ชัยภูมิ – เสียงเพลงหมอลำดนตรีประจำท้องถิ่นของภาคอีสานดังขึ้นท่ามกลางบรรยากาศการเฉลิมฉลองของชาวบ้านตำบลคอนสารและเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่มาชุมนุมกันเนื่องในโอกาสงานครบรอบการก่อตั้งบ้านบ่อแก้วปีที่ 2

ระยะ 2 ปีที่ผ่านมานั้น ชาวบ้านบ่อแก้วได้ทำการพัฒนาหมู่บ้าน ประสบความสำเร็จในการต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิ์การเช่าพื้นที่อาศัยอย่างถูกกฎหมาย และสร้างวิถีการเกษตรกรรมให้หมู่บ้านนี้คงอยู่ถาวรตลอดไป เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในพื้นที่เพาะปลูกต้นยูคาลิปตัสที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นเจ้าของ วันสุดสัปดาห์แห่งการฉลองนี้ได้สิ้นสุดลงด้วยการประชุมที่จัดขึ้นในวันอาทิตย์ โดยองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ  นักกิจกรรม และนักการเมืองได้ของพูดคุยถึงความท้าทายในการจัดการเรื่องการปฏิรูปที่ดินที่อยู่อาศัย

บ้านบ่อแก้วนี้เพิ่งจะถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ 17 กรกฎาคมพ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นเวลากว่า 31 ปี หลังจากที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้มาขับไล่ชาวบ้านกว่า 1,000 คนออกไปจากพื้นที่กว่า 4,401 ไร่ ในปี พ.ศ. 2523 เพื่อริเริ่มโครงการป่าคอนสาน  องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้ทำการเปลี่ยนแปลงที่ดินเพื่อที่จะทำการปลูกต้นยูคาลิปตัส

กว่า 10 ปีของการคัดค้านที่ไม่สัมฤทธิ์ผลเพื่อสิทธิของการอพยพคืนมายังถิ่นเดิมที่อำเภอคอนสารแห่งนี้ 169 ครัวเรือนที่ไร้ที่อยู่ตัดสินใจที่จะใช้วิธีการใหม่ และด้วยความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่เครือข่ายปฏิรูปที่ดิน ครอบครัวเหล่านี้ได้เข้ามาสร้างพื้นที่อาศัยอีกครั้งอย่างไม่ถูกกฎหมายในเขตป่าไม้คอนสารโดยการก่อตั้งหมู่บ้านบ่อแก้วขึ้นมาเพื่อเป็นการประท้วง แทนที่จะประท้วงอยู่ที่หน้าอาคารสำนักงานหน่วยงานราชการเพียงแค่นั้น ชาวบ้านเชื่อว่าพวกเขานั้นยังสามารถแสดงการคัดค้านได้โดยตรงบนผืนแผ่นดินที่พวกเขาต่างเคยพากันเรียกว่า บ้าน

ความพยายามของชาวบ้านได้พบกับทั้งความสำเร็จและความผิดหวัง หนึ่งเดือนหลังจากที่เหล่าชาวบ้านได้พากันก่อตั้งหมู่บ้านขึ้นมาใหม่ ชาวบ้านจำนวน 31 คน ถูกฟ้องเรื่องการบุกรุกที่ดินของรัฐ และในเดือนเมษายนปีที่แล้ว ทางศาลก็ได้ตัดสินคดีความออกมาว่า ชาวบ้านต้องย้ายออกจากพื้นที่

ถึงแม้สิ่งที่ผ่านมาจะล้มเหลว ชาวบ้านบ้านบ่อแก้วก็เริ่มเห็นความคืบหน้า คณะกรรมการโฉนดที่ดินชุมชนได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาภายใต้การบริหารของนายกอภิสิทธิ์ได้ทำการอนุมัติให้ชาวบ้านใน 35หมู่บ้านรวมถึงบ้านบ่อแก้วดำเนินการเรื่องครอบครองโฉนดที่ดินชุมชน จนกระทั่งตอนนี้ มีเพียงแค่ 2 หมู่บ้านเท่านั้นที่ได้รับการยินยอมให้ครอบครองโฉนดที่ดินซึ่งทำให้บ้านบ่อแก้วและอีก 32 หมู่บ้านที่เหลือยังคงอยู่ในกระบวนการทางกฎหมายอันยืดเยื้อต่อไป

การประชุมวันอาทิตย์ที่ผ่านมานี้ นายประยงค์ ดอกลำไย เจ้าหน้าที่จากองค์กรพัฒนาภาคอีสานได้ย้ำเรื่องความสำคัญของข้อพิพาทเรื่องสิทธิในที่ดินในเขตป่าไม้ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วประเทศไทยเขากล่าว ว่า  “มีประชากรอยู่เป็นจำนวนกว่า 10 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย ซึ่งกินเนื้อที่กว่า 20 ล้านไร่ นี่เป็นเหมือนกับระเบิดเวลาที่กำลังรอการระเบิดอยู่” นายประยงค์เชื่อว่าในขณะที่มีการพัฒนานโยบายของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา แต่การดำเนินการนั้นไม่ได้เป็นไปตามความเหมาะสมสักเท่าไหร่ แต่คำตอบของนายภูเบศ จันทนิมิ เลขาฯ ของสำนักนายกได้ยืนยันว่า รัฐบาลได้กำลังทำสิ่งดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว ”รัฐบาลได้ลงความเห็นกันว่าจะมอบที่ดินแห่งนั้นคืนให้แก่ประชาชน (บ้านบ่อแก้ว)  แต่รัฐบาลทำได้เพียงขอความขอความร่วมมือจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เราไม่สามารถสั่งการได้โดยตรง” นายภูเบศ กล่าว

สิ่งนี้นำความสับสนและความขัดแย้งมาสู่ชาวบ้านบ้านบ่อแก้ว ขณะที่คณะกรรมการที่ดินชุมชนนั้นได้ทำการสนับสนุนให้ทางชาวบ้านและองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ทำการแก้ไขปัญหา ทางรัฐบาลกลางกลับออกมากล่าวว่า รัฐบาลไม่มีอำนาจบังคับให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามคำสั่ง ปีนี้ทางคณะกรรมการได้ออกคำสั่งให้ทางองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้และหน่วยงานรัฐบาลทำการสำรวจพื้นที่ที่หมู่บ้านบ่อแก้วได้ทำเรื่องร้องขอมา  แต่จนกว่าทางองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จะมีมติสละที่ดินแห่งนี้ ชาวบ้านที่เหลือต่างก็ต้องรอด้วยความอดทนโดยไม่สามารถบอกระยะเวลาหรือผลที่จะออกมาได้เลย

นายปราโมทย์ เจ้าหน้าที่ของเครือข่ายการปฏิรูปที่ดินในภาคอีสานไม่เชื่อว่ารัฐบาลนั้นจะไม่มีอำนาจที่จะยุติเรื่ององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้นี้ เขาได้กล่าวว่า รัฐบาลได้จ่ายงบประมาณให้กับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นจำนวนเงินกว่า 1.2 พันล้านบาทโดยประมาณ หรือราว 40 ล้านเหรียญต่อปื “ถ้าหากว่ารัฐบาลซื่อสัตย์และมีความกล้ากว่านี้ ก็สามารถทำให้เรื่องป่ายูคาลิปตัสนี้ถูกล้มเลิกไปได้ ซึ่งเรื่องนี้ก็เคยเกิดขึ้นแล้วในพื้นที่อื่นๆ” นายปราโมทย์กล่าว

แม้สมาชิกในชุมชนต่างก็รอองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ให้ยอมยกที่ดินผืนนี้ให้ พวกชาวบ้านก็เลิกที่จะมุ่งมั่นในการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อการครอบครองอย่างถูกกฎหมายเพียงอย่างเดียว และหันมาพัฒนาความยั่งยืนในที่ดินทำกินของชุมชนพวกเขา ตามที่นายปราโมทย์ได้กล่าวว่า การปลูกต้นยูคาลิปตัสในขณะนี้ไม่ยั่งยืน“เพราะว่าต้นยูคาลิปตัสโตเร็วมากจึงดูดสารอาหารในดินไปมากเช่นกัน”เขาอธิบาย

เพื่อที่จะต่อสู้กับผลกระทบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในเชิงลบและฟื้นฟูดินนั้น เกษตรกรต่างช่วยกันปลูกพืชผักท้องถิ่น และสมุนไพรระหว่างแถวต้นยูคาลิปตัสในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี้  ชุมชนยังได้ก่อตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชขึ้นอีกด้วย พวกเขาหวังว่าสิ่งนี้จะช่วยรักษาความรู้ท้องถิ่นและตระเตรียมที่ดินสำหรับเพาะปลูกเมื่อได้รับมอบโฉนดที่ดิน

แม้ว่ากลยุทธ์ของชาวบ้านบ้านบ่อแก้วในตอนนี้ได้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ตัวเลือกต่างๆ ของพวกเขาก็ยังถูกจำกัดโดยการไม่มีสัมปทานจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จนกว่าต้นยูคาลิปตัสจะถูกโค่น ชาวบ้านก็จะดำเนินการประท้วงต่อไป

image_pdfimage_print