กิตติศัพท์หนาหู ซ่ากันอี้หลี ว่าหนังเรื่อง “ไทบ้าน” (ไทบ้านเดอะซีรีส์, สุรศักดิ์ ป้องศร กำกับ, 2560) นี่ม่วนคัก… ถ่ายหนังอยู่ในศรีเกษบ้านเฮาพ้อม แม่ข้อยว่า ซุมโรงพยาบาลศรีเกษยกพวกไปเบิ่งเป็นสิบๆ คน ขนาดว่าตอนนั้นเข้าฉายมาได้สามอาทิตย์แล้วเด๊ะ กะยังยืนโรงอยู่มื้อละหลายรอบ… ได่ยินว่าสั้นข้อยกะเลยตัดสินใจ้ไป้เบิ่งน่ำ

สมัยฉันยังเด็กเมื่อราวสิบห้าปีก่อน โรงหนังซุ่นเฮง (ภาษาแต้จิ๋ว แปลว่า “ราบรื่น-มีโชค”) เมืองศรีสะเกษ จะมีตั๋วสามราคาคือ 30 บาท นั่งแถวหน้าๆ 40 บาท นั่งแถวกลางๆ และ 50 บาท นั่งแถวหลังๆ ทุกวันนี้ราคาตั๋ว 70 บาท แต่ถ้าดูหลังสี่โมงเย็นวันธรรมดาจะลดราคาเหลือ 60 บาท ขณะที่ตามกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ราคาตั๋วหนังเริ่มต้นที่ 140 บาท ทำให้ฉันสงสัยเหมือนกันว่า ถ้านำรายได้ค่าตั๋วหนังกว่าสี่สิบล้านบาทที่ “ไทบ้านเดอะซีรี่ส์” ได้โกยไปแล้ว มาปรับให้อิงราคาตั๋วของกรุงเทพฯ ที่หนังทั่วไปใช้คำนวณรายได้ หนังเรื่องนี้จะเป็นหนัง “ร้อยล้าน” กับเขาได้ไหม

การได้เห็นเมียงเกิดของเจ้าของบนจอหนัง บ่ว่าสิเป็นห้างสรรพสินค้าซุ่นเฮงคู่บ้านคู่เมียง นักเรียนโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย (สังเกตได้จากโตอักษร “ศ.ก.ว.” เทิงเอิ๋กเสื้อ) อะควอเรียมมีอุโมงค์เบิ่งปลาบึก มั่นเป็นควมฮู้สึกทีสุดยอดแฮง โดยเฉพาะฉากที่พระ-นางย่างเข้าไป้เบิ่งหนังอยู่ซุ่นเฮง แล้วเทิงโตเฮากับโตละคอนบนจอกะนั่งพิ่งเก้าอี้กำมะหยี่สีแด้งคื่อกั้นเล่ย ข้อยฮู้สึกตืนต้าตืนใจ้อี้หลี

แต่กะเน๊าะ… ใช้สถานที่ศรีสะเกษแล้วคือจั่งบ่ใช้สำเนียงศรีสะเกษนำ…

บ่วาสิเป็นพระเอก “จ่าลอด” ผู้สาวเทิงสอง “ครูแก้ว” กะ “หมอปลาวาฬ” แม้แต่บักฝลั่ง “เฮิร์บ” กะมีสำเนียงแตกต่างออกไป้ท่างอืนทั่วทีปทั่วแด้นอี้สาน ตามแต่โตนักสะแด้ง แต่สิหาผู้ใด๋สำเนียงคือข้อยหนิบ่มีจ้อย

หมู่ของข้อยเคยบอกว่าสำเนียงลาวศรีสะเกษเว้าผญาบ่ม่วน ต้องเป็นสำเนียง “ค่นอูบ๋ล…” มันจั่งจั๋บใจ้! พอข้อยสิสอนภาษาลาวอี้สานให้ชาวต่างชาติเฮียนกะบ่สอนสำเนียงศรีสะเกษเด๊ะ ย่านผู้อื่นหัวใส่ กะสิสอนสำเนียงอุบล สำเนียงขอนแจ่นไป้ โตข้อยกะคื่อกั้น ไปเฮ็ดงานเปนล่ามเป้นนายภาษาอยู่ขอนแก่น อยู่หนองบัว อยู่ชัยภูมิ กะสิพยายามเว้าสำเนียงอุบลไป้ แต่มั๊นกะแคดแลดศรีสะเกษตลอด (กะบ่ได้อยากอายสำเนียงเจ้าของได๋ แต่ว่าลางเทียกะฮู้สึกว่าบ่อยากเว้าออกศรีสะเกษหลายโพด มันบ่เข้าพวกยามอยู่หม่องอื่น)

ลาวสำเนียงศรีสะเกษ นอกจากจะห้วนและเร็วเหมือนสำเนียงแถบอีสานใต้และลาวใต้ส่วนใหญ่แล้ว ลักษณะเด่นคือคำอักษรกลางเสียงสามัญเช่น “กิน เบียร์ ไป ตาย” จะออกเป็นวรรณยุกต์เสียงตก “กิ้นๆ ไป้ๆ” ฟังดูตลกในมุมมองคนพูดลาวสำเนียงอื่น เอกลักษณ์เช่นนี้สันนิษฐานว่ามาจากการที่คนชาติพันธุ์กูยหรือกวยที่อยู่ศรีสะเกษมาก่อน รับภาษาลาวเข้ามาเป็นภาษาสื่อสาร ภาพ: สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ โดย ปรีชา พิณทอง หน้า M

กะให้น้อยเอิ๋กน้อยใจ้ หน้าบูดเป็นตูดจ่าลอดอยู่จั๋ก 10-15 นาที จั่งค่อยเกิดตระหนักได้ว่า ฉากในหนังอยู่ต่างอำเภอซึ่งเว้าคนละสำเนียง…! อำเภอยางชุมน้อย ซึ่งแต่กี้แต่ก่อนกะอยู่ในอำเภอเมียงฯ หนิหละ เป็นอำเภอที่มีสำเนียงลาวหลากหลายแฮง บ้านยางชุมใหญ่กะสิออกไป๋ท๊างเนอๆ เล๊ย ห่างไปบ่พอ 2-3 กิโลเมตร บ้านจอมกะสิไปอีกแนว บ้านโน้นคู้ณกะบ่คื้อกั่น คนในเมียงอย่างข้อยกะบ่ได้ฮู้นำเพิ่นปานใด๋ เบิ่งเอาในหนังสือสารานุกรมอีสานของพ่อใหญ่ปรีชา พิณทอง ลาวกะเขียนชาร์ตสำเนี่ยงอีสานไว้แค่สิบสองสำเนี่ยงท่นั้น บ่ได้มีบันทึกไว้ดอกสำเนียงของบ้านโนนคูณ บ้านเกิดของผู้กำกับไทบ้านเดอะซีรี่ส์

บัดนี้พอเกิดควมเข้าใจ กะเลยเกิดจิตป่อยวาง ในที่สุดกะเกิดพุทธิปัญญาขึ้นมาว่า: เอ้อ นี่หละ ควมเปนอีสานสมัยนี้คือควมที่มันบ่มีศูนย์กล้าง ต่างกะเป้น “ชายขอบ” ซึ่งกั้นแลกั้น บอได้เป็นศัตรูผู้ใด๋ อยู่ร่วมกั้นไป้จั้งสี้ บ้านโนนคูณเป็นชายขอบของเมียงศรีสะเกษ เมียงศรีสะเกษกะเป็นชายขอบของบ้านโนนคูณคื่อกั้น

คึดได้จั่งสี้แล้ว มันกะบ่สำคัญสำหรับข้อยท่ใดว่า ไทบ้านเดอะซีรี่ส์ มันใช้สำเนียงอี้หยัง

โปรดสังเกตว่า มี “ภาษาอีสาน” เพียง 9 สำเนียงที่ได้รับการบันทึกรายละเอียดฐานเสียง โดยจำแนกเป็นจังหวัดตามกระทรวงมหาดไทย ชวนให้นึกถึงชื่อตัวละครต่างๆ อย่าง อุบล เกษ รินทร์ ภูมิ แก่น ฯลฯ ในภาพยนตร์เรื่อง ฮักนะ ’สารคาม (ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ กำกับ, 2554) ที่เป็นกิมมิกชวนให้นึกถึงความเป็นอีสาน (และความเป็นกรุงเทพฯ ของตัวละครเอก “เทพ” ผู้ตอนท้ายเรื่องก็ยอมรับความเป็นหมอลำอีสานของตนเองที่สุด) แต่มิได้มีความหมายเฉพาะตัวลึกลงไปกว่านั้น และโปรดสังเกตอีกว่า ข้อ 1-3 มีการบอกภาษาว่าเป็นภาษาไทยหรือภาษาลาว แต่ตั้งแต่ข้อ 4-12 ไม่มีการบอกชื่อภาษา ภาพ: สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-
อังกฤษ โดย ปรีชา พิณทอง หน้า J

หฤษฎ์ มหาทน นักเขียนและอดีตนักโทษการเมียงคนขอนแก่น เคยตั้งโจทย์ไว้ว่า คนอีสานรุ่นใหม่นี้ สิต้องมาร่วมหาคำนิยามกันว่า ควมเป็นอีสานสำหรับคนรุ่นเฮาหนิ มันเป็นจั้งใด๋ คนรุ่นที่บ่ได้อึ๋ดอยากปากกั๋ดตี้นถีบคือคนรุ่นแรก และบ่ได้ใฝ่ฝันอยากสิเป็นเจ้าคนนายคนคือคนรุ่นสอง แต่เป็นคนรุ่นสามที่มีการศึกษา แต่กะยังมีควมฮู้สึกว่าถืกมองว่าแตกต่างและหลายๆ เทียกะต่ำต้อยกว่าผู้อื่น คนรุ่นสามที่บ่ได้กลายเป็นคนกรุงเทพกรุงไทย แต่กะบ่แม่นแบบส.ป.ป.ลาว คื่อกั้น!

ควมคึด ควมฝัน แฟชั่น แนวกินแนวอยู่ ของคนรุ่นเฮา ที่เป็นโตของโตเจ้าของ — นี่คือสิ่งที่หมู่เฮาต้องซ่อยกันซอกแสวงหาคำตอบ

“ไทบ้านเดอะซีรี่ส์” สำหรับข้อยแล้ว คือส่วนหนึ่งของคำตอบนั่น หนังที่บ่สามารถขอทุนสร้างจากกรุงเทพฯ ได้ แต่กะมีทุนภูธรสนับสนุน หนังที่บ่ใช้นักสะแด้งค่าโตสูงมาเป็นโตดึงดูดรายได้แต่กะได้รายได้เป้นกอบเป้นก้ำ

คันเบิ่งในโตหนังเอ้ง กะสิเห็นว่า ภาพของควมเป็น “เจ้าคนนายคน” อย่างข้าราชการครู หมอ ผู้ใหญ่บ้าน กลับบ่ได้เป็นสิ่งที่ต้องมามีอำนาจเหนือไทบ้าน ถึงแม้ “ครูแก้ว” กับ “หมอปลาวาฬ” สิรูปงามนามเพราะปานใด๋ พระเอกไทบ้านของเฮากะเป็นผู้มีอำนาจเลือก ถึงแม้ผู้ใหญ่บ้านสิมีอำนาจประกาศผ่านเครื่องเสียงว่าห้ามผู้ใดไปซ่อยเฮ็ดนาลูกชายตน แต่ไทบ้านกะยังหลบเลี่ยงคำสั่งไปซ่อยได้เมื่อเห็นต้นเข้าล้มระเนระนาดในนา

และภาพควมอึ๋ดอยากต้องขุดหาเผียกหามันของคนอีสาน กะเหลือเป็นฉากเล็กๆ ชวนหัว ตอนที่เด็กน้อยตีกันในห้องเรียน พระเอกลาวไปห้าม พอถามเด็กผู้หนึ่งว่าเป็นหยังจั่งตีกัน มันชี้หน้าหมู่มันแล้วตอบว่า
“มันกิ่นยางลบผมครับ”
“มันหอม กู่หิวกะเล้ยกิ่น” น้องชายของพระเอกผู้เป็นตัวการให้เหตุผล แล้วกะหันไปหาพระเอกแล้วว่า
“ไสหละซ้าวบาทกู่” มันทวงเงินที่พระเอกลาวบ่ยอมให้ แต่เอาไปเลี้ยงผู้สาวแทน
ตอนเบิ่งฉากนี้ในโรงหนัง ข้อยได้ยินแต่เสียงหัว เทิงของข้อยและของผู้อื่นอีกหลายสิบชีวิต

นอกจากนั้น กรุงเทพฯ กะบ่แม่นศูนย์กลางที่ต้องอยู่ในควมนึกคึดตลอด บัก “ป่อง” ลูกผู้ใหญ่บ้าน จบบริหารธุรกิจมาแต่กรุงเทพฯ เว้าแต่ภาษาไทย สุดท้ายกะยังนับเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทบ้าน เถิงแม้ว่าสิขาดๆ เกิ้นๆ คื่อค่นบ่พอ ที่บ่เห็นแนวสิประสบควมสำเร็จได้อี้หลี แต่หนังกะบ่ได้เฮ็ดให้ “ป่อง” เป็นขั้วตรงข้ามของพระเอก และที่แน่นอนกะคือ “ป่อง” บ่คึดอยากหลบกั๋บไป้หาผู้สาวคน กทม.

บ่ว่าสิเป็นสำเนียงอีหยังกะอยู่กันได้อย่างเสมอภาพ ภาษาไทยกะภาษาลาวบ่ได้เป็นปฏิปักษ์ตอกั้น เฮาสามารถได้ยินพระเอกเว้าว่า “ขอโทษมากๆ” เป็นสำเนียงไทยมาตรฐาน ในประโยคเดียวกับทีคำอื่นๆ เป็นสำเนียงลาวได้โดยบ่ขัดเขิน

คือเฮาสิอยู่ในยุคที่ควมเป็นอีสาน ควมเป็นศรีสะเกษ ควมเป็นบุรีรัมย์นี่ มันสิสรรค์สร้างไปทางใด๋กะได้เนาะ “ความเป็นอีสาน” กล้ายเป้นสัญญะเลื่อนลอยแล้วแต่ว่าเทศบาลแต่ละเมียงสิสรรหาเอกลักษณ์มาตบแต่งให้มันเกิดมันมีขึ้นมา ส่วนโตตนเก่าๆ กะฮอดเวลาค่อยๆ เลือนหาย

คือจั่งศรีสะเกษนี่ สำเนียงซึ่งเกิดแต่ลูกหลานคนกวยคนส่วยมาหัดเว้าลาว กะบ่ได้ถืกเชิดชูเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ในเมื่อบัดนี้มีอะควอเรียมแสดงปลานานาพันธุ์สุดบรรเจิดมาแล้ว ควมหลากหลายทางเครือญาติชาติพันธุ์ ส่วย ลาว เขมร เยอ ดั่งเดิ้ม กะบ่ได้เป็นจุดขายท่ใด๋แล้ว คือกันกับผามออีแดงกะเขาพระวิหาร ยามนี้ผู้ใด๋ไปเที่ยวผามออีแดง กะบ่ได้ไปเบิ่งของโบราณท่กับไปสัมผัสควมงามอันลอยล่องของทะเลหมอกแล้วหละเนาะ.

ป้ายโฆษณาเขียนมือสำหรับภาพยนตร์เรื่อง ไทบ้านเดอะซีรี่ส์ ริมตลาดสดศรีสะเกษ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับทุนสร้างจาก “เสี่ยโต้ง” สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ นักธุรกิจและนักการเมืองถิ่นเมืองศรีสะเกษ ลูกชายนายกเทศมนตรีตลอดกาลของที่นี่ เงื่อนไขการให้ทุนกำหนดให้ใช้ฉากตามแลนด์มาร์กต่างๆ ของศรีสะเกษ ซึ่งรวมไปถึงโรงหนังในห้าง “ซุ่นเฮงพลาซ่า” ที่เป็นเจ้าของป้ายนี้อีกด้วย ฉันสงสัยว่านี่จะเป็นโมเดลการอุปถัมภ์งานศิลปะภาพยนตร์ของอีสานศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ดหรือเปล่า ที่คนรวย (เชื้อสายจีน) ในตัวจังหวัดจะเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับศิลปินไทบ้าน (เชื้อสายอื่น) นอกเมือง

image_pdfimage_print