ฝันร้ายของชาว จ.เลย เมื่อไร้แรงต้านเขื่อนศรีสองรัก
เขื่อนศรีสองรัก อ.ปากชม จ. เลย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการโขงเลยชีมูล ที่ยังคงก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง แม้ชาวบ้านในพื้นที่จะคัดค้านถึงผลกระทบและเรียกร้องให้ยุติโครงการ แต่ก็ยังไร้คำตอบ
เขื่อนศรีสองรัก อ.ปากชม จ. เลย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการโขงเลยชีมูล ที่ยังคงก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง แม้ชาวบ้านในพื้นที่จะคัดค้านถึงผลกระทบและเรียกร้องให้ยุติโครงการ แต่ก็ยังไร้คำตอบ
นักวิชาการกรมทรัพยากรธรณี เผยข้อมูลแผ่นดินไหวใน จ.เลย อาจเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนผันน้ำโขง ชงของบรัฐบาลปี 65 ตรวจสอบอย่างละเอียด
ประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน ออกแถลงการณ์ต่อต้านโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและการบริหารจัดการน้ำที่ยังยืน หลังจัดเวทีเชื่อมเครือข่าย โขง เลย ชี มูล ชี้ภาคประชาชนต้องมีสวนร่วมพัฒนา
หายนะที่เกิดขึ้นกับคนอีสานจากโครงการโขงชีมูล ไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ แต่รัฐไม่เคยสรุปบทเรียน ตรงกันข้ามกลับเข็นโครงการใหม่ ภายใต้ชื่อ “โขง เลย ชี มูล” เพื่อผันน้ำแก้แล้งในอีสาน ฤาตำนานการผันน้ำในอดีตยังสร้างความเจ็บปวดไม่พอ
งานวิจัยไทบ้านของคนลุ่มน้ำมูล ไม่เพียงพิสูจน์ว่า ชาวบ้านก็เป็นนักวิจัยได้ แต่พิสูจน์ด้วยว่า คนที่ได้รับความผลกระทบจากโครงการของรัฐก็มีสิทธิบันทึกความเสียหาย โดยเฉพาะจากการสร้างเขื่อนราษีไศลที่ไม่ถามความต้องการของ “ไทบ้าน” ก่อนลงเสาเข็ม
เครือข่ายภาคประชาชนลุ่มแม่น้ำโขง ยื่นหนังสือ กมธ.จัดการน้ำฯ คัดค้านผลการศึกษาโครงการผันน้ำโขง เลย ชี มูล ชี้อนุฯกมธ.ฟังเหตุผลด้านเดียว หากยังเดินหน้าโครงการต่อจัดชุมนุมหน้าทำเนียบ
ข้ออ้างของกรมชลประทานในการสร้าง “ประตูน้ำศรีสองรัก” คือ ลดน้ำท่วม ภัยแล้ง โดยอ้างว่า เป็นโครงการพระราชดำริของในหลวง ที่ชาว อ.เชียงคาน จ.เลย หวั่นว่า หลังก่อสร้างจะนำหายนะมาสู่ชุมชน
"เขื่อนศรีสองรัก" จ.เลย เป็นโครงการที่รัฐอ้างว่า เป็นการผันน้ำโขงเข้าอีสาน โดยใช้งบกว่า 5 พันล้านบาท โครงการคืบหน้าไปกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ แต่ชาวบ้านกลับไม่มีส่วนร่วม
ภาคปชช.อีสานปลุกอย่ายอมจำนนวาทกรรม “อีสานแล้ง” ชี้เกิดจากรัฐจัดการน้ำผิดพลาด ใช้อำนาจทุบโต๊ะรวมศูนย์ ไม่เชื่อรัฐบาลทหารบริหารจัดการน้ำได้ โครงการผันน้ำโขงส่อเหลว ระบุแม่โขงแบกรับภาระเรื่องความแห้งแล้งไม่ได้ หลังเขื่อนผุดอื้อทำปริมาณน้ำลด แนะรัฐกระจายอำนาจจัดการน้ำสู่ท้องถิ่น
“รัฐสร้างเขื่อนเก็บน้ำ แต่ชาวบ้านกลับไม่ได้ใช้ประโยชน์ ตรงกันข้ามกลับทำให้เกิดผลกระทบมากมาย ฉันอยากให้เอาเขื่อนออก เอาที่ดินเราคืน เอาธรรมชาติของเราคืนมา”ผา กองธรรม หนึ่งในผู้ต่อต้านเขื่อนราษีไศล กล่าว
กว่า 27 ปีที่เขื่อนราษีไศลถูกสร้างขึ้นด้วยวาทกรรม “เขื่อนจะนำความเจริญมาสู่อีสาน” แต่ผ่านมานานกว่า 3 ทศวรรษ ชีวิตของชาวร้อยเอ็ด สุรินทร์ และ ศรีสะเกษ แทบพังทลาย
ความเจ็บปวดจากการสร้างเขื่อนราษีไศลยังคงเป็นบาดแผลมาจนถึงทุกวันนี้ โดยรัฐอ้างว่า เป็นไปตามโครงการผันน้ำโขงชีมูล ถือเป็น 1 ใน 22 แห่ง เริ่มสร้างเมื่อปี 2536 แต่กลับมีผู้ได้รับกระทบถึง 200 หมู่บ้าน สูญเสียที่ดินทำกินนับล้านๆ ไร่ ผ่านมากว่า 27 ปี บางส่วนยังไม่ได้รับค่าชดเชย