เรียบเรียงจากแถลงข่าวของ มูลนิธิมานุษยะ
เมื่อวันที่ 2 – 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 มูลนิธิมานุษยะได้ติดตามการดำเนินคดีคดีของชาวบ้านหมู่บ้านซับหวายทั้ง 14 คน ในข้อหาบุกรุกพื้นที่อุทยานฯ และบุกรุกป่าและพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรทอง จังหวัดชัยภูมิ ที่ศาลจังหวัดชัยภูมิ โดยร่วมฟังคำพิพากษาตัดสินในชั้นอุทธรณ์

วันดังกล่าวศาลมีคำพิพากษา ใน 5 คดีสุดท้าย โดยตัดสิน ให้นายพุธ สุขบงกช จำคุกเป็นเวลา 6 เดือนและ 20 วัน ทั้งชดใช้ค่าเสียหาย เป็นจำนวนเงิน 370,000 บาท นายสมพิตร แท่นนอก จำคุกเป็นเวลาทั้งสิ้น 20 เดือน 20 วัน และชดใช้ค่าเสียหาย เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท นางสาวนริสรา ม่วงกลาง จำคุกเป็นเวลา 9 เดือนและ 10 วัน และเพิ่มค่าชดใช้ค่าเสียหาย จาก 130,000 บาท เป็น 607,161 บาท นางสาวสุวลี โพธิ์งาม จำคุกเป็นเวลา 5 เดือน 10 วัน ชดใช้ค่าเสียหาย เป็นจำนวนเงิน 160,000 บาท และ นายสุวิทย์ รัตนะไชยศรี จำคุกเป็นเวลา 17 เดือน และค่าเสียหาย เพิ่มจาก 40,000 บาท เป็น 110,762 บาท อีกทั้งศาลยังให้พวกเขาให้ออกจากที่ดินดังกล่าวพวกเขาอยู่อาศัย ซึ่งพวกเขาทำกินและอาศัยมากว่าชั่วอายุคน ก่อนที่รัฐจะกำหนดพื้นที่นั้นเป็นอุทยานแห่งชาติ
กรณีมูลนิธิมานุษยะเห็นว่า ชาวบ้านทั้ง 14 คน เป็น หญิง 9 คน และชาย 5 คนได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมในฐานะอาชญากรเนื่องจากถูกตั้งข้อหาโดยเจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติไทรทองที่ใช้นโยบายทวงคืนผืนป่าปี 2557 ที่ออกโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้รัฐบาลทหาร รวมถึงแผนแม่บทป่าไม้คำสั่ง คสช.ที่ 64/2557 และคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 ซึ่งคำสั่งดังกล่าวยู่ภายใต้นโยบายทวงคืนผืนป่า เป้าหมายของนโยบายนี้ต้องการเพิ่มพื้นที่ป่าทั่วประเทศ โดยเจ้าหน้าที่จะดำเนินการจับกุมผู้บุกรุก หรือผู้ที่ครอบครอง หรือทำให้สภาพป่าเสียหาย
มูลนิธิมานุษยะเห็นว่า จริงๆ แล้วนโยบายเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้ของรัฐบาลนั้นมีไว้เพื่อหยุดยั้งนักลงทุนภายใต้ระบบทุนนิยมในการทำลายป่าไม้ แต่ทำไมคำสั่งเหล่านั้นกลับกลายเป็นการทำร้ายชุมชนที่ยากจนแทน
คำสั่งเหล่านี้ส่งผลกระทบที่เห็นได้ชัด เพราะคำตัดสินของศาลกระทบกับชาวบ้านทั้ง 14 คน อย่างไม่เป็นสัดส่วน โดยโทษจำคุกมีระยะเวลาสูงสุดถึง 4 ปี และชำระค่าเสียหายเป็นเงินสูงสุดกว่า 1.5 ล้านบาท ตามโทษที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ทำให้มีชาวบ้าน 13 คนที่ถูกตัดสินให้จำคุกอยู่ในขณะนี้และอีก 1 คนถูกควบคุมความประพฤติ
ชาวบ้านทั้ง 14 คนกำลังสูญเสียอิสรภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่อยู่อาศัยและความมั่นคงด้านอาหารทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อชีวิตและครอบครัวของพวกเขาและเด็กๆถูกทิ้งอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถเลี้ยงดูและหาชีพได้
“ตอนนี้เหลือแค่ฉันคนเดียวที่ต้องดูแลลูกๆ ทั้งหมดของน้องสาวและพ่อที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง” สุรินทร ม่วงกลาง ลูกและน้องสาวของ ทองปั่น ม่วงกลาง และนิตยา ม่วงกลาง สุภาพร ศรีสุข และนริสรา ม่วงกลาง จำเลยในคดีนี้และทั้งหมดถูกตัดสินให้จำคุก
“ฉันไม่รู้ว่าความยุติธรรมหมายถึงอะไรอีกต่อไปเมื่อคนจนเท่านั้นที่ถูกขังอยู่ในคุก”
การจัดทำนโยบายการทวงคืนผืนป่าบนพื้นฐานของการเพิ่มการครอบคลุมของพื้นที่ป่าเพื่อลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลมีเป้าหมายกับชุมชนเกษตรกรรมในท้องถิ่นแต่ไม่ใช่มุ่งเป้าหมายกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และนักลงทุน
อภิรักษ์ นันทเสรี นักวิจัยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) กล่าวว่า กรณีอุทยานแห่งชาติไทรทองแสดงภาพผลกระทบจากคำสั่ง คสช. 64/2557 และ คำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 ที่ชัดเจนที่สุด
“คำสั่งนี้ถูกใช้เพื่อส่งผู้คนเข้าคุกโดยอ้างว่าเป็นนโยบายของรัฐบาล” อภิรักษ์กล่าว
เขากล่าวเสริมว่า ต้องการช่วยสื่อสารในประเด็นที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากกฎหมายให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและหวังว่าประชาชนทั่วไปจะสนใจ
นอกเหนือจากผลกระทบที่เป็นอันตรายในการประยุกต์ใช้นโยบายทวงคืนผืนป่าในชุมชนชนบททั่วประเทศไทย
ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ประจำสาขาการพัฒนาชุมชน ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม กล่าวว่า การจัดการป่าของประเทศไทยในอดีตยึดหลักอรรถประโยชน์นิยม โดยการนำไปให้ภาคเอกชนผ่านข้อตกลงสัมปทาน แต่เมื่อรัฐบาลไทยรับแนวคิดการอนุรักษ์ป่ามาใช้ มันถูกใช้โดยการแยกผู้คนออกจากธรรมชาติ
“นโยบายการอนุรักษ์เช่นนี้จะไม่ประสบความสำเร็จ ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามกลับสิ่งที่พวกเขาได้รับจากนโยบายการอนุรักษ์ป่าไม้ซึ่งนำไปสู่การที่คนจนเท่านั้นที่จะถูกจับกุมและคุมขัง” ไชยณรงค์กล่าว
สมนึก ตุ้มสุภาพ ทนายความจำเลยกล่าวว่า กำลังดำเนินการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในชั้นศาลฎีกา แต่ต้องขอศาลฎีกาตีความคำสั่ง คสช.ไปในทางที่เป็นคุณต่อชาวบ้าน
อรนุช ผลภิญโญ กรรมการบริหารเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (ILRN) กล่าวว่า ชาวบ้าน 14 รายและครอบครัวได้มีการต่อสู้ผ่านกระบวนการพิจารณาคดี นอกเหนือจากความพยายามหลายครั้งที่จะแก้ปัญหากรณีโดยทำงานร่วมกับรัฐบาลเพื่อหาทางออกร่วมกัน
“ความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะทำงานร่วมกับหน่วยงานของจังหวัดที่จะไปถึงวิธีการแก้ปัญหาโดยการจัดสรรที่ดินที่ยั่งยืนและแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ผลจากการเจรจาครั้งนี้รองผู้ว่าราชการ ที่เป็นประธานคณะทำงานในการแก้ไขปัญหากล่าวเพียงว่า จะจัดทำหนังสือเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ จนถึงตอนนี้ยังไม่เห็นการกระทำใดๆ ที่เป็นรูปธรรมใน แม้แต่การสนับสนุนเบื้องต้นสำหรับการช่วยเยียวยาสมาชิกในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ” อรนุชกล่าว
เอมิลี่ ประดิจิต ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการมูลนิธิมานุษยะ กล่าวว่า ชุมชนปกป้องป่าเสมอ ชาวบ้านไม่ได้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม แต่พวกเขาอาศัยอยู่กับธรรมชาติด้วยความสงบสุขกลมกลืน
เอมิลี่กล่าวอีกว่า นี่เป็นกรณีครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐกำลังเผชิญกับความท้าทายที่ไม่เป็นธรรม หากนักปกป้องสิทธิที่ดินทั้ง 14 คน แห่งหมู่บ้านซับหวายชนะคดีในชั้นศาลฎีกา กรณีจะเป็นตัวอย่างการต่อสู้ชุมชนหลายพันในประเทศไทยที่กำลังเผชิญกับปัญหาดังกล่าวจะนำไปแบบปฏิบัติในแบบเดียวกัน
ด้วยการร่วมมือของพันธมิตรขององค์กรสิทธิมนุษยชนและนักวิชาการที่สนับสนุนชาวบ้านหมู่บ้านซับหวายทั้ง 14 คน พวกเราจะหา วิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้มั่นใจว่าสิทธิพื้นฐานของชุมชนที่ได้รับผลกระทบรวมทั้งสิทธิของพวกเขาในการดำรงชีวิต สิทธิการประกอบอาชีพ สิทธิในการอยู่อาศัยอาหารและสิทธิการใช้พื้นที่อีกทั้ง มีชาวบ้านหลายรายที่ได้รับผลกระทบเพราะกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมนี้ ไม่ใช่แค่ชาวบ้านหมู่บ้านซับหวายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงหลายชุมชนทั่วประเทศไทย พวกเขายืนยันเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเพื่อปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของชาวบ้าน 14 ราย:
- ยกฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งทั้งหมดต่อชาวบ้าน 14 คนทันที เนื่องจากพวกเขาได้ใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างถูกกฎหมาย
- ยุติการใช้กฎหมายและนโยบายการอนุรักษ์ป่าคำสั่ง คสช. เพื่อขับไล่ชุมชนท้องถิ่นและบุคคลจากที่ดินที่พวกเขาอาศัยอยู่มาหลายชั่วอายุคนโดยทันที
- ยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ 64/2557 และ 66/2557 ซึ่งส่งผลกระทบเกินส่วนต่อชุมชนชายขอบและคนจนในชุมชนและปฏิเสธสิทธิในที่ดินสิทธิในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของพวกเขา แทนที่จะมุ่งเป้าไปที่นักลงทุนและธุรกิจขนาดใหญ่
- หาวิธีการเยียวยาที่เป็นธรรมแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้กฎหมายอย่างไม่ยุติธรรมและทั้งปกป้องสิทธิพื้นฐานของพวกเขา
- ให้ยืนยันการดำเนินการตามแผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งได้รับมติเห็นชอบจากคณะทำงานระดับจังหวัด (สร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินในอุทยานแห่งชาติไทรทอง) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2561