เลย – เมื่อเดือนที่ผ่านมา ผนังกำแพงบริเวณขอบบ่อกากแร่ของเหมืองทองคำที่ตั้งอยู่ในพื้นที่นาหนองบง จังหวัดเลย ได้เกิดการพังทลายขึ้นถึง 3 ครั้ง บ่อแห่งนี้ใช้สำหรับกักเก็บน้ำทิ้งที่ละลายทองซึ่งได้มาจากแร่และในน้ำมีสาร ไซยาไนด์ปนเปื้อนอยู่มาก รวมทั้งสารเคมีต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนการสกัด ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านใกล้กับเหมืองของบริษัททุ่งคำเพียง 1 กิโลเมตรได้ทำเรื่องร้องเรียนถึงผลกระทบที่พวกเขาหวาดกลัวและทำการต่อสู้ตลอดมาเพื่อให้มีการปิดเหมือง

ชาวบ้านรวมตัวกันก่อตั้งกลุ่มคนรักบ้านเกิด ทั้งนี้ประกอบด้วยชาวบ้านที่ต่อสู้ให้มีการปิดเหมืองตั้งแต่ปี 2549 เพื่อต้องการลดสารพิษที่เป็นบ่อเกิดของสารปนเปื้อนในน้ำและในอาหาร ตั้งแต่ที่มีเหมืองแร่เกิดขึ้น ชาวบ้านก็ได้รับผลกระทบที่ขึ้นจากการปฏิบัติงานของเหมืองแร่ - ขอบคุณภาพจากประชาไท

ชาวบ้านรวมตัวกันก่อตั้งกลุ่มคนรักบ้านเกิด ทั้งนี้ประกอบด้วยชาวบ้านที่ต่อสู้ให้มีการปิดเหมืองตั้งแต่ปี 2549 เพื่อต้องการลดสารพิษที่เป็นบ่อเกิดของสารปนเปื้อนในน้ำและในอาหาร ตั้งแต่ที่มีเหมืองแร่เกิดขึ้น ชาวบ้านก็ได้รับผลกระทบที่ขึ้นจากการปฏิบัติงานของเหมืองแร่ – ขอบคุณภาพจากประชาไท

ชาวบ้านรวมตัวกันก่อตั้งกลุ่มคนรักบ้านเกิด ทั้งนี้ประกอบด้วยชาวบ้านที่ต่อสู้ให้มีการปิดเหมืองตั้งแต่ปี 2549 เพื่อต้องการลดสารพิษที่เป็นบ่อเกิดของสารปนเปื้อนในน้ำและในอาหาร ตั้งแต่ที่มีเหมืองแร่เกิดขึ้น ชาวบ้านก็ได้รับผลกระทบที่ขึ้นจากการปฏิบัติงานของเหมืองแร่ คือ ผลผลิตในการเก็บเกี่ยวทางการเกษตรลดลง ชาวบ้านเป็นผดผื่นบนผิวหนัง และมีการตรวจพบปริมาณไซยาไนด์และสารหนูในระดับสูงในเลือด ซึ่งชาวบ้านคาดว่าเหตุการณ์เหล่านี้เกี่ยวข้องกับสารปนเปื้อนที่มาจา กการปฎิบัติการของเหมืองแร่ ดังนั้นรอยรั่วของบ่อกากแร่ที่มีสารเคมีอันตรายอยู่มากมายจึงสร้างความกังวล ให้กับชาวบ้านมากยิ่งขึ้น

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม บ่อกักเก็บน้ำไซยาไนด์พังทลายถึง 2 ครั้ง จากข้อมูลของแกนนำกลุ่มคนรักบ้านเกิดบอกเล่าว่า “พวก เราพบว่า น้ำจากบ่อซึมออกมาและไหลไปยังพื้นที่การเกษตรที่ปลูกถั่วฝักยาวไว้ ชาวนาไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เพราะน้ำจากบ่ออยู่ในนา เราไม่รู้ว่าน้ำที่รั่วออกมานั้นอันตรายหรือไม่”

หลัง จากที่สมาชิกกลุ่มคนรักบ้านเกิดพบการรั่วซึมของบ่อน้ำ ชาวบ้านก็เป็นคนกลุ่มแรกที่ได้แจ้งเรื่องการไหลซึมของบ่อกากแร่ไปทางหน่วย งานรัฐให้ทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งรายงานเรื่องนี้ไปยังหน่วยงานอุตสาหกรรมจังหวัด (PIO) และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (DPIM) จากนั้นจึงติดต่อไปยังองค์การบริหารส่วนตำบล (TAO) เพื่อให้มาสำรวจพื้นที่

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม องค์การบริหารส่วนตำบล (TAO) ได้ส่งคณะกรรมการไปตรวจสอบบ่อที่แตกและตรวจสอบคุณภาพของน้ำที่ซึมไหลออกจากบ่อ องค์การบริหารส่วนตำบล (TAO) รายงานว่า “บริษัททุ่งคำได้ยอมรับในเรื่องการพังทลายของบ่อน้ำและได้ทำการซ่อมแซมความเสียหายของบ่อ”

อย่างไรก็ตาม ชุมชนชาวบ้านยังคงไม่เชื่อและไม่ไว้วางใจว่าการรั่วไหลของน้ำจะไม่มีผลกระทบใดๆ

หนึ่ง ในแกนนำของกลุ่มคนรักบ้านเกิดกล่าวว่า “เป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่บริษัทต้องเตือนชาวบ้าน เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าน้ำที่ซึมออกมาเป็นอันตรายหรือไม่ เพราะยังไม่มีการตรวจสอบ แต่เราก็กลัวผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น”

หลังจากได้ทราบการรายงานของชาวบ้าน ทาง DPIM ก็ได้ ประกาศแจ้งไปยังบริษัทเพื่อให้ทำการหยุดการปฏิบัติงานของเหมืองจนกว่าจะมี การแก้ไขปัญหา บริษัทได้ขออุทธรณ์ต่อหน่วยงานอุตสาหกรรมจังหวัดเพื่อเรียกร้องถึงแนวทางการ ทำงานที่สามารถยอมรับร่วมกันได้ ตามพระราชบัญญัติเหมือง มาตราที่ 58 นอกจากนี้ ทางบริษัทมีความจำเป็นต้องดำเนินการทำเหมืองต่อ เพื่อจะผลิตหินชนิดพิเศษมาซ่อมแซมส่วนแตก ปัจจุบัน บริษัทเหมืองแร่ก็ยังคงดำเนินการต่อโดยให้สัญญากับภาครัฐว่าบริษัทจะปฏิบัติงานโดยทำการป้องกันในส่วนของผนังบ่อกักเก็บด้วย

การรั่วไหลของบ่อน้ำที่เกิดขึ้นถือเป็นสิ่งสำคัญต่อกลุ่มคนรักบ้านเกิดเพราะบริษัททุ่งคำจะจัดการประชุมสาธารณะ ในวันที่ 22 ของเดือนนี้ การจัดการประชุมนี้ได้มีการเลื่อนมา 4 ครั้งแล้วเพราะกระประท้วงของกลุ่มชาวบ้าน ซึ่งการประชุมนี้เป็นขั้นตอนอย่างหนึ่งในกระบวนการรับสัมปทานเพื่อเปิด เหมืองแห่งใหม่ ณ บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับเหมืองที่สร้างมาก่อนแล้ว สมาชิกกลุ่มคนรักบ้านเกิดหวังว่าข่าวของบ่อแร่ที่แตกและมีน้ำไหลซึมจะเป็น ปัจจัยสำคัญต่อการปิดเหมืองปัจจุบัน และหยุดสัมปทานเหมืองที่จะถูกสร้างใหม่เร็วๆ นี้

บริษัท ทุ่งคำซึ่งตกอยู่ในประเด็นร้อนแรงเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นและตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยในเรื่องการจัดการทางการเงินอย่างมีพิรุธตั้งแต่ในปีที่ผ่านมา ก็เหมือนว่าขณะนี้ยิ่งน่าเป็นห่วงกว่าเดิม

image_pdfimage_print