คาเงะ – ธีระวัฒน์ มุลวิไล ศิลปินศิลปาธรสาขาศิลปะการแสดง ผู้คร่ำหวอดในวงการการละครและการแสดงของบ้านเรา ผู้ร่วมก่อตั้ง “B-Floor” คณะละครแนว physical theatre ที่สื่อสารผ่านการใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย ผลงานที่ผ่านมาของเขามักได้รับการกล่าวถึงในแง่การสื่อสารประเด็นทางสังคมและการเมือง โดยเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวกับสามัญชนที่ได้รับความรุนแรงจากการกระทำโดยรัฐ 

ที่ผ่านมา คาเงะและ B-Floor เดินทางแสดงทั้งในไทยและต่างประเทศ นอกจากนี้ นับตั้งแต่ครั้งแรกที่ Ubon Agenda ลงพื้นที่บ้านสะพือและเริ่มทำงานเรื่องขบวนการผู้มีบุญ เขาได้ร่วมแสดงพร้อมกับคณะราษฎรัมส์ กระทั่งครั้งที่สองที่คาเงะทำการแสดงในพื้นที่จริง ณ โนนโพธิ์ บ้านสะพือ และ 4 เมษายน 2567 เป็นอีกครั้งที่คาเงะเดินทางมาที่อุบลราชธานี เพื่อร่วมสังเกตุการณ์ ในโอกาสนี้ ผู้เขียนใช้โอกาสนี้พูดคุยกับเขาในเรื่องของศิลปะแห่งการต่อต้าน ไปจนถึงเรื่องราวของขบวนการผู้มีบุญ โดยบทสนทนาเป็นภาษาลาว

ตั้งแต่เฮ็ดงานเฮ็ดละครมา งานของ B-Floor มักพูดถึงเรื่องการเมือง การต่อต้านอำนาจ ความรุนแรง เป็นหยังพี่คาเงะคือได้สนใจมาทำงานในประเด็นพวกนี้

จริงๆ มันทั้งเกี่ยวและบ่เกี่ยวกับ B-Floor เพราะว่าการเดินทางเฮาคือ การได้มาเจอกับกลุ่มพระจันทร์เสี้ยวการละคร ช่วงนั้นกะได้มีโอกาสเจอกับหมู่คนเดือนตุลา 14 ตุลาคม 6 ตุลาคม สมัยปี 2538-2539 แล้วกะได้มาเฮ็ดละครอยู่กับหมู่พระจันทร์เสี้ยวซึ่งกลับมารวมโตกันใหม่ คือเขามีประวัติศาสตร์ตั้งแต่ปี 2514-2519 มาแต่โดนอยู่แล้ว แต่ว่าเขาแยกย้าย พอมาเฮ็ดพระจันทร์เสี้ยวใหม่เฮากะเลยกลายมาเป็นสมาชิกใหม่ 

ตอนนั้นหลายคนกะเฮ็ดอยู่แสงอรุณเฮ็ดอยู่ได้ 1 ปีกะพัง เพราะว่ามันมีกรณีของต้มยำกุ้งปี 40 แต่ว่าจากประสบการณ์ใน (การเฮ็ดละคร) ครั้งนั้น มันส่อยให้เฮาได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการละคร บ่ว่าสิเป็นเรื่อง Body ร่างกาย เรื่องเกี่ยวกับสังคม เพราะว่าได้เจอกับคนรุ่นนี้และก็ได้ฝึกฝนตัวเอง 1 ปี และกะเฮ็ดละครไป 4-5 เรื่อง มีเงินเดือน หลังจากจบมหาลัยได้บ่กี่ปีกะโฟกัสกับการเฮ็ดละครเลย เลยกลายเป็นต้นทุน 

เฮาคึดว่าการเฮ็ดงานศิลปะแบบซีเรียสกะได้ เฮ็ดเป็นแท้เป็นว่ามีเงินเดือนจังสินา แล้วที่นี่ เฮ็ดมามันก็มีความฮู้สึกว่า เฮายังติดอยู่กับการเฮ็ดงานศิลปะ เฮาต้องลงทุนลงแรงจริงจังกับมันก่อน แต่ว่าผลพลอยได้กับการเล่นละครเนี่ย ได้ไปเล่นหนังแหน่ได้ไปเฮ็ดนั่นเฮ็ดนี่แหน่ ได้ไปเฮ็ดโฆษณา กะเลยกลายมาเป็นทั้งเฮ็ดสิ่งที่เฮามักแล้วกะได้เงินนำ เฮ็ดอีหยังกะได้แต่ให้มีรายได้ ละกะเอาเงินรายได้พวกนี่เฮ็ดหนังที่ได้จากการเล่นหนังมาลงทุนเฮ็ดละครที่เฮาอยากเฮ็ด 

แล้วก็เฮ็ดละครในแง่มุมของสังคมการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนพี่เงะให้เฮ็ดประเด็นทางนี้มาตลอด

แหม่น มันจะมีเรื่องเกี่ยวกับแรงบันดาลใจในเรื่องของหนังสือ อ่านหนังสือวรรณกรรมในยุคของเพื่อชีวิต เพลงเพื่อชีวิต ก่อนที่เขาจะเปลี่ยน (หัวเราะ) หนังกะมีส่วนในการ shape เฮา เฮากะสิเบิ่งหนังที่มันยาก บ่แม่น Hollywood ที่มันง่ายๆ มีพล็อตกันบ่กี่อย่าง หนังก็มีความลึกที่เบิงแล้วเฮ็ดให้เฮาได้คิด 

เฮาฮู้สึกว่าองค์ประกอบงานศิลปะต่างๆ มาส่อยเฮาหลายอย่าง แต่ว่าประเด็นกะคือว่าเวลาที่เฮาสิเฮ็ดเป็นละคร หรือว่าเป็นอีหยังมันกะสิได้เรื่องราวจากเรื่องจริง บ่ว่าสิเป็นการทำงานของรัฐบาลต่างๆ เช่น ในยุคของทักษิณเองเนี่ยมันกะสิมียุคที่มันดี หรือยุคที่มันปราบปราม บ่ว่าจะเป็นเรื่องภาคใต้ เรื่องเกี่ยวกับสงครามยาเสพติด เรื่องที่ดินรัชดา เฮากะเลยเห็นว่า กะสิสนใจการเมืองเชิงโครงสร้างอยู่แล้ว แต่พอมาเจอ Story ที่มันมีเรื่องรัฐบาล มีคนแท้ๆ เล่น หลายอย่าง เฮากะเลยเอาเรื่องราวหมู่นั้นมาแปลงเป็นเชิงสัญลักษณ์แล้วส่งสารออกไป 

คือละครเฮาบ่ได้เป็นละครเว้า มีพล็อตเรื่องไอ้นี่มันคือตัวดี ไอ้นี่มันคือตัวนี้ เหมือนกับเอาเหตุการ์ณจริงมาเล่น บ่แม่นจังซั่น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในละครเฮาเทียบเคียงกับเหตุการณ์จริงได้ กะคือเฮามองว่าศิลปะมันเป็นตัว Reflect เฮาเล่นแล้วทำให้คนฮู้สึกนึกถึงเหตุการณ์บางอย่างได้หรือเทียบเคียงได้ หรืออาจจะนึกถึงเหตุการ์ณอื่นๆ กะได้ บ่แหม่นแต่เหตุการณ์เดียว

คือจังพี่คาเงะเคยเว้าแหม่นบ่ว่า ทำให้เขารู้สึกตรงๆ แต่เราพูดอ้อมๆ 

แหม่น

ศิลปะมันต่างอีหยังการที่คนไปเว้าตรงๆ ไปปราศัยในม็อบ ไปเว้าตู้มต้ามๆ ไปเว้าตรงไปตรงมา การเฮ็ดงานศิลปะเเบบที่เฮาเฮ็ดนี่ ต้องมานั่งคึดแล้วคึดอีกว่าต้องใช้ Body แบบได๋ ต้องใช้ตีความการเคลื่อนไหวแบบได๋ เป็นหยังเฮาคือบ่เว้าตรงๆ เลย 

จริงๆ คันว่าสังคมเฮามันเว้ากันตรงๆ แล้วฮู้เรื่อง โป๊ะป๊ะๆ โอ้ว กูเข้าใจแล้ว 

กูเปลี่ยน มันกะสิจบเนาะ มึงคือเฮ้ดจังสิมึงซั่ว กูยอมฮับ โอเค กูเปลี่ยน… แต่มันเป็นบ่ละ มันก็บ่เป็น ขนาดว่าม็อบที่เขาเรียกร้องอีหลี เขาปราศัยตรงๆ เรียกร้อง 3-4 ข้อ ไปเว้าสื่อๆ ตรงๆ ใส่หน้า ไปเว้าฮอดหน้ารัฐสภา มันกะบ่เปลี่ยน มันมึน มันด้าน อีหยังแบบนี้ แต่ว่าในฐานะของการเรียกร้องมันกะสิมี Level แบบนั้นอยู่แล้ว ว่าสิเรียกร้องตรงๆ ต้องการ 1 2 3 4 5 6 7 8 มันกะสิมีคนไปเว้าจังซั่นอยู่แล้ว แต่สังเกตุว่า คันคนที่เป็นชาวบ้านทั่วไป การเข้ามามีส่วนร่วมเขากะสิไปฟังเนาะ หรือบางทีเขากะจะแต่งโตขึ้นมา สร้าง character บางอย่างขึ้นมา หรือบางทีเขียนบนไอเเพดขึ้นมา กูมีข้อความของกู บางทีมันกะมีวิธีการบิด วิธีการเล่นของเขา 

คือพอเป็นม็อบสมัยใหม่ อย่างเช่น อยู่ๆ การแล่นแฮมทาโร่หนิกะเกิดเป็นมิติอีกแบบหนึ่งขึ้นมามากกว่าการด่าตรงๆ แหม่นบ่ ด่าตรงๆ ถ้ามันสำเร็จมันกะจบแล้ว แต่ถ้าเขาสิเปลี่ยน เอ้า…มึงด่ากู เออแม่น กูเห็นด้วย กูเปลี่ยนเลย มันกะบ่แม่นจังซั่นแม่นบ่ละ แต่การบิดการพลิก หรือการแต่งโตของทนายอานนท์เป็นแฮรรี่พอตเตอร์ เพื่อที่จะเว้าเรื่องการปฎิรูป 112 หรือสถาบันกษัตริย์ หรือการเฮ็ดกิจกรรมงานศิลปะที่หลายอย่าง กะเพื่อให้คนมีส่วนร่วม การที่ว่าคนไประบาย ไปเขียนสีบนท้องถนนทั้งเขียนข้อความตรงๆ หรืออ้อมๆ บางคนก็มีความฮู้สึกสะใจที่ว่าอ้อมๆ แต่รู้สึกตรงๆ

แล้วที่นี้พี่คาเงะตีความว่าสุนทรียะแห่งการต่อต้านคืออีหยัง

คือ… เวลาเฮาเว้าถึงการต่อต้านมันกลายเป็นว่า ขั่นหมู่เฮาเว้าอีหยังซักอย่างหนึ่ง แล้วเฮาบ่มัก เฮากะสามารถที่จะโต้ตอบตอบไปได้เลยแหม่นบ่ เอ้า! มึงเว้าจังสิ อันนี้คือการต่อต้านบ่ แต่ว่าตรงนี้มันก็คือ Agument เนาะ มันก็คือ Conversation การโต้แย้งโต้เถียงกันปกติ แต่ว่าเวลาเฮาเว้าเรื่องการต่อต้านกะแสดงว่ามันมีอำนาจที่กดทับเฮาอยู่ที่เฮ็ดให้เฮาบ่สามารถเว้ากันตรงไปตรงมาได้ 

ที่เฮาสามารถบอกว่านี่คือการต่อต้าน คันแม่นเว้ากัน กะสิเป็น Conversation กูบ่เห็นด้วย แสดงว่าเฮายังมีสถานะที่เสมอกันแหม่นบ่ ถ้าเวลาเว้าถึงการต่อต้านแสดงว่ามันต้องมีอำนาจที่มันใหญ่กว่า ดังนั้นเฮาจึงใช้คำว่า “ต่อต้าน” ได้ กะแสดงว่าสิ่งนั้นมันเป็น Power อำนาจ รัฐ ระบบ ระเบียบ หรืออีหยังที่มันกดทับ มันมีความฮู้สึกว่า เวลาเฮาใช้คำว่าต่อต้านมันถูกกดขี่โดยอำนาจกับคนที่บ่มีทางสู้ ดังนั้นสิ่งที่เขาจะแสดงออกได้คือการต่อต้าน บ่ว่าสิด้วยการด่า การลุกขึ้นมาทำม็อบ ลุกขึ้นมาร้องเรียน ลุกขึ้นมาไปทางที่เรียกว่ากฏหมายปกติที่คนสิเฮ็ดกัน แต่มันบ่ค่อยเวิร์ค เวลาเฮาเห็นการต่อต้าน เฮาเลยเห็นท้องถนน เพราะอะไร มัน catch eyeballs มันจับตาสื่อ 

คืออย่างเมื่อ 2 มื้อก่อน มีรถที่เป็นรถไฟฟ้า รถมันเสียเทิงทางด่วน มีลูกน้อยมานำ แล้วติดต่อมาหาบริษัท บริษัทมันก็บ่หือบ่อือ จนกระทั่งสองวันที่แล้วที่งานมอเตอร์โชว์ เอาป้ายขึ้นไปว่ารถดับกลางวันแสกๆ นะ แล้วเขากะบอกนะว่ายี่ห้ออีหยัง แล้วทุกคนสนใจ ตำรวจมานู้นนั้นนี่ ทั้งๆ ที่คนนี่เว้าเรื่องจริง เว้าเรื่องจริงกันสองวันที่แล้ว กูโทรไปแล้วมึงบ่กระเตื้องหยัง แล้วนี่งานมอเตอร์โชว์ กูเลยเอาป้ายว่านี่คือเรื่องจริง เรื่องจริงเหมือนกัน เวอร์ชั่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าเป็นหยังมึงคือบ่เฮ็ดให้มันโอเคในจังหวะปกติ คะซั่นกูกะบ่มาเฮ็ดจังสิดอก พอมาจังหวะแบบนี้นี่คือการต่อต้าน ต่อต้านและเรียกร้อง

การแสดงชุด ‘เจิงจ้ำ-ล่ำเปิง’ โดย คาเงะ – ธีระวัฒน์ มุลวิไล (ภาพโดย Kho Rachasit)

กะแปลว่าศิลปะของการต่อต้านมันมีหน้าที่ในช่วงเวลาที่สิ่งปกติ มนุษย์เฮ็ดอย่างเช่นการการคุยกัน การเว้ากันตรงกันมา มันเฮ็ดบ่ได้  วิธีการทางศิลปะ มันกะเลยเข้ามามีส่วนร่วม แล้วสำหรับพี่คาเงะ ความทรงพลังของมันคืออีหยังครับ

เฮามีความฮู้สึกว่ามันทำงานกับคนที่กำลังเรียกร้องหรืออยากเฮ็ดอีหยังเอง แบบอยากออกมาเรียกร้องโดยเจ้าของเอง ก็คือมันได้ระบาย โอเค ระบายหนึ่งอาจจะเป็นเขียน Facebook ระบายสองอาจจะร้องเรียน ระบายสามกูเริ่มขยับตัวเองออกมา หรือเป็นอีหยังกะได้ที่มันเรียกว่า Public เป็น Public แบบ Confront มันกะยาก เวลาเฮาบอกว่า Public เปิดเฟซบุ๊กนี้มันกะอันหนึ่เนาะ แต่ว่ามันยังรู้สึกว่าไผกะได้อันนี้ แต่การแบบออกไปเว้า อยู่ๆ กะออกไปเฮ็ดอีหยังสักอย่างในที่สาธารณะแท้ๆ เลย โดยที่คนๆ นั้นบ่ได้เป็น Performer บ่ได้ผ่านการฝึกว่ากูเป็นนักแสดง กูกะคือคนธรรมดาแต่กูมี Passion อย่างนี้ มันต้องจัดการกับตัวเองหลายอย่าง เเต่พอเว้าไปแล้ว เหมือนเป็นการระบาย มันเป็นการปลดปล่อย ปัญหาของเขา มันได้ในระดับส่วนโตกะคือกูบ่เป็นบ้านั่นน้า 

สมัยก่อนเฮาก็มีความฮู้สึกที่ว่าศิลปินกะคือคนที่คิดอีหยังที่มันซับซ้อน เห็น Details บางอย่างที่คนบ่ได้เห็น เขียนอีหยังที่คนบ่ได้คึดถึง ระบายออกมาทางงานวรรณกรรม งานเพลง งานเขียน แต่เมื่อมันได้ระบายออกมาเป็น Public ไปแล้ว มันกะคือความสำเร็จ แต่ว่าเวลาเฮาเว้าถึงประเด็นการต่อต้าน มันกะสิใหญ่ขึ้นไปอีก มันบ่แม่นแบบว่า กูความรักขม รันทด แฟนหนี พวกนี่มันเป็นความขัดแย้งระดับเบเบ (baby ระดับปัจเจกเล็กๆ น้อยๆ) แต่นี่คือ Public interest บางคนเว้าเรื่องสิ่งแวดล้อม เว้าเรื่องป่า เรื่องเหมือง เรื่องสิทธิ เรื่องโลกร้อน เขาบ่ได้เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางแล้ว แต่เอาเรื่องราวความทุกข์ยากของคนอื่นมาเล่าแทน 

บางทีเขาบ่ได้เดือดร้อนเอง แต่ว่าเขากะจะเริ่มมองเห็นว่าศิลปะคือสื่อหรือ Medium หนึ่งในการที่จะถ่ายทอดความทุกข์ยาก ถึงแม้ว่าอาจจะบ่แม่นเรื่องของเขาแต่ว่าสำนึกความเป็นศิลปินอีกอย่างหนึ่งกะคือว่า เขาเองก็ต้องรู้สึกว่าเขาคือพลเมืองหรือประชากรในนั่นนำ เขาบ่ได้ต้องการแยกตัวออกมาเป็นคนมี Privilege ที่เหนือกว่าคนอื่นแล้วบอกว่ากูเป็นศิลปินนะ เออนี่คือปัญหาของมึงแต่กูไปส่อยพวกมึงอยู่นะ แต่ว่าขั่นศิลปินที่มีสำนึกของความเป็นพลเมือง มันกะคือคนต้องถ่อกันอยู่แล้ว มันปัญหาของไผ มันก็เป็นปัญหาสังคมหรือโครงสร้าง มันเป็นเรื่องเดียวกัน (แล้วแต่ว่าศิลปินจะจัดวางตัวเองในจุดไหนในปัญหาที่มันอยู่ระนาบเดียวกัน : ผู้สัมภาษณ์)

การแสดงชุดถังแดง (ภาพโดย B-Floor Theatre)

บาดนี้เป็นหยังพี่คาเงะคือสนใจเรื่องผีบุญ และกะยังตามมาตลอด

คือเคยได้ยินมา  และเพราะว่าได้เจอกับอาจารย์หนอม (ถนอม ชาภักดี) นำ ลาวกะเว้าให้ฟัง ละเลากะว่า เดี๋ยวเฮาสิมาลงพื้นที่นะ มาเจอชาวบ้านเลย มาเว้ากับเขา มาคุยกัน อาจมีการแบบว่าพักค้างแรมหาข้อมูลเฮ็ดงานศิลปะขึ้นมา ตอนแรกแกขนาดนั้นเลย แต่ตอนหลังมาเฮากะบ่ฮู้ Conflict ของแกกับชุมชน 

คือมาฮู้ทีหลัง มันกะเลยเลยแบบ เอ๊ะ… แต่แรกเฮาคึดว่าเรื่องนี้มันเกิดขึ้นในหมู่บ้านนี่เฮาก็เดาเอาง่ายๆ เดาเอาสะดวกกะคือ เฮาคิดว่า เฮ้ย…ทุกคนกะเห็นอยู่แล้ว คึดแบบคนนอกมากๆ โห้ว… คนตายตั้ง 400 คน โดยการสังหาร เพียงเพราะขาสู้เรียกร้องเกี่ยวกับเรื่องนโยบายที่กดขี่เขาอยู่ นโยบายการขึ้นภาษีใดๆ 4 บาทสมัยนั้น เขากะฮู้ว่ามันสมเหตุสมผลในแง่ที่ชาวบ้านสิเรียกร้อง 

ถึงแม้ว่าเฮาสิบ่แหม่นคนในพื้นที่ และเฮากะคึดไปเองว่าคนในปัจจุบันกะต้องฮู้สึกเห็นใจกับพี่น้องหรือบรรพบุรุษในยุคนั้น ถึงแม้จะมีชื่อห้อยท้ายว่าเป็นกบฏหรืออีหยังกะเเล้วแต่ ประเด็นคือเขาต่อสู้ เขาเรียกร้อง เขาอาจจะมีกุศโลบายที่เกี่ยวกับการใช้ศาสนา ยกตัวเองขึ้นให้เป็นผู้มีบุญ แต่นั่นกะเป็นเรื่องเล็ก แต่ว่ามันมีคนตาย อันนี้เรื่องใหญ่สำหรับเฮา ในมุมเฮา ฮู้สึกว่าเบเบอยู่แล้วที่คนกะต้องเห็นด้วยเรื่องแบบนี้ คือคนมันตาย คนถืกสังหาร มันเป็นเรื่องใหญ่ แต่พอมาคึดกะมีความคึดแบบ เออกูเป็นชนชั้นกลางเบาะ เบิ่งปัญหาแบบว่า 1+1 เป็น 2 แล้วกะเข้าใจว่าทุกคนต้องเห็นด้วย เห็นด้วยคือหยัง เห็นด้วยคือเห็นใจคนที่ถูกฆ่า

การแสดงรำลึกขบวนการผู้มีบุญ ณ โนนโพธิ์ บ้านสะพือ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี เมื่อ 3 เมษายน 2566

พูดถึงถึงความโหดร้ายเนาะ มันโหดร้ายอีหลี สำหรับเฮาเนาะ บ่ต้องสงสัย สิสงสัยอีหยัง แล้วพอ Research มาใดๆ หลักฐานกะโผล่มาเรื่อยๆ บ่เห็นสิเป็นเรื่องซับซ้อนอีหยังเลย การที่จะ Support เรื่องผีบุญ ให้ถูกสังคมเบิ่งหรือไปรื้อฟื้นความทรงจำความถูกกระทำของเขา ต้องได้ขุดขึ้นมาเทิงดิน ทำบุญ เว้าถึงเขาในแง่ดีในฐานะของ Citizen หรือว่าเป็นประชากรเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว แต่เขาก็มีสำนึกรักบ้านเกิดชุมชนของเขา รัฐมันเกิดมาทีหลัง ดังนั้นเนี่ยเรื่องผีบุญของเฮา… 

สมัยก่อนนี่ เช่น เชียงใหม่ โตจบของเฮาเฮ็ด Thesis เรื่องเกี่ยวกับกบฏพระยาผาบ กะคือจริงๆ มันอยู่ใน Timeline เดียวกัน อยู่คนละที่ แต่เรื่องเดียวกัน เป็นคนที่มาต่อสู้กับส่วนกลางแต่สุดท้ายก็แพ้ แต่กะบ่ได้หนักหนาขนาดว่า (ถอนหายใจ) ตัดหัวกันไป 400 กว่าคนขนาดนั้น ภาคเหนือเขามีกบฏเงี้ยว มันกะเป็น Timeline ใกล้ๆกัน แต่การกดปราบตอนนั้นทุกคนกะแพ้เบิด แต่เฮากะได้นึกว่า สำนึกของเฮาบ่แม่นจะเป็นเรื่องผีบุญ หรือว่าความทรงจำของเฮาของการเฮ็ด Thesis หรือเรื่องหลายๆ อย่างในระนาบเดียวกัน เฮาฮู้สึกว่า มันลิงค์กัน ลิงค์กันแบบมาแต่โดนแล้ว แต่อยู่ๆ กะมาลิงค์กันในบ่กี่ปีที่ผ่านมา ชัดเจนขึ้น 

บางทีมันอาจจะเป็นสิ่งที่เฮาลืมไปแล้วกะได้ เฮามาต่อสู้เรื่องการเมืองภายใน หมายถึงว่า กรุงเทพฯ หรือ Movement ต่างๆ ที่มันเกิดในกรุงเทพฯ เฮากะต้องต่อสู้แบบนั้น แต่บางทีเฮากะมีความฮู้สึกว่า เฮ้ย… กูก็บ่ได้อยู่กรุงเทพฯ เด้อ กูมาจากอีสาน (คาเงะเกิดที่ร้อยเอ็ด และย้ายไปอยู่เชียงรายตอนอายุสามขวบ ในช่วงเหตุการณ์ที่คนอีสานอพยพหนีภัยแล้งไปอยู่ภาคเหนือ: ผู้เขียน) กูอยู่เชียงราย แล้วตอนนี้กะมี Story ที่เกี่ยวกับการรับรู้อีสานอีกเถี่ยหนึ่ง มันเป็นสภาวะที่ชิ่งกันไปชิ่งกันมา ที่เฮาก็ฮู้สึกว่ามันมีอีหยังเฮ็ดได้กะเฮ็ดไป ในความฮู้สึกเฮานะ

การแสดงรำลึกขบวนการผู้มีบุญ ณ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อ 4 เมษายน 2566

ตั้งแต่มาร่วมงานผีบุญปีพ่อใหญ่หนอมเนาะ ปีก่อนกะมา แล้วปีนี่กะมาอีก พี่คาเงะฮู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงหยังบ่ จากตอนแรกตนบ่ฮู้ แต่คนเริ่มฮู้ แต่ฮู้แล้ว มันมีเอฟเฟคอีหยังบ่

ในฐานะคนทำงาน เฮารู้สึว่า เรื่องนี้มันท้าทายนะ คือคล้ายๆ ว่า มันบ่เหมือนกับบางระจัน บางระจันคือหยัง บางระจันคือหมู่บ้านหมู่บ้านหนึ่งพยายามที่รวมโตกันเพื่อต่อสู้กับพม่า แล้วเขาก็บอกว่า เฮ้ย… กูต้องการปืนใหญ่จากรุงศรี แต่กะบ่มีไผมาซัพพอร์ต ดังนั้นชาวบ้านก็ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้พม่า เรื่องราวนี้มันเลยกลายเป็นเรื่องเล่าคลาสสิก เพราะว่ามันเกิดขึ้นในยุคหลวงวิจิตรวาทการที่เฮ็ดมาเป็น Story ที่สร้างความร่วมมือร่วมใจเพื่อให้เห็นว่า “คนอื่น” คือไผ คนอื่นคือพม่า คนในคือชาวบ้าน สมัยก่อนฮีโร่ก็ต้องเป็นกษัตริย์ เป็นพระนเรศวร แต่นี่คือชาวบ้าน แถมมี Story ที่ว่ากูไปขอปืนใหญ่จากวังบ่ได้ เป็นการบอกว่าอันนี้มันอาจจะเป็น พ.ศ. ใหม่ของการเว้าถึงเรื่องชาติไทยที่บ่ได้เอาสถาบันกษัตริย์มาเป็นศูนย์กลาง

เพราะ authority ของรัฐถืกลดบทบาทไปในเรื่องเล่า

แหม่นๆ กลายเป็นว่ามันฟังดูดีนะ บางระจันจั่งสิ แต่ว่าเอาเข้าจริงๆ มันกะเป็นการเมืองอันหนึ่งคือกัน เวลาเฮาตั้งคำถามว่า เออบางระจันมีอีหลีบ่ คล้ายย่าโม แต่ประเด็นกะคือว่า เวลาเฮาสิเอาแนวคิดนี่มาซ้อนทับกับกบฏผีบุญ เป็นหยังเฮาบ่เห็นกบฏผีบุญเท่ากับบางระจัน งงบ่

ทั้งๆ ที่มันกะมีมิติที่เหมือนกันเนาะ ชาวบ้านต่อสู้ ขั้วมันคนละอย่างละเด้งออกจากกันคือจั่งแม่เหล็กหันขั้วใส่กัน มองมุมเดียวกัน บางระจันเป็นแบบเพื่อให้หมู่บ้านเจ้ารอด แต่ว่าผีบุญก็เพื่อให้เจ้าของรอดคือกัน

เนาะ มันต่างกันนิดเดียว บางระจันคือเครื่องมือของรัฐ ถึงแม้ว่าจะเล่าในมิติของชาวบ้าน นี่คือต่างกันแค่นิดเดียว

ต่างกันนิดเดียว แต่กูจะ survive จากรัฐ (ฮาครืนกันทั้งวง)

ใช่ มันคือน้ำเสียงของอีหยัง น้ำเสียงของไผ เวลาที่เว้าเรื่องนี้ ขั่นเฮาได้เว้าเรื่องตรงนั้นตรงนี้ หรือเรื่องของอนุสรณ์สถาน มันเป็นน้ำเสียงอีหยัง แต่กะบ่สามารถที่จะยืนยันได้ เวลาเฮาเล่าเรื่องบางระจันกับกบฏผีบุญ มิติมันคนละเรื่อง มันเป็นเรื่องของมุมมองหรือวิธีการมองของมัน 

ทุกวันนี้เขากะสิบอกว่าบางระจันนี่คือการที่บอกว่า… ขั่นทหารกองทัพกะมักสิอ้างบางระจัน นี่ไงทุกคนต้องมาเป็นทหาร กะมักสิ quote เรื่องบางระจันว่า นี่ไงทุกคนต้องมาเป็นทหาร เห็นไหมว่าบ้านบางระจันคนแค่หยิบมือยังต่อสู้กับข้าศึกได้ขนาดนี้ วิธีการเลือกใช้อันกองทัพกะว่าจังซั่น เฮาสิมีน้ำเสียงอีหยัง เฮาต้องสร้างวาทกรรมขึ้นมาหรือเปล่า กำหนดจากโตเฮา บ่แหม่นว่ากำหนดจากส่วนกลางว่าอีหยัง โอเค อันนั้นเฮาฮับฮู้แล้ว แต่สำคัญคือเฮาสิกำหนดน้ำเสียงท่าทีของเฮาเกี่ยวกับเรื่องนี้

สุดท้ายน้ำเสียงกะถืกผู้มีอำนาจเลือกไป

ถืก… เฮาอาจสิผิดกะได้ แต่ยืนยันบ่ละ ยืนยันก่อนบ่ คือหลักการกะคือมี Thesis, Synthesis, Antithesis, Synthesis จั่งซิไปเรื่อยๆ ขั้นเฮาเชื่อจังสั่น เชื่อเพราะว่ามันเป็นน้ำเสียงที่มันเห็นอกเห็นใจชีวิตทุกคนที่สำนึกความเป็นท้องถิ่น และต่อสู้เพื่อบ้านเกิดของโตเฮา และเฮาต้องเชิดชูคนเหล่านี้ เขาเป็นวีรบุรุษคนเอกชนธรรมดาที่กล้าหาญต่อสู้กับความบ่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นจากศูนย์กลาง 

แล้วเป็นหยังเสียงหนึ่งคือบ่ได้รับการเชิดชู บ่ได้รับการเว้าถึงเลย กะเป็นสิ่งที่ต้องค้นหากันต่อไปเนาะ?

แหม่น เฮาฮู้สึกว่า ขั่นผีบุญในนามของรัฐและได้รับการเล่าแบบบางระจัน มันจะคนละเรื่องเลย เขาจะว่า ห๊าาผีบุญ เยส! (เช่นว่า ผีบุญได้รับการเชิดชู เป็นวีระบุรุษปกปักรักษาชาติไทย :ผู้เขียน) แต่มันบ่เป็นจริงไง แต่ถ้าเฮาเอาโมเดลของบางระจันมาเว้ากัน มาเปรียบเทียบกันกับผีบุญ มันกะต่างกันแค่บ่กี่จุด แม่นบ่ล่ะ ทั้งที่การเลือกใช้บางระจันเข้าไปอยู่ในบทเรียน แต่ผีบุญได้อยู่บ่ ละเวลาเว้าผีบุญนี่ บางคนก็จะใช้คำนี้ “กบฏผีบุญ” แต่บางคนบอกว่า “ผีบุญ” อันเดียวกันเลยนะ กลุ่มคนเดียวกันเลยนะ คนนึงบอกว่านี่คือกบฏ อีกคนบอกว่าผีบุญ แต่สองอย่างคือกลุ่มเดียวกันเลยนะ แหม่นบ่ละ

กะเหมือนเรื่องชื่อต่างกัน คือจัง ลาว กับ อีสาน

มันกะสิสะท้อนอีกมุมมองของคนที่เว้าแหละ บางทีคนที่เว้าบ่สามารถที่จะใจกว้างโอบรับขนาดนั้น เช่น กองทัพส่วนกลางมาปราบกบฏนี่เขากะสิ.. อะ กบฏคือหยัง ส่วนกลางคือหยัง มันบ่สามารถที่จะบอกว่า มันสิใจกว้างขนาดที่บอกว่า ส่วนกลางภายใต้การสั่งการนั้นโน้นนี่ แล้วมาปราบเรื่องภาษี แล้วเขากะเลยมาปราบคนที่เขาคึดว่าเป็นกบฏ ถ้าเว้าจังสิมันก็จะเป็นน้ำเสียงที่ว่า เล่าให้เกิดที่มาที่ไปบ่ได้แยกเป็นขาวดำ แต่เล่าที่มาที่ไปตามที่หลักฐานมันปรากฏ 

คันเฮา… สำหรับน้ำเสียงสิเอิ้นว่า Neutral ล่ะคำว่า Neutral คือหยัง Neutral กะคือเอาทุกอย่างที่มันปรากฏมาเล่าให้มันหมด ให้มันครบ นี่คือ Neutral ถ้าใช้น้ำเสียงแบบนี้ มันก็สิบ่มีปัญหา มันยังมีเรื่องประวัติศาสตร์พระนำ แต่พระกะกระซิบเอา (พูดไม่โจ่งแจ้ง พูดภายในหมู่คณะ: ผู้สัมภาษณ์) แต่ว่าถ้ามันมีเขียนไว้กะต้องเอามา บ่ว่ากระซิบหรือบ่กระซิบก็ต้องเอามา มันสิเป็นงานที่ บ่แหม่นแค่เล่าเชิดชูบางอย่างหรือบางอย่างเฮาอาจจะผิดอยู่กะได้ หรือบางอย่างมันอาจจะเป็นความผิดพลาดมวลชนกลุ่มคนกะได้ มันกะเป็นไปได้

image_pdfimage_print