การสถาปนาอำนาจกษัตริย์ผ่านอำนาจศาสนาเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่รัชกาลที่ 4 มีการก่อตั้ง “ธรรมยุติกนิกาย” ที่ถือเป็นนิกายฝ่ายราชสำนัก และในสมัย ร.5 เกิดการสร้างรัฐชาติแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และรวบอำนาจปกครองพระสงฆ์ทั่วประเทศขึ้นต่อกรุงเทพฯ ภายใต้มหาเถรสมาคมซึ่งกลายเป็นศาสนจักรของรัฐ ต่อมาในสมัย ร.6 พุทธศาสนากลายมาเป็นคำขวัญที่เป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์ความเป็นรัฐชาตินั้นคือ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” (สุรพศ ทวีศักดิ์, 2561, ออนไลน์)  คล้ายคลึงกับคำขวัญของอังกฤษที่ว่า “God King and Country” (สุจิตต์ วงษ์เทศ, 2566, ออนไลน์) จนกระทั่งในยุคหลังการปฏิวัติ 2475 โดยคณะราษฎรคำว่าชาติก็ถูกนิยามใหม่ให้มีความหมายที่กว้างขึ้นและเกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปฏิรูปคณะสงฆ์จนเกิดพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ส่งผลให้เกิดการแบ่งแยกอำนาจการปกครองสงฆ์เป็น 3 ฝ่าย คือ สังฆมนตรี (ฝ่ายบริหาร) สังฆสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) และคณะวินัยธร (ฝ่ายตุลาการ) (สุรพศ ทวีศักดิ์, 2561, ออนไลน์)  

แม้ว่าจะมีการปฏิรูปคณะสงฆ์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงแต่เนื่องจากระบอบประชาธิปไตยที่เพิ่งเกิดขึ้นนั้นยังไม่ลงหลักปักฐาน ทำให้ศาสนาพุทธยังคงมีอิทธิพลต่อสังคมไทยและถูกนับรวมในอุดมการณ์ความเป็นไทยในช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ในเวลานั้นมีความพยายามในการเชิดชูอุดมการณ์ความเป็นชาติและต้องการทำให้สังคมวัฒนธรรมมีความเป็นสมัยใหม่ (Modernity) เหมือนอารยประเทศซึ่งมีตัวแบบในการพัฒนาคือประเทศญี่ปุ่น โดยเริ่มต้นจากการประกาศรัฐนิยมในปี พ.ศ. 2482 (ธันยพร บัวทอง, 2563, ออนไลน์) ผลสะเทือนดังกล่าวก่อให้เกิดการควบคุมอัตลักษณ์ทางเชื้อชาติในสังคม เช่น การปิดโรงเรียนสอนภาษาจีน การบังคับใช้ชื่อแบบไทย เป็นต้น นำไปสู่การขยายตัวของแนวคิดชาตินิยมทั่วประเทศส่งผลให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องทวงคืนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงจากอินดินโดจีน (ศิลปวัฒนธรรม, 2566, ออนไลน์) และที่สำคัญคือเกิดการตั้งคณะเลือดไทยขึ้นซึ่งเป็นขบวนการประชาชนที่มีแนวคิดชาตินิยมและเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสนับสนุนนโยบายรัฐนิยมของรัฐบาลในช่วงเหตุการณ์กรณีกรณีพิพาทระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีน เมื่อ พ.ศ.2483 รวมทั้งเป็นกลุ่มที่ประสานกลุ่มข้าราช ประชาชน พ่อค้า นักศึกษา นักเรียน รวมทั้งคณะสงฆ์เข้าไว้ด้วยกันนอกจากนี้ทางกลุ่มมีการเคลื่อนไหวต่อต้านชาวต่างชาติและกลุ่มเข้าไปร่วมมือกับปฏิบัติการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐในการกดดันให้ผู้ที่เป็นคริสตังละทิ้งศาสนามานับถือศาสนาพุทธ (ภูวมินทร์ วาดเขียน, 2563, หน้า 183-189)

จอมพล ป.พิบูลสงครามและการเดินขบวนแห่เรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส (ภาพ: ศิลปวัฒนธรรม)

สถานการณ์การเบียดเบียนคริสตังในอีสาน

ความเชื่อของผู้คนส่วนใหญ่ในภาคอีสานเวลานั้นนับถือศาสนาพุทธและนับถือศาสนาผีซึ่งเป็นศาสนาดั้งเดิมในท้องถิ่นแต่ในบางพื้นที่ก็ปรากฏให้เห็นกลุ่มคริสตังซึ่งอาศัยกันอยู่เป็นชุมชน เช่น อุบลราชธานี นครพนม หนองคาย สกลนคร มุกดาหาร เป็นต้น โดยมีบาทหลวงฝรั่งจากคณะมิสซังต่างประเทศแห่งปารีส (Missions Étrangères de Paris) เป็นผู้ดูแลชุมชนคริสตัง ผลจากการดำเนินนโยบายรัฐนิยมของรัฐบาลและจากกรณีพิพาทอินโดจีน ทำให้ผู้คนในสังคมเวลานั้นมีความหวาดระแวงต่อคริสตังว่าอาจเป็นจารชนทำหน้าที่สืบราชการให้กับฝรั่งเศส จึงทำให้ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์กลายเป็นศัตรูของชาติซึ่งประเด็นความขัดแย้งได้ขยายวงไม่ใช่เฉพาะแค่เรื่องชาติแต่เป็นความขัดแย้งในแง่ของศาสนาอีกด้วย ทำให้เกิดการเนรเทศบาทหลวงฝรั่งออกนอกประเทศไทย (หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, 2558, ออนไลน์) และมีการสั่งห้ามไม่อนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมทางศาสนาส่งผลให้วัดคาทอลิกในอีสานจำนวนกว่า 40 แห่งถูกสั่งปิด 

นอกจากนี้มีการบังคับให้ชาวบ้านคริสตังหลายพื้นที่ให้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธมีการเชิญให้พระสงฆ์เข้ามาประกอบพิธีทางศาสนาพุทธในหมู่บ้านคริสตัง (ภูวมินทร์ วาดเขียน, 2563, หน้า 183-184) ถ้าผู้ใดไม่ยอมเปลี่ยนความเชื่อก็จะถูกลงโทษ บางคนอาจถูกจับขังคุก หรือได้รับความรุนแรงจนเสียชีวิตเช่นกรณีที่เกิดขึ้นที่บ้านสองคอน อ.มุกดาหาร จ.นครพนม (ปัจจุบันคือ จ.มุกดาหาร) ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากน้ำมือของเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 7 คน ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2483

การจำลองภาพจำลองสังหารภคินี 2 รูป แม่บ้าน เยาวชนและเด็ก รวม 6 คน ข้างขอนไม้  ที่เป็นจุดสังหาร ณ ป่าศักดิ์สิทธิ์วัดแม่พระไถ่ทาส สองคอน มุกดาหาร (ภาพ: บาทหลวงขวัญ ถิ่นวัลย์)

บทสรุป

หลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางมิสซังได้ประเมินความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นที่ซึ่งรวบรวมข้อมูลความสูญเสียที่เกิดขึ้นในช่วงของการเบียดเบียนศาสนา ตามที่ปรากฎในเอกสารบันทึกความเสียหายจากวัดต่างๆในเขตจังหวัดนครพนม, สกลนคร, หนองคาย, อุดรธานี, อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ และนครจำปาศักดิ์ ประเมินมูลค่าตามปี พ.ศ. 2490 รวมเป็นเงิน จำนวนทั้งสิ้น 8,912,800 บาท (หอจดหมายเหตุโปรดม-ซาเวียร์เกโก, 2565, ออนไลน์) อีกทั้งยังมีความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินค่าได้นั้นคือผลกระทบทางจิตใจซึ่งปัจจุบันนี้รัฐบาลไทยไม่เคยขอโทษสำหรับความรุนแรงที่ เจ้าหน้าที่รัฐกระทำต่อคริสตัง บรรดาพระสงฆ์และนักบวชในอดีต

ความเสียหายจากกรณีพิพาทอินโดจีน ทำให้อาสนวิหารนักบุญอันนา หนองแสงถูกทำลายลง  (ภาพ: หอจดหมายเหตุโปรดม-ซาเวียร์เกโก)

หากเราจะสร้างการอยู่ร่วมกันในสังคมแบบพหุวัฒนธรรมอย่างสันตินั้นรัฐไทยจำเป็นต้องยอมรับความผิดพลาดที่เคยทำในอดีตซึ่งประเทศไทยไทยไม่ใช่ประเทศเดียวในโลกที่เกิดความขัดแย้งทางการเมืองแล้วทำให้เกิดความสูญเสีย ตามข้อเท็จจริงเกือบทุกประเทศในโลกนี้ล้วนต้องเคยผ่านเหตุการณ์เหล่านี้มาทั้งสิ้นซึ่งการที่จะข้ามพ้นความขัดแย้งเพื่อมุ่งสู่สังคมที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้นั้นจำเป็นต้องชำระประวัติศาสตร์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในอดีตด้วยการนำเอาเรื่องราวดังกล่าวมาตีแผ่สร้างเป็นอนุสรณ์ความทรงจำร่วมกันของคนในสังคมเพื่อให้ผู้คนในปัจจุบันได้เรียนรู้และเข้าใจรากปมของปัญหาจากนั้นจึงจะนำไปสู่การฟื้นฟูเยียวยาบาดแผลของผู้เสียหายจากเหตุการณ์ในอดีต นอกจากนี้แล้วสิ่งสำคัญที่สุดคือการที่รัฐไทยต้องนำเอาศาสนาออกจากการเมืองด้วยการยึดถือหลักโลกวิสัย (Secular state) กล่าวคือเป็นแนวคิดที่นำเอารัฐกับศาสนาแยกออกจากกันเพื่อให้หลักประกันว่ากลุ่มหรือองค์กรทางศาสนาต่างๆจะไม่แทรกแซงกิจการของรัฐและรัฐก็ต้องไม่แทรกแซงกิจการทางศาสนา (สุรพศ ทวีศักดิ์, 2561, ออนไลน์) หลักการจากแนวคิดดังกล่าวจะช่วย

อ้างอิง

  • หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, (2558), มรณสักขีแห่งสองคอน, เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558, สืบค้นจาก https://tinyurl.com/2ynvbjp8, สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566
  • หอจดหมายเหตุโปรดม-ซาเวียร์เกโก, (2565), ความเสียหายจากการเบียดเบียนศาสนา, เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2565, สืบค้นจาก https://tinyurl.com/mvttc8a2,  สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566
  • ภูวมินทร์ วาดเขียน, (2563), บทบาทของคณะสงฆ์ไทยกับการมีส่วนร่วมในเหตุการณ์กรณีพิพาทอินโดจีน, วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 8(1) ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน, สืบค้นจาก https://tinyurl.com/5n76sdxc, สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566, หน้า 173-193
  • สุจิตต์ วงษ์เทศ, (2566), “ชาติ” ที่ต้องปลดแอก ประวัติศาสตร์ชาติไทย “นิยาย” การเมือง, ศิลปวัฒนธรรม, เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2566, สืบค้นจาก https://tinyurl.com/ye25rn3n, สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566
  • สุรพศ ทวีศักดิ์, (2561), สุรพศ ทวีศักดิ์: รัฐโลกวิสัยคืออะไร,ประชาไท ,เผยแพร่เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561,  สืบค้นจาก https://tinyurl.com/mrxcjy8h, สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 
  • ศิลปวัฒนธรรม, (2564), จอมพล ป. นำนศ.ปฏิญาณตนต่อพระแก้วมรกตในเหตุการณ์เรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส, ศิลปวัฒนธรรม, เผยแพร่เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2564, สืบค้นจาก https://tinyurl.com/ymss47ky, สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566
  • ธันยพร บัวทอง, (2563), จอมพล ป.พิบูลสงคราม : 123 ปี ชาตกาล กับผลงานและเสียงวิจารณ์นายกรัฐมนตรีที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุด, BBC ไทย, เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563, สืบค้นจาก https://tinyurl.com/4w8sxvkw, สืบค้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566
image_pdfimage_print