แถลงการณ์ซึ่งลงนามโดยองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านสิทธิสตรี สิ่งแวดล้อม และสิทธิในที่ดิน เรียกร้องรัฐบาลไทยให้ยกเลิกแผนแม่บทป่าไม้ตามคำสั่งคสช.ที่ 64/2557 และคำสั่งคสช.อื่นๆ เนื่องจากเป็นการละเมิดสิทธิประชาชน
“รัฐบาลไทยต้องเคารพนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและที่ดิน 14 คนจากบ้านซับหวาย และคุ้มครองสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินของชุมชน เนื่องจากชุมชนเหล่านี้อาศัยอยู่และทำกินในที่ดิน นานก่อนหน้าที่จะมีแผนและนโยบายเพื่อฟื้นฟูผืนป่าใดๆ” ปรานม สมวงศ์ โพรเทคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว
ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน พ.ศ. 2562 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำเลย 9 คนจาก 14 คนจากบ้านซับหวาย แม้ว่าสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะทำงานอยู่ระหว่างตรวจสอบสิทธิและการใช้ประโยชน์ในที่ดินของชุมชน มีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและที่ดินอีกห้าคน มีกำหนดฟังคำพิพากษาในวันที่ 2 และ 3 กรกฎาคม
บ้านซับหวายเป็นหนึ่งในหลายพันหมู่บ้านทั่วประเทศไทย ซึ่งได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาลไทย ที่ถูกกำหนดขึ้นโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อปี 2557 ตามคำสั่งคสช.ที่ 64/2557 และ 66/2557 มีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่าทั่วประเทศจาก 31% เป็น 40% โดยการยึดคืนที่ดินที่ถูกที่ใช้ประโยชน์
อย่างไรก็ดีจนถึงปี 2558 คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนพบว่า มีการดำเนินคดีเพียง 2% ต่อนายทุนและบริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ โดยการดำเนินคดีเพื่อไล่รื้อส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับเกษตรกรรายย่อย “พันธกิจด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลไม่ควรเกิดขึ้นแบบที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของเกษตรกรหญิง หากแต่รัฐบาลไทมึ่งยุติการใช้พลังงานสกปรก และโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ไม่เป็นคุณต่อประชาชน” กวิตา นายทู จาก APWLD กล่าว
ในเวลาเดียวกัน จากข้อมูลขององค์กร Land Watch Thai ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลทหารได้จัดสรรพื้นที่ป่าสงวน 6,243 ไร่ ให้กับบริษัทขนาดใหญ่ รวมทั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เพื่อจัดทำโครงการเหมืองแร่ถ่านหิน และเพื่อทำเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดตาก “เป็นเรื่องที่ขัดแย้งกัน ในเมื่อเกษตรกรหญิงต้องถูกลงโทษอาญาและต้องจ่ายค่าปรับมหาศาลเพื่อเป็น “ค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อม” อันเป็นผลมาจากการทำเกษตรรายย่อย แต่บริษัทเหมืองแร่ขนาดใหญ่กลับสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าของรัฐบาลได้อย่างเสรี ก่อให้เกิดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายยิ่งขึ้น” สุลักษณ์ หลำอุบล จาก APWLD กล่าว