เปิดหีบบัตรเลือกตั้งอีสาน คนแห่ใช้สิทธิคึกคัก
เลือกตั้งอีสานคึกคัก แม้ฝนตกกระหน่ำหลายพื้นที่ แต่ผู้คนออกมาใช้สิทธิอย่างต่อเนื่อง หลังปิดหีบมีจิตอาสาติดตามการนับคะแนนอย่างใกล้ชิด
เลือกตั้งอีสานคึกคัก แม้ฝนตกกระหน่ำหลายพื้นที่ แต่ผู้คนออกมาใช้สิทธิอย่างต่อเนื่อง หลังปิดหีบมีจิตอาสาติดตามการนับคะแนนอย่างใกล้ชิด
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งปี 2566 ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนออกแถลงการณ์ต่อการเลือกตั้งทั่วไปล่วงหน้า-นอกเขต วันที่ 7 พฤษภาคม 2566 มีใจความสำคัญว่า ประชาชนตื่นตัวออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ากว่า 2.2 ล้านคน บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ในการมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
วทีดีเบตวาระสิทธิมนุษยชน ภาคอีสาน “ไทยสร้างไทย” และ “ก้าวไกล” เห็นด้วยเรื่องแก้มาตรา 112 ในสภา ทุกพรรคเห็นด้วยเรื่องกระจายอำนาจ ‘“ไทยภักดี” ยี้ 250 ส.ว. “สามัญชน” ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2560 สู่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 28 เมษายน 2566 ที่บึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น แอมเนสตี้ประเทศไทย ร่วมกับ The Isaan record The reporter กลุ่มทะลุ มข. กลุ่มก่อการสิทธิเด็ก สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเวทีดีเบต “เลือกตั้ง 66 วาทะผู้นำ วาระสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” โดยมีตัวแทนผู้สมัคร ส.ส.จากพรรคการเมืองต่างๆ ประกอบด้วย ปริเยศ อังกูรกิตติ พรรคไทยสร้างไทย วีรนันท์ ฮวดศรี พรรคก้าวไกล โตบูรพา สิมมาทัน พรรคเสรีรวมไทย สุขสันต์ แสงศรี พรรคไทยภักดี และภรณ์ทิพย์ สยมชัย พรรคสามัญชน ร่วมในเวที
ย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีก่อน พื้นที่ริมคลองชลประทานแห่งนี้เป็นที่รกร้าง ชาวบ้านกลุ่มแรกได้บูรณะถางพงป่าไม้บริเวณนี้เพื่อตั้งถิ่นฐานนับตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน ปัญหาที่พบตั้งแต่ครั้งตั้งรกรากคือไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องอาศัยการต่อพ่วงจากเพื่อนบ้าน ซึ่งค่าไฟฟ้าที่ประชาชนในชุมชนต้องจ่ายนั้นอยู่ที่หน่วยละ 7-7.5 บาท เป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในแต่ละเดือน บ้างก็ผ่อนชำระ บ้างก็ไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายจึงต้องหนีออกจากชุมชน เพื่อตัดภาระและทิ้งหนี้สินไว้ ส่วนน้ำที่ใช้อุปโภคนั้นต้องใช้น้ำจากคลองชลประทานที่ทอดผ่านหน้าชุมชน เพราะไม่สามารถเข้าถึงน้ำประปาได้
ตัวแทนกลุ่มชาวบ้านคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล เกษตรฯ-หนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ประมาณ 30 คน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการดำเนินการก่อสร้างการสร้างโรงงานที่มีระยะใกล้พื้นที่กับชุมชน
เช้าวันหนึ่ง ขณะที่ทรงพล สนธิรักษ์ บัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยืนต่อหน้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร เช้าวันนั้น เขาใช้เวลา 1.5 วินาที ชูสัญลักษณ์ 3 นิ้ว ต่อหน้าพระพักตร์ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม เหตุการณ์ในวันนั้นนำมาสู่ความยุ่งยากหลายประการในชีวิต โดยเฉพาะการถูกเพ่งเล็งในฐานะนักเคลื่อนไหวทางการเมือง
คณะทำงานตรวจผลกระทบ จ.นครราชสีมา ลงพื้นที่เหมืองโปแตช เก็บตัวอย่างดินและน้ำ ส่งสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน หาสาเหตุปัญหาความเค็มในพื้นที่
ขอนแก่น- 24 มกราคม 2565 เครือข่ายนักกิจกรรมขอนแก่น จัดกิจกรรม ร่วมยืนหยุดขัง 112 นาที ตั้งแต่เวลาประมาณ 16.00-19.00 น. ณ บริเวณริมบึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากกิจกรรม อดอาหารกับเพื่อน เมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่ผ่านมา
ภาพประกอบ: ประชาไท ยกคำร้องอัยการยื่นขอถอนประกัน ศาลอาญ […]
อุดรธานี - เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 15 มกราคม 2566 พรรคเพื่อไทยจัดกิจกรรมแลนสไลค์ “อีสานยามใด๋ เพื่อไทยท่อนั้น” ที่ลานทุ่งศรีเมือง จ.อุดรธานี โดยเปิดตัวผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทยทั้ง 9 เขต จากนั้น ส.ส.และอดีต ส.ส.อีสาน อาทิ อดิษร เพียงเกษ ได้สลับกันปราศรัยเพื่อเสนอนโยบายที่น่าสนใจต่างๆ อาทิ ค่าแรง 600 บาท เงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาท พร้อมกับถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กของพรรคเพื่อไทย
หนึ่งในสมาชิกเครือข่ายเด็กเท่ากันที่ใช้ชื่อว่า “เจริญ ปกปักษ์ความดี” เป็นตัวแทนเด็กๆ เขียนจดหมายถึงผู้ใหญ่บ้านไทเจริญเพื่อขอของขวัญวันเด็กที่ไม่ควรได้เฉพาะในวันเด็กแห่งชาติเท่านั้น แต่ควรเป็นสวัสดิการที่เด็กควรได้รับตั้งแต่ก่อนเกิด จนถึงเติบใหญ่
ถ้าคุณมองเรื่องการมีเซ็กส์เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ บทสนทนาในชายคาเรื่องสั้น “คืนหน่าย” จะถือเป็นเรื่องปกติทันที