แม่น้ำโขงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากการไหลของสายน้ำผ่านหลายประเทศ ทุกประเทศต่างตักตวงเอาสิ่งใดก็ตามที่ทำได้จากแม่น้ำสายนี้ ทิ้งให้ประชาชนนับล้านที่พึ่งพาแม่น้ำในการดำเนินวิถีชีวิตและการอยู่รอดต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้ายมากยิ่งขึ้น

ทีมงานซึ่งเป็นผู้ผลิตงานสารคดี ได้เดินทางไปที่ชุมชน 2 แห่งในภาคอีสาน ชุมชนแรกเป็นพื้นที่ริมแม่น้ำโขงในจังหวัดเลย และอีกแห่งหนึ่งไกลออกไปอีก 600 กิโลเมตร ทางตอนล่างในจังหวัดอุบลราชธานี ที่แม่น้ำโขงไหลออกจากชายพรมแดนไทย เพื่อเรียนรู้ว่าทั้งสองชุมชนรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทางสิ่งแวดล้อมอย่างไร

การเปลี่ยนแปลงทางนิเวศอย่างรุนแรงของแม่น้ำโขงเชื่อมโยงกับการพัฒนาเขื่อนพลังงานน้ำ การผันผวนของระดับน้ำโขงที่เกิดจากการดำเนินการของเขื่อนที่อยู่ตอนบน ส่งผลกระทบต่อชนิดพันธุ์และปริมาณปลาที่ลดลง

พวกเราเดินทางไปยัง 2 ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำโขง ชุมชนแรกอยู่ในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ชายแดนระหว่างไทย-ลาว และเป็นพื้นที่ทางตอนล่างในไทยที่อยู่ใกล้สุดจากเขื่อนไซยะบุรี สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นเขื่อนแห่งแรกในแม่น้ำโขงสายประธานตอนล่าง ชุมชนที่สอง คือ ตามุย ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นจังหวัดสุดท้ายในประเทศไทยที่แม่น้ำโขงไหลผ่านก่อนที่จะเข้าสู่พรมแดนประเทศลาว

เป็นที่ชัดเจนว่า ชุมชนทั้งสองชุมชนต่างกำลังดิ้นรนในการเลี้ยงชีพจากทรัพยากรธรรมชาติที่หาได้ในแม่น้ำโขง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาปลาซึ่งเป็นทั้งแหล่งโปรตีนและรายได้หลักของพวกเขา .จึงกล่าวได้ว่า การจัดการแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนต้องนับรวมเสียงทั้งหมดของประชาชนท้องถิ่น การเสนอสร้างเขื่อนใหม่อีกหลายเขื่อนในแม่แม่น้ำโขงจำต้องใคร่ครวญเป็นอย่างยิ่งว่ามีความจำเป็นหรือไม่ ในขณะปัจจุบันที่มีทางออกทางพลังงานที่ดีกว่าอยู่แล้ว อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล

ธรรมาภิบาลด้านน้ำในระดับภูมิภาคมีความจำเป็นเพื่อรับประกันว่าสิทธิชุมชนและวิถีทางที่เป็นธรรมให้กับประชาชนชาวแม่น้ำโขง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้คนที่พึ่งพาโดยตรงจากทรัพยากรข้ามพรมแดน ทรัพยากรที่ใช้ร่วมกัน และเป็นของส่วนรวม

สารคดีชิ้นนี้ผลิตโดย มิ่งขวัญ ถือเหมาะ, เดชา คำเบ้าเมือง และ ทิพย์อักษร มันปาติ สนับสนุนโดย SUMERNET

โปรดชมเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ

image_pdfimage_print