“ลุงเปี๊ยก – บำรุง บุญปัญญา” ต้นกำเนิดค่ายอาสาฯ ครูของนักพัฒนาอีสาน และประเทศไทย
ชีวิตและงานของ บำรุง บุญปัญญา นักพัฒนาคนสำคัญของอีสาน ซึ่งประสบอุบัติเหตุถูกรถชนที่ จ.มหาสารคาม เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2566 เสียชีวิตด้วยวัย 77 ปี
ปี 2565 เป็นปีแห่งความเศร้าโศรกสำหรับกองบรรณาธิการ The Isaan Record เพราะสูญเสีย อติเทพ จันทร์เทศ นักข่าวและช่างภาพฝีมือดีไปอย่างกะทันหัน แต่เขาได้ฝากผลงานไว้ให้ชื่นชม โดยทางทีมงานได้จัดภาพแห่งความประทับใจส่วนหนึ่งของเขาไว้ในผลงานชุดภาพถ่ายแห่งปี 2565 ด้วย ปีนี้ยังเป็นปีที่ชาวอีสาน โดยเฉพาะชาวจังหวัดหนองบัวลำภูต้องเผชิญเหตุแห่งความสูญเสียจากการกราดยิงทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 37 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กถึง 24 คน
นอกจากนี้ชาวอีสานหลายจังหวัดยังได้รับผลกระทบจากเหตน้ำท่วม รวมถึงเผชิญชะตากรรมจากโครงการของรัฐในหลายโครงการที่ The Isaan Record ได้บันทึกเรื่องราวการต่อสู้เหล่านั้นไว้เพื่อรอการแก้ไข
1.“ผ้าห่มและขวดนมลูก” แม่ของเด็กผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์กราดยิงยืนกอดผ้าห่มและขวดนมหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งเป็นที่เกิดเหตุ ขณะรอร่วมพิธีวางพวงมาลาพระราชทานจากสมเด็จเจ้าฟ้าฯ สิริวัณณวรี นารีรัตนฯ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565
อ่านต่อ https://theisaanrecord.co/2022/10/07/princess-gave-flowers-for-victims/
ภาพโดย หทัยรัตน์ พหลทัพ
2.“นั่งเฝ้าหน้าโลงศพ” ญาติผู้เสียชีวิตนั่งรอรับศพญาติ หลังเหตุกราดยิงด้วยใจจดจ่อที่ศาลาเอนกประสงค์ ตรงข้ามศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอุทัยสวรรค์ ใกล้ๆ กันมีโลงศพขนาดเล็กที่มีผู้บริจาคให้กับผู้เสียชีวิตที่ส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็ก เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565
แกะรอยชนวนก่อน “ปัญญา คำราบ” ก่อเหตุกราดยิงหนองบัวลำภู
ภาพโดย อาชวิชญ์ อินทร์หา
3.“รำลึกผู้มีบุญ” การแสดงศิลปะเพื่อรำลึกถึงการเสียชีวิตของผู้มีบุญผ่านเสียงกลองของกลุ่มราษฎรัมส์ในวาระครบรอบ 121 ปีหลังการสังหาร บริเวณโนนโพธิ์ บ้านสะพือ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี ซึ่งเชื่อว่า เป็นหลุมศพของผู้มีบุญที่ต่อสู้กับทหารสยาม ถ่ายภาพเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2565
ผู้มีบุญในอีสานซีซั่นสอง (15) – เขียนถึงประวัติศาสตร์ผีบุญและ Ubon Agenda 2022
ภาพโดย จนิสตา อาภาแสงเพชร
4.“คุมขังและกดขี่” การแสดงศิลปะของกลุ่ม Free Art ที่บ้านสะพือ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นการแสดงถึงการกดขี่และการควบคุมตัวผู้มีบุญด้วยขื่อคาน หลังก่อกบฏก่อนจะตัวไปสำเร็จโทษ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2565
ชาวสะพือเตรียมหารือทำพิพิธภัณฑ์ชุมชนเพื่อ “ผีบาป ผีบุญ”
ภาพโดย อติเทพ จันทร์เทศ
5.“น้ำก็ท่วมหนี้ก็ท่วม” ผู้ชุมนุมชาว จ.ขอนแก่น ประท้วงการลงพื้นที่รับฟังสถานการณ์น้ำท่วมของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2565 ถือว่า เป็นการปฏิบัติงานครั้งแรก หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยดำรงตำแหน่งยังไม่ครบ 8 ปี
“ประยุทธ์” ลงพื้นที่ขอนแก่นแก้น้ำท่วม
ภาพโดย ศิวกร มังคละคีรี
6.“มิตรภาพริมราง” (มี 3 ภาพ) ชาวชุมชนมิตรภาพ จ.ขอนแก่น และชุมชนริมราง จ.นครราชสีมา กำลังเผชิญชะตากรรมไล่รื้อเพื่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะทางจากโคราช – หนองคาย ภาพเมื่อกุมภาพันธ์ 2565
เมื่อรถไฟความเร็วสูงมาเยือน ชาวริมทางโคราชกำลังจะหายไป
ภาพโดย อติเทพ จันทร์เทศ
7.“ชะตากรรมในน้ำท่วม” ผู้ประสบภัยน้ำจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเดือนตุลาคม 2565 นั่งรอความช่วยเหลือขณะที่ระดับเพิ่มประมาณสูงขึ้นกว่า 1.5 เมตร
น้ำท่วมอุบล-สารคามยังวิกฤตบางพื้นที่ท่วมหนัก 2 เมตร
ภาพโดย ทรงวุฒิ จุลละนันท์
8.“ซากหลังน้ำลด” หลังน้ำลดข้าวชาวชุมชนมิตรภาพ ริมรถไฟขอนแก่น นำข้าวของเครื่องใช้นำมาทิ้งกองไว้นอกบ้าน เพราะเสียหายจนใช้งานไม่ได้
ฤา “ชุมชนมิตรภาพ” กลายเป็นพื้นที่รับน้ำรอการระบายของคนเมืองขอนแก่น?
ภาพโดย วันนิษา แสนอินทร์
9.“วิจารณ์รัฐประหาร” ชัยเกษม นิติสิริ อดีต รมว.ยุติธรรม วิจารณ์การทำรัฐประหารของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และเรียกร้องปล่อยนักโทษทางความคิดระหว่างการประชุมสามัญพรรคเพื่อไทยที่จังหวัดขอนแก่น
ภาพโดย อติเทพ จันทร์เทศ
10.“ลวดหนามบนความเท่าเทียม” กิจกรรมรณรงค์ความเท่าเทียมทางเพศของกลุ่ม LGBTQ+ พร้อมกับการเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้มาตรา 112 กับนักกิจกรรมทางการเมือง จ.ขอนแก่น ถ่ายภาพเมื่อเดือนมิถุนายน 2565
ภาพโดย อติเทพ จันทร์เทศ
11.“แสงไฟไต้ปลา” แก่งละว้าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่รองรับมวลน้ำชีจากจังหวัดชัยภูมิที่มีความสำคัญต่อชาวบ้านหลายอำเภอในจังหวัดขอนแก่น หากมีการสร้างเขตเศรษฐกิจชีวภาพอีสานแห่งใหม่พื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย ถ่ายภาพเมื่อเดือนมกราคม 2565
ภาพโดย อติเทพ จันทร์เทศ
12. “ไพร์ดอีสาน” เครือข่ายความหลากหลายทางเพศจัดขบวนไพรด์เรียกร้องการสมรสเท่าเทียมและเพื่อย้ำเตือนความเท่าเทียมทางเพศ จ.อุดรธานี ถือเป็นกิจกรรมเรียกร้องความเท่าเทียมของ LGBTQ+ เป็นแห่งแรกในอีสาน ถ่ายภาพเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565
ภาพโดย อรนิภา สู้ณรงค์