแต่ปี 2559 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบริเวณริมรางรถไฟในระยะ 20 เมตรแรก บ้านทุกหลังในชุมชนเทพารักษ์ถูกย้ายออกจากริมทางรถไฟเดิม

เมื่อปี 2515 ต้อยแต่งงานมีครอบครัว และมีลูกสามคน คนโตเป็นผู้ชายมีครอบครัว ไม่ได้มาเยี่ยมเยือนหลายปีแล้ว คนกลางและคนสุดท้องเป็นผู้หญิงมีครอบครัวแล้วเช่นกัน โดยลูกทุกคนมีหลานให้เธอแล้ว

เธอเล่าว่า ตอนนั้นครอบครัวของเธอปักหลักอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี ชีวิตสุขสบายดี มีทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นครอบครัว หรือหน้าที่การงาน ซึ่งก่อนที่จะมีเงินเก็บเธอได้ไปทำงานที่ร้านสุกียากี้ชื่อดังแห่งหนึ่งย่านถนนกำแพงเพชร 2 ในกรุงเทพฯ

Slide 1
“ฉันมีสามีที่หล่อที่สุดในจังหวัดอุดร”

จากนั้น เธอเล่าความประทับใจระหว่างเธอกับสามีผู้เป็นที่รักให้ผมฟังอยู่ราวๆ สามรอบ ว่า

“ฉันมีสามีที่หล่อที่สุดในจังหวัดอุดร” เธอลุกขึ้นเดินไปยังที่เก็บของ พร้อมกับพูดถึงเรื่องเธอกับสามีครั้นยังมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

“สามียังมีชีวิตอยู่หรือเปล่าครับ” ผมถามเธอ

“ตอนนี้ท่านบวชเป็นพระอยู่ต่างจังหวัด ยังไม่ลาสิกขาเลย” เธอตอบเรื่องของสามี

null

เมื่อมีฝนตก มวลน้ำจะไหลผ่านทางเท้าหน้าบ้านของชาวบ้านริมทางรถไฟ ทำให้ทางทางเท้าแห่งนี้ทำหน้าที่แทบไม่ต่างจากคลองระบายน้ำ

null - copy
null

สภาพบ้านของยายต้อยในปัจจุบันหลังถูกย้ายมาปลูกข้างทางน้ำเสียที่ไหลมาจากในเมือง

null

หลายคนมีความฝันว่าช่วงชีวิตนี้อยากจะมีบ้านริมน้ำบรรยากาศดีๆ แต่ต้อยไม่มีความฝันอย่างที่ว่า โดยเธออาศัยอยู่ติดกับทางน้ำเสียที่มีคราบตะไคร่น้ำสีเขียวส่งกลิ่นเหม็นเป็นระลอกเข้าไปยังบ้านของเธอ

null

ยายต้อยเล่าให้ผมฟังว่า ตอนมาอยู่ที่สลัมริมทางรถไฟจังหวัดขอนแก่นช่วงแรก เธอนอนแถบไม่หลับ เพราะเวลาที่รถไฟวิ่งไปมามันสั่นสะเทือนไปหมด คลับคล้ายว่าโลกหมุนเป็นวงกลม

previous arrow
next arrow

หลังจากย้ายมาอาศัยอยู่ที่ขอนแก่น เธอมีสิ่งยึดเหนียวทางใจ คือ พระผู้เป็นเจ้า เพราะท่านคือผู้นำทางจิตวิญญาณทางศาสนาของเธอ เธอสมัครใจเข้าร่วมกับคริสตจักรเมื่อสิบปีก่อน เธอบอกผมว่า ทุกวันนี้เธอมีความสุข เข้าโบสถ์ สวดมนต์ และร้องเพลง

“ฉันเป็นลูกของพระเจ้า ท่านสอนให้ฉันอดทน อดกลั้น ให้หนีห่างความโกรธ เวลาเราโกรธใครให้เดินหนีออกไปจากบ้านเขาสิบเมตร แต่ฉันเดินไปหน้าบ้านเขาเลย” เธอกล่าวพร้อมเสียงหัวเราะ

Slide 1
“ฉันเป็นลูกของพระเจ้า ท่านสอนให้ฉันอดทน”

หลังจากพูดจบ เธอถือสมุดโฟโต้ (สมุดภาพ) ทำมือ เล่มขนาดกระดาษเอสี่ (A4) ที่รวบรวมภาพความทรงจำที่ผ่านมาในช่วงชีวิตของเธอ พลางเดินเข้ามาหน้ากล้องของผม เธอเล่าที่มาที่ไปในช่วงชีวิตของเธอผ่านภาพถ่ายที่ถูกปะติปะต่อเรียงร้อยเรื่องราวทุกช่วงวัย สมุดโฟโต้มีทั้งหมดสี่เล่ม ทุกภาพถูกเรียบเรียงไว้เป็นอย่างดี มีภาพแม่ ครอบครัว ลูกๆ รวมถึงภาพความทรงจำของเธอกับเพื่อนๆ ในวัยสาวสุดเฟี้ยว ตลอดจนภาพชีวิตทางศาสนาของเธอ

ปัจจุบันต้อยอาศัยอยู่ที่บ้านหลังเล็กๆ ที่รายล้อมไปด้วยสังกะสีเก่าสีส้มอมสนิม พร้อมกับสุนัขอีกสองตัวนามว่า “เจ้า กะปู” และ “เจ้า ฮวก” ทั้งสองเป็นสุนัขที่แสนฉลาดและสุดเชื่อง

null

รูปที่เธอกำลังชี้อยู่ นั่นคือรูปสามีของเธอ คนที่เธอชมว่าหล่อที่สุดในจังหวัดอุดรธานี อันที่จริงแล้วสามีของเธอก็ดูดีสมกับที่เธอว่า เขาเป็นชายร่างสูงใหญ่สมส่วน ยืนถอดเสื้อ มือถือถ้วยสีขาว

null

เธอหยิบสมุดโฟโต้ทำมือเล่มขนาดเอสี่ที่รวมภาพความทรงจำในช่วงชีวิตของเธอมาให้ดู

null

ภาพถ่ายในอดีตของเธอกับสามีที่จังหวัดอุดรธานี

null

เจ้ากะปูกำลังนวดให้ต้อย หลังจากเธอกลับมาจากคริสตจักรในเมืองขอนแก่น

previous arrow
next arrow

เธออนุญาตให้ผมเข้าเยี่ยมชมบ้านที่อาศัยอยู่ พร้อมกับสัมภาษณ์และถ่ายทำวีดีโอภายในบ้านของเธอ บันไดทางขึ้นบ้านสร้างจากไม้ยูคาลิปตัสแห้ง พื้นบ้านปูด้วยไม้แผ่นบางๆ เว้นระยะช่องลมพอถุยน้ำลาย หรือทำกิจภารกิจส่วนตัวลงไปได้ยามน้ำหลาก ข้างผนังติดกับทางขึ้นบ้านมีรูปภาพลูกทั้งสามใส่กรอบไม้สีน้ำตาลอ่อนไว้คอยย้ำเตือนถึงลูก ถัดจากนั้นมีตุ๊กตาหมีขี้เซาตาละอ่อนหูสีดำตัวพอกอดอุ่นยามหน้าหนาวแขวนอยู่อย่างโดดเดียวไม่ต่างจากเจ้าของของมัน

จากข้อตกลงเกี่ยวกับการดำเนินการก่อสร้างรางรถไฟระบบทางคู่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ผู้รับผิดชอบหลักได้ขอคืนพื้นที่บริเวณริมรางรถไฟ แต่เดิมการรถไฟฯ ขอพื้นที่ทั้งหมด 40 เมตร โดยวัดจากกึ่งกลางราง แต่ในทางปฏิบัติการรถไฟฯ ขอพื้นที่เพียงแค่ 20 เมตร โดยสิ่งปลูกสร้างในรัศมี 20 เมตรจากกึ่งกลางรางจะต้องถูกรื้อถอน ส่งผลให้บ้านของเธอต้องถูกรื้อถอนเพื่อขยับออกห่างจากระยะ 20 เมตร

Slide 1
“เพราะอะไรเราต้องเป็นผู้เสียสละให้กับการพัฒนาประเทศมาโดยตลอด”

เธอเล่าอีกว่า คนงานได้ใช้รถแบคโฮขยับบ้านของเธอออกมาให้ห่างจากรางรถไฟตามระยะที่กำหนดตามประกาศของการรถไฟฯ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการก่อสร้างทางรถไฟเส้นใหม่ โดยบ้านของเธอถูกย้ายเพื่อมาปลูกไว้ใกล้กับท่ออุจจาระของเพื่อนบ้าน และติดกับทางระบายน้ำเสียที่ไหลมาจากในเมือง

IMG_0760
null
null
previous arrow
next arrow

เธอเล่าว่า “ตอนฉันมาอยู่ที่นี่แรกๆ  บ้านฉันของฉันมีเพียงสังกะสีไม่กี่แผ่นและอาศัยเขานอน จากนั้นก็มีคนใจบุญ บริจาคเสาบ้านและสังกะสีให้ ก็ต่อเติมมาเรื่อยๆ จนมีอย่างที่เห็น”

ข้อมูลจากเทศบาลนครขอนแก่นระบุว่า มีผู้บุกรุกที่ดินของการรถไฟฯ แล้วไปอาศัยอยู่บริเวณริมทางรถไฟได้รับผลกระทบจำนวน 179 ครอบครัว โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชุมชนเทพารักษ์ 1 – 5 ในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่น

คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพแรงงานนอกระบบ เช่น แรงงานก่อสร้าง หาบเร่ขายอาหาร แรงงานรายวัน แรงงานรับจ้างเฝ้าหน้าห้องน้ำ เก็บขยะ กวาดถนนและขายพวงมาลัย ซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอน โดยร้อยละ 90 คือผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ดินของการรถไฟฯ

งานภาพเรียงความชุดนี้พยายามทำความเข้าใจเบื้องหลังเสี้ยวชีวิตของต้อย หญิงวัยกลางคนที่พำนักอาศัยอยู่ในชุมชนเทพารักษ์ 3 ชุมชนริมทางรถไฟจังหวัดขอนแก่น ผมถามเธอว่า “เพราะอะไรเราต้องเป็นผู้เสียสละให้กับการพัฒนาประเทศมาโดยตลอด  ‘วาทกรรมผู้เสียสละ’ เคยได้ยินไหม”  เธอหัวเราะและส่ายหน้า

บันทึกภาพยายต้อยส่วนหนึ่งถูกจัดแสดงที่งานขอนแก่น แมนิเฟสโต้ 2018 ในหัวข้อ “ขอนแก่นทรานซิสเตอร์” ที่ตึกจีเอฟ ริมถนนมิตรภาพ (ขาออกไปอุดรธานี) จ.ขอนแก่น วันที่ 6 – 23 ตุลาคมนี้

image_pdfimage_print