YouTube

มหาสารคาม – ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เจ้าหน้าที่รัฐจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ได้เสนอการทำเกษตรแบบทางเลือกนอกจากการทำเกษตรเคมี และด้วยอุดมการณ์ที่มีประกอบกับทุนสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น พวกเขาได้ริเริ่มโครงการฝึกอบรมและสร้างกลุ่มเครือข่ายเล็กๆ ของเกษตรกรอินทรีย์ขึ้น จากผลการทำงานดังกล่าวชาวนากว่า ๙๐๐ คนในชุมชนของ ๔ จังหวัดภาคอีสานสามารถทำการเกษตรที่หลากหลาย ปราศจากการใช้สารเคมี เกิดองค์ความรู้ และจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ในชุมชน

ในช่วงไม่กี่สิบปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีนโยบายของรัฐบาลมากมายที่ใช้ในการกระตุ้นให้เกษตรกรปลูกพืช เศรษฐกิจ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา และอ้อย ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าว และยางพาราเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ซึ่งเป็นการกระตุ้นภาคเกษตรกรรมที่ประสบผลสำเร็จ และสามารถลดระดับความยากจนของประเทศลงได้อย่างมาก แต่จากการปลูกพืชเศรษฐกิจที่มากขึ้นนั้นก็นำมาซึ่งการพึ่งพาปุ๋ยเคมีและสาร กำจัดศัตรูพืช การทำเกษตรเคมีเกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และทำให้ดินที่เคยอุดมสมบูรณ์นั้นค่อยๆ หายไป

จำนวนสารเคมีที่ใช้ใน การทำการเกษตรของประเทศไทยที่พบในพืชเศรษฐกิจจำนวนมากเมื่อปีที่แล้วมี ปริมาณสูงมาก ซึ่งทำให้นานาชาติให้ความสนใจต่อพฤติกรรมการทำการเกษตรของเกษตรกรไทย เมื่อปีที่แล้ว สหภาพยุโรปขู่ห้ามนำเข้าผักหลายชนิดจากประเทศไทย โดยอ้างว่าพบสารเคมีปนเปื้อนในระดับที่อันตราย ช่วงสิบปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการนำเข้าสารเคมีมากถึง ๓ เท่าจากอดีต ซึ่งหลายฝ่ายแสดงความกังวลว่าถ้ากระบวนการการตรวจสอบควบคุมในเรื่องนี้ เกษตรกรจะใช้สารเคมีจำนวนมากเพื่อเพิ่มผลผลิตซึ่งจะทำให้มีรายได้มากขึ้น อีกทั้งความกังวลเรื่องของสุขภาพของผู้บริโภคและปัญหาสิ่งแวดล้อมใน ประเทศไทยก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม การหันกลับมาทำเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยนั้นยังเป็นเรื่องยาก ตัวอย่างเช่น ผลผลิตส่งออกในภาคธุรกิจการเกษตรนั้นสามารถขายได้ในราคาสูง และเกษตรกรก็หลงเชื่อว่าจะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำอย่างง่ายดาย นอกจากนี่ รัฐบาลยังมีมาตรการปกป้องเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจมากกว่าเกษตรกรที่ปลูก พืชหลากหลายในแปลงนา ข้อมูลจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) แสดงให้เห็นว่า  ทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้มีนโยบายรับประกันและประกันราคาผลผลิตสำหรับพืชเศรษฐกิจ ในทางตรงกันข้าม เกษตรกรที่ทำเกษตรกรที่ปลูกพืชหลากหลายในแปลงนากลับถูกปล่อยให้เผชิญกับความ เสี่ยงจากภัยธรรมชาติต่างๆ ด้วยตนเอง

ด้วยความกังวลดังกล่าว สำหนักงานปฏิรูปที่ดินฯ (สปก.) จึงได้มีการติดต่อกับชาวนาในจังหวัดสกลนคร มุกดาหาร มหาสารคาม และขอนแก่น หลายปีที่ผ่านมา สปก. ประสบผลสำเร็จในการให้ความรู้และสอนเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ให้กับ เกษตรกรที่เคยปลูกพืชเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นได้หมดไปแล้ว แต่เกษตรกรเหล่านี้ก็ใกล้จะช่วยเหลือตนเองแบบยั่งยืนได้ พวกเขาแบ่งหน้าที่กันทำงานในสหกรณ์ หารือกันเพื่อกำหนดราคาที่เป็นมาตรฐานและเหมาะสม และขายสินค้าของพวกเขาในตลาดนัดสีเขียนในชุมชน พวกเขาพบว่าการทำเกษตรแบบหลากหลายก็เปรียบเสมือนกับการทำซุปเปอร์มาเกตของ ท้องถิ่น ความกังวลเรื่องหนี้สินและรายได้ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไป อย่างไรก็ตาม รัฐบาลุดปัจจุบันไม่มีทีท่าว่าจะขยายโครงการนี้ต่อในอนาคต

สำหรับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว เดอะ อีสาน เรคคอร์ด ได้พบกับเกษตรกรที่หันกลับมาทำการเกษตรแบบอินทรีย์และทำงานร่วมกับสำนักงาน ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร นายสาคร ทับทิมใส เกษตรกรอินทรีย์ในอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคามได้เล่าถึงเรื่องราวของเขาในวิดีโอข้างบนนี้

image_pdfimage_print