คืนหน่าย
ถ้าคุณมองเรื่องการมีเซ็กส์เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ บทสนทนาในชายคาเรื่องสั้น “คืนหน่าย” จะถือเป็นเรื่องปกติทันที
ถ้าคุณมองเรื่องการมีเซ็กส์เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ บทสนทนาในชายคาเรื่องสั้น “คืนหน่าย” จะถือเป็นเรื่องปกติทันที
ความฝัน ความหวังของคนเป็นแม่ ทำได้เพียงมองลูกกางปีก เติบโต มีชีวิตเป็นของตนเอง แม้วันหนึ่งบ้านที่เคยอยู่ด้วยกันในวันวัยจะกลายเป็นกลายเป็นสถานที่แห่งเพียงความทรงจำก็ตาม ชายคาเรื่องสั้นโดย ปันนารีย์
ชชายคาเรื่องสั้น “น้ำตาในโรงอาหาร” เป็นเรื่องราวของสิตา นักวิทย์สาวในโรงงานแห่งหนึ่งที่ถูกเทจากชายหนุ่ม การจากไปของเขาทำให้เธอเฝ้ารอวันหวนคืน ซึ่งก็ไม่มีวี่แวว แต่เมื่อเปรียบเทียบกับใครบางคนที่ยังอยู่ต่อ….ในชีวิตมันเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับ
ชายคาเรื่องสั้นเรื่องนี้เป็นของ “สันติสุข กาญจนประกร” ดุจเสมือนเรื่องจริงโดยเฉพาะในยุคต่อสู้เรื่องประชาธิปไตยของครอบครัวชนชั้นกลางบางครอบครัวที่ผู้ปกครองกินสลิ่ม ทว่าลูกในไส้ออกมาเรียกร้องเคลื่อนไหวเรียกร้องเพื่อคนเท่ากัน แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อลูกของเธอถูกจับในข้อหาฉกรรจ์ตามมาตรา 112 และ 116 ซึ่งคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ต้องเผชิญ
คุณจะเลือกชื่นชมสัตว์ชนิดใดระหว่างสุนัขจรจัดที่ยืนตรงและเห่าหอนเวลาได้ยินเสียงเพลงชาติและกระรอกตัวน้อยที่มีอิสระจากเสียงเพลงปลุกใจ เรื่องสั้น “หมาในมหาวิทยาลัย” ชายคาเรื่องสั้นชวนตั้งคำถาม
“คนอยู่ที่ไหนก็เป็นคนที่นั่น” แต่ความหวาดระแวงทำให้คนบางคนมองมนุษย์ไม่เป็นคนเท่ากัน เรื่องสั้น “ประชากรแฝงในโรตีแกง” จึงเป็นบทสนทนาที่บาดลึกลงไปในความเป็นปัจจุบันที่แบ่งแยกชนชั้น วรรณะ เชื้อชาติ แม้นับถือศาสนาเดียวกันก็ตาม
ยามได๋สิเมือเฮือน” เป็นหนึ่งในชายคาเรื่องสั้นที่ชวนตั้งคำถามถึงผู้คนที่ใช้ชีวิตริมโขงตั้งแต่เกิดจนสิ้นชีพ เพราะชีวิตบนสายน้ำมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทุกโมงยาม
ชีวิตที่สับสนอลหม่านมีวันดีๆ และวันร้ายๆ ซึ่งชีวิตที่ไม่อยู่ท่ามกลางสงครามอย่างในยูเครนก็ยังดีกว่า แต่มนุษย์มักมีห้วงคำนึงที่ทำให้ตัวเองเจ็บปวดเสมอ แม้จะตื่นหรือฝัน ชายคาเรื่องสั้นตอนที่ 5 “หลังฝนซามีเรือลำหนึ่งล่องไปในมหาสมุทร” ชวนผู้อ่านตั้งคำถามกับชีวิตที่หม่นๆ นี้
คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยถูกกล่าวหาว่า “เป็นพวกหนักแผ่นดิน ถูกล้างสมอง” เชื่อว่า มีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่กำลังเผชิญชีวิตเหมือนอย่างตัวละครของ รัชศักดิ์ จิรวัฒน์ ถ้าใครอยู่ในภาวะนี้คงเข้าใจหัวอกตัวละครเรื่องนี้ได้ดี
เรื่องสั้นจากชายคาเรื่องสั้นเดือนนี้เป็นบทสนทนาคร้ังสุดท้ายของพ่อลูกที่มีความคิดต่างอย่างสุดขั้ว ฝ่ายหนึ่งเชื่อในวิถีประชาธิปไตย แต่อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อในวิถีคนดี ไม่มีใครรู้ว่า ประโยคที่ทำให้พ่อผู้ที่อยู่บนเตียงในวาระสุดท้ายถึงกับตาเบิกโพลงและสิ้นลมไปนั้นคืออะไร แต่ลูกชายอ้างว่า เขาเอ่ยเพียงคำว่า “ทรงพระเจริญ” เท่านั้น ส่วนท่านผู้อ่านจะเชื่อหรือไม่…ลองอ่านดู
เรื่องสั้นจากชายคาเรื่องสั้นตอนที่ 2 “เมืองเก่า” เป็นความทรงจำที่ผู้เขียนถ่ายทอดออกมาได้เห็นภาพ กระทั่งบรรณาธิการเรื่องสั้นอย่าง มาโนช พรหมสิงห์ บอกว่า เป็นสิ่งสะท้อนวัยเยาว์อันรื่นรมย์ เข้ากับยุคสมัยแห่งเผด็จการภายใต้ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รัฐธรรมนูญของรัฐเผด็จการ สะท้อนถึงเมืองเก่าในวัยเยาว์ จนเป็นดั่งผู้มาก่อนกาลเวลา ภายใต้ระบบเก่าแก่ที่แสนห่วย โคตรห่วยก็ว่าได้ นี่ล่ะสังคมที่เฮาเผชิญอยู่ พี่น้องเอ๊ย ...
หยิบหนังสือ “ห่าตำปอด เชื้อไข้ร่วมสมัย” มาอ่าน แล้วต้องสะดุดกับเรื่องสั้น “กาแฟซากจิ้งจก” ของ “สุชาติ สวัสดิ์ศรี” นักเขียนรับเชิญในหนังสือชายคาเรื่องสั้นเล่ม 16 ที่เชิญชวนให้ลิ้มลองกาแฟรสชาติแปลกที่จะสร้างปรากฏการณ์ตาสว่างให้กับผู้คนได้