ภรรยา “สมพิตร แท่นทอง” ร่ำไห้ หลังศาลฎีกาพิพากษาจำคุก ชาวบ้านซับหวาย จ.ชัยภมิ 10 เดือนข้อหาบุกรุกป่า โดยไม่รอลงอาญา ส่วนอีก 8 คนให้ชดใช้ค่าเสียหายและรอลงอาญา
เครดิตภาพ มูลนิธิมานุษยา
อติเทพ จันทร์เทศ เรื่อง
ชัยภูมิ – ศาลจังหวัดชัยภูมิตัดสินจำคุกสมพิตร แท่นนอก หนึ่งใน 14 ชาวบ้านที่ตกเป็นจำเลยฐานบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรทองและบุกรุกป่า จังหวัดชัยภูมิ โดยไม่รอลงอาญา
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ศาลจังหวัดชัยภูมิตัดสินให้สมพิตร แท่นนอง อายุ 65 ปี ชาวหมู่บ้านซับหวาย ต.ห้วยแย้ อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ จำคุกเป็นเวลา 10 เดือน 20 วันและชดใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท ในความผิดฐานบุกรุกป่าและพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรทอง จังหวัดชัยภูมิ
สุเนตร แท่นทอง ภรรยาสมพิตร เปิดเผยว่า หลังจากทราบว่า สามีถูกส่งตัวเข้าเรือนจำจังหวัดชัยภูมิก็รู้สึกเศร้าใจและเสียใจอย่างมาก เพราะอยู่ด้วยกันมาตลอด
“ตอนนี้รู้ข่าวก็ถึงกับร้องไห้ มันเสียใจ ยิ่งตอนนี้ตัวเองก็มาป่วยเป็นมะเร็งอีกทำให้ ไม่มีใครดูแล”สุเนตร กล่าว
สมพิตรย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดสระแก้ว มาแต่งงานกับสุเนตร แท่นทองกว่า 30 ปี มีลูกด้วยกัน 1 คน ซึ่งอยู่ติดคุกอยู่ต่างจังหวัด ก่อนปักหลังทำไร่ ทำสวนในชุมชนซับหวาย ตำบลห้วยแย้ อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ตั้งแต่อายุ 20 ปี ก่อนประกาศเขตป่าสงวน
ย้อนไปเมื่อปี 2510 ชุมชนในพื้นที่ตำบลห้วยแย้ และตำบลวังตะเฆ่ อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ เกิดขึ้นหลังการยกเลิกการทำสัมปทานตัดไม้ ของบริษัท ชัยภูมิทำไม้ จำกัด
จากนั้นเริ่มมีชาวบ้านทยอยเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น จนก่อตั้งเป็นชุมชน โดยชุมชนที่มีปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกับอุทยานแห่งชาติไทรทอง มีทั้งหมด 5 ชุมชน คือ 1. บ้านหนองผักแว่น ก่อตั้งปี 2501 2. ชุมชนหินรู ก่อตั้งปี 2512 3. ชุมชนซับหวาย ก่อตั้งปี 2515 4. กลุ่มบ้านซับสะเลเต ก่อตั้งปี 2518 และ 5. กลุ่มบ้านซอกตะเคียน ก่อตั้งเมื่อปี 2519
หลังการตั้งชุมชนในพื้นที่ดังกล่าวแล้วปี 2522 รัฐบาลได้ประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายางกลัก ทับที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินชาวบ้าน แต่ยังไม่เกิดปัญหา กระทั่งเมื่อปี 2533 เมื่อรัฐบาลผลักดันโครงการจัดที่ทำกินให้กับราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม (คจก.) หวังเพิ่มพื้นที่ป่าสงวน โดยชุมชนบ้านซับหวายเป็นหนึ่งในหลายชุมชนทั่วประเทศที่ได้รับผลกระทบ
คดีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อปี 2558 หลังรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศนโยบายทวงคืนผืนป่า โดยบังคับใช้คำสั่ง คสช. ที่ 64/2557 และคำสั่งที่ 66/2557 โดยคำสั่งดังกล่าวได้มอบอำนาจให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของฝ่ายทหาร มีอำนาจเต็มในการดำเนินการทวงคืนผืนป่าและปราบปรามผู้บุกรุกป่า
เป้าหมายของนโยบายนี้ต้องการเพิ่มพื้นที่ป่าทั่วประเทศ โดยเจ้าหน้าที่จะดำเนินการจับกุมผู้บุกรุก หรือผู้ที่ครอบครอง หรือทำให้สภาพป่าเสียหาย รวมถึงปราบปรามขบวนการตัดไม้ทำลายป่า กิจการแปรรูปไม้ หรือบุคคลที่มีไม้หวงห้ามไว้ครอบครอง
พื้นที่หมู่บ้านซับหวาย ต.ห้วยแย้ อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ หมู่บ้านของกบเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการบุกรุกจับปราบปรามผู้บุกรุกป่าอุทยานฯเพื่อปลูกมันสำปะหลัง
กระทั่งภาครัฐได้ใช้กำลังทหารร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ และอีกหลายหน่วยงาน เข้าปฏิบัติการ ชาวบ้านถูก “ขอคืนพื้นที่” ตัดฟันสวนยางพารา และดำเนินคดี แม้คำสั่ง คสช.ที่ 66/2557 จะระบุไว้ว่า การดำเนินการใดๆ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งได้อยู่อาศัยในพื้นที่เดิมนั้นๆ ก่อนคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ แต่ชาวบ้านในพื้นที่ทับซ้อนกับอุทยานแห่งชาติไทรทองที่อยู่มาก่อน
ทั้งนี้ศาลฎีกาได้อ่านคำพิพากษาไปแล้ว 9 คนประกอบด้วย สมพิตร แท่นนอก พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำคุก 10 เดือน 20 วัน ให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท โดยไม่รอลงอาญา และถูกจำคุกไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา
นิตยา ม่วงกลาง 4 เดือน ให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 40,000 บาท (คดีที่ 1) ,พุธ สุขบงกช พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำคุก? 6 เดือน 20 วัน ให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 370,00 บาท (รอลงอาญา), นริสรา ม่วงกลาง พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำคุก 9 เดือน 10 วัน และชดใช้ค่าเสียหาย 607,161 บาท เพิ่มจากเดิมที่ให้ชดใช้ค่าเสียหาย 130,000 บาท (รอลงอาญา), สุวลี โพธิ์งาม พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำคุก 5 เดือน 10 วัน ชดใช้ค่าเสียหาย 160,00 บาท (รอลงอาญา) สมร สมจิตร จำคุก 1 ปี ให้รอลงอาญาไว้ 3 ปี และให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 366,663 บาท รวมทั้งให้บำเพ็ญประโยชน์เป็นเวลา 1 ปี,
สุภาพร สีสุข 5 เดือน 10 วัน ให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 380,000 บาท (รอลงอาญา), ทองปั่น ม่วงกลาง 8 เดือน ให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท, วันชัย อาภรแก้ว 6 เดือน ให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 860,395 บาท
ทั้งนี้ในวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2564 นี้ ชาวบ้านซับหวายอีก 5 คน ประกอบด้วย สีนวล พาสังข์, สุนี นาริน, ปัทมา โกเม็ด, สากล ประกิจ และ สุวิทย์ รัตนะไชยศรี ต้องเข้ารับฟังคำตัดสินศาลฯ ฐานบุกรุกป่าและพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรทอง จังหวัดชัยภูมิ