โดย มัจฉา พรอินทร์

ข่อยเป็นเฟมินิสต์ หมายถึงคนที่ต่อสู้กับการกดขี่ที่มีรากเหง้ามาจากวัฒนธรรมชายเป็นใญ่ แล่วคำถามกะคือว่า เป็นหยังวัฒนธรรมชายเป็นใญ่ คึซิเป็นปัญหา แล่วกะเป็นรากเหง้าของการกดขี่ ซึ่งนับว่าเป็นโครงสร้างความรุนแรง

วัฒนธรรมชายเป็นใญ่ คือ รากเหง้าที่วิธีคิดแบบผู้ชายผูกขาดและกะมีอิทธิพลต่อสถาบันทางสังคม ซึ่งส่งผลต่อความบ่เป็นธรรมทางเพศ โดยเฉพาะต่อผู้ญิงและบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งความบ่เป็นธรรมทางเพศ นี่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับความคิด เนื้อตัวร่างกายไปจนถึงตัวบทกฎหมาย ละกะทำงานร่วมกันกับมิติความบ่เป็นธรรมอื่นๆ เช่น มิติความบ่เป็นธรรมทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ 

ข่อยในฐานะเฟมินิสต์ลาวอุบลฯเคียดแฮง จนต้องออกมาเขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์ บทความที่มีคนเขียนลงมติชนสุดสัปดาห์ เรื่อง “อุปนิสัยที่ชี้ชะตากรรม” โดยผู้เขียนบทความซื่อว่า เพ็ญศรี เผ่าเหลืองทอง ซึ่งเป็นบทความที่สะท้อนมุมมองของคนเขียนบทความต่อแม่ญิงอิสาน 

มาเบิ่งตี้ล่ะ สิ่งที่ผู้เขียนบทความได้เขียนสะท้อนวิธีคิดของเจ่าของ ข่อยซิโค้ต (quote) บางส่วนให้เบิ่งเด้อ

“ทำไมหญิงอีสานจึงเลือกการไต่สถานะทางสังคมให้ตนเองและลูกด้วยการแต่งงานกับชาวต่างชาติและย้ายประเทศ มีชื่อเรียกเทรนด์นี้ว่า marriage migration ทำไมหญิงอีสานจึงไม่เลือกเอาตัวรอดด้วยการศึกษา เป็นเรื่องของ “โอกาส” หรือว่า “อุปนิสัย”

“หญิงอีสานคนหนึ่งซึ่งอาชีพปัจจุบัน คือ แม่บ้าน มีลูกชายกับสามีคนแรกและเลิกกับสามีคนที่สอง เธอบอกว่า เธอเคยเสนอตัวให้ชายต่างชาติแต่ไม่สมหวังเพราะไม่ใช่สเป๊กฝรั่ง ตอนเรียนหนังสือเธอเกเร ไม่สนใจการเรียน ทีนี้เธอก็เลยทั้งการศึกษาน้อยและทั้งไม่สามารถใช้การแต่งงานเป็นทางรอด ชะตาชีวิตเธอจึงต้องจมปลักอยู่กับการทำงานบ้าน ชีวิตต่อไปจะเป็นเช่นไรก็สุดจะรู้ได้”

“ทำไมสาวอีสานที่ตั้งใจเรียนและไต่เต้าสถานะทางสังคมแบบคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช จึงมีน้อยมาก คำถามนี้น่าสนใจ เพราะการศึกษาทำให้สังคมเจริญและเพิ่มผลผลิต เมื่อสาวอีสานไม่มีความรู้ ไม่ได้แต่งงานกับฝรั่ง พวกเธอลงท้ายต้องทำงานใช้แรงงานตามโรงงาน ตามบ้าน ตามร้านค้าพาณิชย์ เงินเดือนน้อยนิด ไม่สามารถจ่ายภาษีเอื้อจีดีพี นอกจากพวกเธอจะไม่มีรายได้เพียงพอจ่ายภาษี รัฐบาลยังต้องอุดหนุนพวกเธอด้วย “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” อีกด้วย”

“ทำไมสาวอีสานจึงนิยมหาทางออกด้วยการแต่งงานกับฝรั่งกันมาก หนึ่งในนั้นเพราะวัฒนธรรมพึ่งพาคนอื่นมากกว่าการพึ่งพาตนเองใช่หรือไม่ หนึ่งในนั้นคือการเลือกทางรอดมาก่อนศักดิ์ศรีใช่หรือไม่ และอีกหนึ่งในนั้นคือการทำตามอย่างกัน ใช่หรือไม่” 

“วัฒนธรรมเมื่อส่งต่อผ่านกันมาได้กลายเป็นอุปนิสัย กลายเป็นดีเอ็นเอที่ฝังลึก การพึ่งพาคนอื่นมากกว่าตนเองได้กลายเป็นดีเอ็นเอของสาวอีสาน ทำให้เลือกการดำรงอยู่ที่ง่าย เช่น การแต่งงานกับต่างชาติ”

“สาวอีสานพอใจที่จะมีชีวิตง่ายๆ เป็นผู้รับคำสั่ง ไม่ต้องคิดมาก ทำงานง่ายๆ เก่งที่จะบริการ อุปนิสัยเช่นนี้ คือสิ่งที่ชี้ชะตากรรมชีวิตของพวกเธอ”

ภาพฉากหนังสารคดีเรื่อง “Heartbound” – A Different Kind of Love Story” / “เมืองแห่งหัวใจ – รักที่แตกต่าง” (2018) ภาพยนต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตผู้หญิงอีสานที่ได้แต่งงานกับชายชาวเดนมาร์ก

จากโค้ตตัวอย่าง ยังบ่นับบทความทั้งซิ้น คำถามพื้นฐานเลย เมื่อข่อยในฐานะแม่ญิงอิสาน ได่อ่านบทความนี่กะคือ เป็นยั๋งบทความที่ขาดมุมมองที่รอบด้าน บ่ละเอียดอ่อนเรื่องเพศและเรื่องชาติพันธุ์ในภูมิภาคทั่วปะเทด จนเอิ้นได้ว่า ผลิตซ้ำการเหยียดเชื้อชาติ  (racist) เหยียดเพศ (sexist) แบบบทความเรื่อง “อุปนิสัยที่ชี้ชะตากรรม” คือได้ลงในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์?

ในส่วนของข้อเสนอของข่อย กะคือ หนังสือพิมพ์ ซึ่งถือว่าเป็นสื่อกระแสหลักมีผลกระทบต่อความคิดความเชื่อของคนในสังคม ดังนั้น สื่อเองกะต้องมีบทบาทและหน้าที่ ตลอดจนความรับผิดชอบในการนำเสนอบทความต่างๆ ให้มันรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกี่ยวเนื่องกับเรื่องเพศและเรื่องชาติพันธุ์ เพราะถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและกะเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นประเด็นทางสังคม 

ซิว่าไป ข่อยกะบ่ฮู้ว่า สื่อกระแสหลักและกะคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย มีความเข้าใจเรื่องสิทธิของชาติพันธุ์/ชนกลุ่มน้อยตลอดจนเรื่องความเป็นธรรมทางเพศซำใด๋ ถ้าโชคดี อาจซิมีคนบอกว่า กะสนใจอยู่ แต่กะบ่ฮู้ว่าซิเฮ็ดจังใด๋ หรือแบบขี้ล่ายแหน่กะคือ บ่ได้สนใจดอก เพราะเข้าใจผิดว่า สังคมไทยมีความเท่าเทียมกันดีอยู่ แบบที่บทความที่ข่อยซิโค้ตละกะถามห้วนๆ ต่อบทความนี่ว่า ข้อมูลอ้างอิงมีบ่และเขียนออกมาจั่งซี้ได้จั๊งได๋ ถ้าบ่มีอี่หยังมาอ้างอิง กะต้องตั้งคำถามกับความน่าเชื่อของบทความ ซั่นแล่ว

“ใช่ว่าสาวอีสานจะไม่ได้รับโอกาส คนไทยทุกคนมีโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกันแต่ชายอีสานใช้โอกาสนั้นมากกว่าหญิงอีสาน” 

เดี๋ยวเด้อๆ ก่อนซิเคลิ้มหลงเชื่อบทความนี่ อยากให้เห็นข้อมูลเหล่านี่สาก่อน:

ล่าสุดในระดับโลกแม้แต่องค์กร UN Women กะได้แชร์ข้อมูลจากรายงานการศึกษาจาก World Economic Forum’s annual เรื่อง Global Gender Gap Report  โดยมีใจความสำคัญที่ผู้เขียนอยากไฮไลท์ กะคือว่า “คันสังคมยังพัฒนาไปข้างหน้าได้ซำนี่ ในระดับโลกเรื่องมิติความเป็นธรรมทางเพศ เฮาต้องใช้เวลาอีก 100 ปี จั่งซิเท่าเทียม” 

ร้อยปีที่ว่านี่ วิเคราะห์มาจากการศึกษาความคืบหน้าการทำงานของ 153 ประเทศ ในมิติส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ ซึ่งครอบคลุม 4 ประเด็นหลัก คือ 1) มิติทางเศรษฐกิจ 2) มิติทางการศึกษา 3) มิติสุขภาพ และ 4) มิติทางการเมือง 

แต่คันซิให้ขยายความง่ายๆ แบบเอาบริบทบ้านเฮาละกะใช้ lived reality ของแม่ญิงในประเทศไทย มาอธิบายกะได้คือกัน เช่น 

มิติทางเศรษฐกิจ: อีหลีแล้วระหว่างแม่ญิงกับผู่ชายบ่ได้ท่อกัน คือ ในตำแหน่งงานเดียวกันผู้ญิง ได้ค่าแรงน้อยกว่า ยังบ่นับว่า แม่ญิงมีโอกาสก้าวหน้าละกะกลายเป็นผู้บริหารได้น้อยกว่าผู่ชายหลาย

มิติการศึกษา: คันซิเว่าง่ายๆ แบบบ่มีข้อมูลอ้างอิง บ่นับความซับซ้อนและบริบทในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง แล้วบอกว่าโอกาสทางการศึกษาของแม่ญิงกับผู้ชายซำกัน ข่อยกะซิอยากถามว่า เจ้าหมายถึงประเทศไทยอยู่บ่ เพราะประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาหลายทั้งระหว่างคนรวยกับคนจน และระหว่างแม่ญิงกับผู้ชาย เช่น จากข้อมูลของ UNESCO เมื่อปี 2017/2018 เรื่อง UNESCO’s 2017/8 Global Education Monitoring (GEM) Report  ซึ่งได้ไฮไลท์การศึกษาของประเทศไทยในรายงาน เช่นว่า “นักเรียนที่ยากจนที่สุด 80 คนท่อนั่นที่สิสามารถเรียนจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้นคันเทียบกับนักเรียนคนที่รวยที่สุด 100 คน” 

ในประเด็นความเสมอภาคทางการศึกษาระหว่างแม่ญิงกับผู้ชาย “นักเรียน 99% เรียนจบระดับประถมศึกษา แต่มีเพียง 85% ที่ได้เรียนต่อในระดับมัธยมต้น” แล้ว “62% ของวัยรุ่นที่หลุดออกจากระบบการศึกษาในระดับมัธยมต้นเป็นเด็กน้อยแม่ญิง”

มิติสุขภาพ: เรื่องสำคัญกะคือ ความบ่เป็นธรรมทางเพศสงผลต่อมิติการเข้าถึงบริการสุขภาพและมีผลต่อสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาพภาวะของแม่ญิงในทุกช่วงอายุ ในทุกอัตลักษณ์รวมถึงผู้หญิงข้ามเพศ (Transgender Women) และดูเหมือนว่า สังคมบ่ได่คาดหวังให้ผู้ชายเข้ามามีบทบาท มีความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมต่อมิติเหล่านี่เลย 

มาเบิ่งตัวปัญหานี่กัน ยกตัวอย่างเช่น องค์กรยูนิเซฟแห่งประเทศไทย มีรายงานว่า “การคลอดลูกของวัยรุ่นทั่วโลกที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี: ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 65 คน ต่อแม่ญิงในวัยเดียวกัน 1,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 6.5 แปลว่า “เด็กน้อยแม่ญิงที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ทุก 2 ชั่วโมง ซิคลอดลูก 1 คน” 

ในประเทศไทยข่อมูลจาก Health Data Center ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พ้อว่า “มีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นแม่วัยรุ่นไทยอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยพบว่าปีทุก 4 นาที ซิมีวัยรุ่นคลอดลูก 1 คน ยิ่งไปกว่านั้น ทุก 2 ชั่วโมง กะซิมีเด็กน้อยที่อายุต่ำกว่า 15 ปี คลอดลูก 1 คน ซึ่งหมายความว่า ปัจจุบันเด็กน้อยทารกทุก 1 ใน 6 เกิดจากแม่ที่ยังเป็นเด็กน้อยหรือวัยรุ่น” 

พอเฮาเว่าถึงปัญหาเหล่านี่ ถ้าบ่มีมุมมองมิติเรื่องสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์และความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ มันเลยง่ายต่อการตีตราเด็กน้อยแม่ญิง โดยบ่ได้เห็นเลยว่า เฮาอยู่ในสังคมที่เว่าเรื่องเพศบ่ได้ เด็กน้อยเข้าบ่ถึงเครื่องมือในการป้องกันการตั้งครรภ์ หรือกรณีที่อยากยุติการตั้งครรภ์ก็ยังถือว่าผิดกฎหมายเอาผิดแต่แม่ญิงอยู่ กะนั่นล่ะ เรื่องนี่ผู้ชายอยู่ม่องใด๋ สังคมบ่ค่อยตั้งคำถามกับผู้ชายเลย

และมิติทางการเมือง: ในประเทศข่อยบ่อยากเว่าซำใด๋ กะเบิ่งเอากะแล้วกันว่า แม่ญิงในพื้นที่ทางการเมืองมีสัดส่วน บทบาท อำนาจและกะตำแหน่งแห่งที่จังใด๋ละกะถืกกระทำเชิงระบบจั่งใด๋แน่ เพราะมันกะบ่ได้แตกต่างมากนักในระดับโลกซึ่งมีรายงานว่า อีก 95 ปี พู้นล่ะเด้อ บทบาททางการเมืองระหว่างแม่ญิงกับผู้ชายจังซิซำกัน

มาฮอดนี่หลายคนบอกว่า คือ 

พาออกไปไกลแท่ มันเป็นตาหน่ายเด๊ะ อีหยัง คือมีแต่ตัวเลข แต่ผู้เขียนอยากสะท้อนว่า คนเฮาคันซิเว่า หรือถ้ามากไปกว่านั้น ถ้าซิเขียนบทความ มี argument อีหยัง กะให้มันมีมุมมอง มีข้อมูลอ้างอิงนำแหน่ และที่สำคัญที่สุดที่ข่อยเอาข้อมูลทั้งเบิดมาเขียนนี่ กะเพื่อซิยืนยันว่า เฮาบ่ได้อยู่ในโลกที่มีความเท่าเทียมทางเพศ และที่สำคัญในประเทศไทยแม่ญิง ผู้ชายและกะ LGBTIQ กะบ่ได้ซำกัน มันกะเลยจำเป็นซิต้องมีหลักการมาอธิบาย เช่น การที่ซิอธิบายว่า เป็นอิหยังผู้ญิงอิสาน คือบ่ได้เฮียนหนังสือสูงซำผู้ชาย เป็นอีหยังคือไปแต่งงานกับชายชาวต่างชาติ ฯลฯ 

ความพยายามซิอธิบายเรื่องเหล่านี่มันต้องอิงกับบริบท มีข้อมูลที่เป็นหลักการ เช่น หลักการเรื่องเพศภาวะ/gender เรื่องสิทธิมนุษยชน รายงานขององค์กรต่างๆ ที่เฮ็ดงานด้านนี่ และที่สำคัญที่สุด คือ การเว่าประเด็นเชิงสังคม มันต้องเว่าผ่านหลักการและกะระมัดระวังการตัดสินตีตราที่มีรากฐานมาจากอคติทางเพศและอคติทางชาติพันธุ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากระบบวิธีคิดแบบชายเป็นใหญ่

ท้ายสุดนี่ ขอสารภาพว่า ข่อยบ่อยากเชื่อว่ายังมีคนจำนวนนึงในสังคมไทยที่บ่เข้าใจคนลาวและคนสำมะปิชาติพันธุ์ในอิสานปานนี้ เบิ่งจากบทความนี่แล่ว มันสะท้อนความบ่เข้าใจและอคติต่อแม่ญิงอิสานหลาย 

อยากแนะนำให้ลองไปเบิ่งหนังสารคดีเรื่อง Heartbound (หรือในชื่อไทยว่า ‘รักเอย’) เด้อ  อย่าปล่อยให้ “วาทกรรมแบบ โง่ จน เจ็บ” ยังมีอิทธิพลอธิบายปรากฏการณ์ในสังคมไทย จนบ่ว่าซิเว่าเรื่องอิยั๊ง มันก็บ่หนีบ่พ้นมุมมองและคำอธิบายที่บ่ได้คำนึงถึงบริบทเลย 

ถ้าอยากให้สังคมเฮาหลุดจากวาทกรรมนี่อีหลี กะอยากท้าทายให้หาข้อมูลเรื่องความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ซึ่งสูงเป็นอันดับหนึ่งในโลกตอนนี้ ละมันกะซิมีข้อมูลอื่นๆ อีกเดะ ที่น่าสนใจ เช่น บ่ว่าซิเป็นเรื่องอัตราการเก็บภาษีระหว่างคนจนกับคนรวยว่า ไผจ่ายในอัตราที่สูงกว่ากัน แล้วกะเงินภาษีมันไปรับใช้ ไป serve คนรวยกับคนจนในสัดส่วนจังใด๋ ภาษีถืกเอาไปใช้ในกรุงเทพฯ กับทั้งประเทศ มันมีสัดส่วนจังใด๋ มันเป็นธรรมบ่ 

รวมถึงลองอ่านข้อเสนอต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เช่น การกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น การถือครองที่ดินที่เป็นธรรม การรองรับสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง/ชนกลุ่มน้อย การสร้างการมีส่วนร่วมในสังคม การสร้างความเป็นธรรมทางเพศ โดยเอื้อให้ผู้หญิงเข้าไปมีบทบาทในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในทุกระดับ รวมถึงแผนปฏิบัติการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ซั่นแล่ว

image_pdfimage_print