ภาพปก ภาคีนักเรียนมัธยม KKC จ.ขอนแก่น ชุมนุมที่สวนรัชดานุสรณ์ 

รัฐบาลไทยจำเป็นต้องถอยออกจากความเสี่ยงในการเผชิญหน้ากับเยาวชนของชาติที่กำลังส่งไปยังสายตาชาวโลก เพราะหากสังคมใดทำเช่นนั้นก็เท่ากับเป็นการทำลายอนาคตของตัวเอง

การเคลื่อนไหวที่เริ่มต้นกว่า 5 เดือนที่ผ่านมา ได้กลายเป็นการสู้รบระหว่างเหล่าเยาวชน และบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ของพวกเขา ถึงแม้คำว่า “เยาวชน” ในทีนี้จะมีความหมายในเชิงอุปมาอุปไมย แต่คนจำนวนไม่น้อยที่ร่วมเคลื่อนไหวในปรากฏการณ์ทางสังคมครั้งนี้มีคนที่อายุต่ำกว่า 18 ปีรวมอยู่ด้วยจึงมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง นี่จึงว่า เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง

แม้บางคร้ังที่นักเรียนมัธยมปลายจำนวนหนึ่ง จะร่วมมีบทบาทในการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น การประท้วงของนักเรียนเมื่อปี 2539 ในรัฐควิเบค ประเทศแคนาดา หรือการเคลื่อนไหวของ “สหภาพนักเรียนในต่อต้านโรงงานนรก (United Students Agianst Seatshops)” เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้วในสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อมีการเดินขบวนประท้วง เด็กในวัยเรียนโดยมากมักจะเล่นบทรอง และเว้นระยะห่างในการเข้าร่วม

นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนเมื่อปี 2506 ที่ใช้ชื่อว่า “ชิลเดรนส์ ครูเสด (Children’s Crusade)” โดยเยาวชนได้เดินขบวนจากศาลากลางของเมืองเบอร์มิงแฮม รัฐอลาบามา ก่อนที่จะถูกผลักดันกลับด้วยเครื่องฉีดน้ำและการถูกโจมตีของสุนัขตำรวจ แม้การกระทำดังกล่าวจะถูกประณามว่า เป็นการก่อให้เกิดอันตรายกับเยาวชน แต่การนำเสนอข่าวทางโทรทัศน์ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่กดดันให้ประธานาธิบดี ในขณะนั้นคือ จอห์น เอฟ. เคนเนดี ต้องลงมือ

ส่วนที่ประเทศไทย บรรดาเยาวชนคนหนุ่มสาวเหล่านี้ ได้ข้อสรุปบางประการด้วยตัวของพวกเขาเอง ดังนี้

รับไม่ได้กับสภาพที่เป็นอยู่

รับไม่ได้กับการที่เผด็จการผลักดันให้ผ่านรัฐธรรมนูญภายใต้การทำประชามติที่มีข้อกังขา

รับไม่ได้กับเผด็จการที่ปูทางให้ตนเองได้เป็นนายกรัฐมนตรี “ที่มาจากการเลือกตั้ง”

รับไม่ได้กับรัฐธรรมนูญที่เป็นมากกว่าพิมพ์เขียว เพื่อรักษาอำนาจของกองทัพไปอีกหลายทศวรรษ และแทบจะแก้ไขอะไรไม่ได้เลย 

รับไม่ได้กับระบบการศึกษาที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการสอนให้เชื่อฟัง และการเรียนรู้แบบ “มีสูตรสำเร็จ” ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างพลเมืองในอนาคตให้อยู่ในโอวาท และขาดการคิดวิเคราะห์

รับไม่ได้กับสถาบันพระมหากษัตริย์หรือสถาบันสาธารณะอื่นๆ ที่ไม่ต้องมีความรับผิดชอบทางการเงิน ความรับผิดตามกฎหมายหรือตามรัฐธรรมนูญ

รับไม่ได้กับการทำรัฐประหารเพื่อเปลี่ยนแปลง (หรือรักษา) สถานะทางอำนาจไว้

รับไม่ได้กับการจับกุมคุมขังผู้เห็นต่าง ด้วยกฎหมายที่กุขึ้นเอง

รับไม่ได้กับการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่มีความร้ายแรง เพียงเพราะรัฐบาลที่ไร้ความชอบธรรมตกอยู่ในสภาวะเสี่ยง 

อนุสาวรีย์ประธิปไตยจังหวัดขอนแก่น ภาพโดย อติเทพ จันทร์เทศ

ข้อเรียกร้องเหล่านี้ ไม่ได้เป็นข้อเรียกร้องที่เกินเลย แต่เป็นเงื่อนไขขั้นต่ำสุด ในประเทศที่อ้างว่า เป็นประชาธิปไตย

ดูเหมือนบรรดาชนชั้นนำในกรุงเทพ ไม่รู้ว่าต้องรับมือความท้าทายเช่นนี้อย่างไร บรรดาสมุนของพวกเขาเริ่มต้นด้วยการพยายามเชื่อมโยงการเคลื่อนไหวครั้งนี้กับแหล่งทุนต่างประเทศที่พยายามสร้างภาคประชาสังคมในประเทศไทย แม้จะใช้แผนผังความคิดที่แสนคลุมเครือ พวกเขาก็ไม่สามารถกล่าวหา ทักษิณ ชินวัตร ได้ พวกเขาไม่สามารถกล่าวหาคนเสื้อแดงและยังไม่สามารถกล่าวหา ม้ามืดอย่าง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้

พวกเขาจึงเลือกที่จะใช้วิธีการให้เหตุผลแบบขาดๆ เกินๆ โดยอ้างว่า เยาวชนเหล่านี้ถูกชักจูง มันเป็นเรื่องที่พวกเขานึกไม่ถึงว่า เด็กและเยาวชนเหล่านี้จะหาข้อมูลและประมวลผลจากการเสพสื่อสังคมออนไลน์จนได้บทข้อสรุปได้

พวกเขาสับสนระหว่าง ความปรารถนาของเด็กๆ ที่จะต้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์กับการต่อต้านสถาบันฯ พวกเขาพยายามป้ายสีการเคลื่อนไหวในตอนนี้ เหมือนที่พวกเขาทำกับการเรียกร้องประชาธิปไตยคร้ังก่อน ทั้งเหตุการณ์ปี 2519, 2535 และ 2553 พวกเขาฉวยโอกาสในตอนที่วังยืนกรานที่จะเคลื่อนขบวนเสด็จไปตามถนนราชดำเนิน ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรงและเป็นการยั่วยุ 

ในขณะที่เยาวชนผู้ชุมนุมวางแผนที่จะประท้วงในเส้นทางนั้นไว้แล้ว หลังจากนั้นพวกเขายังใช้สถานการณ์ดังกล่าวอ้างว่า ผู้ชุมนุมประสงที่จะประทุษร้ายแก่พระราชวงศ์ จนนำมาสู่การประกาศพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงบนพื้นฐานของกฎหมายที่คลุมเครือและแทบไม่เคยถูกใช้

สาธิต เซกัล ตัวแทนขององค์กรที่ตั้งชื่อได้ผิดฝาผิดตัวที่ชื่อ คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)เมื่อปี 2557  วิจารณ์กับปรากฎการณ์นี้ว่า เยาวชนเหล่านี้ไม่ได้ “รับการศึกษาอย่างเหมาะสม” โดยเฉพาะเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย และเยาวชนเหล่านี้ “ไม่ได้เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่” สาธิต กล่าวอีกว่า เยาวชนกำลังถูกปลุกปั่นโดย “กลุ่มการเมืองต่างๆ” เขายังกล่าวอีกว่า พวกเขาถูก “ชักนำด้วยอารมณ์ และข้อมูลที่ผิดหรือบิดเบือน”

คำถามคือ นี่เป็นมุมมองของคนส่วนมากใช่หรือไม่ เพราะบนเว็บไซต์ที่โดยทั่วไปค่อนข้างมีอิสระ อย่าง บางกอกโพสต์ ผู้อ่านจำนวน 2,218 คน ไม่ชอบบทความของสาธิต หรือคิดเป็นร้อยละ 97.4 มีเพียง 59 คนเท่านั้นที่ชอบ แม้ตัวเลขนี้จะชี้วัดอะไรไม่ได้ แต่ก็มีนัยบางอย่างว่า มีคนจำนวนไม่น้อยทั่วประเทศที่เห็นว่า ประเทศจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง

การชุมนุมของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มราษฎร ชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2563 ภาพโดย นราธิป ทองถนอม

แต่ที่ผ่านมา ชนชั้นนำในกรุงเทพฯ ก็มักจะก้าวข้ามข้อเท็จจริงที่เป็นพื้นฐานเสมอ

กลุ่มคนที่หลงในอำนาจ รวมถึงบริวารของพวกเขา เห็นสัญญาณเตือนครั้งแล้วครั้งเล่าว่า การเปลี่ยนแปลงกำลังประชิดตัวพวกเขาอยู่แล้ว 

สัญญาณครั้งหนึ่งเกิดขึ้น หลังจากการล้มล้างรัฐธรรมนูญ ถือว่าได้รับการยอมรับ และเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2549

อีกสัญญาณเกิดขึ้นเมื่อคนเสื้อแดง สู้และสละชีวิตเมื่อปี 2553

สัญญาณเกิดขึ้นอีกครั้ง หลังการล้มรัฐบาลเมื่อปี 2557 แม้คนส่วนใหญ่จะยังเชื่อมั่นว่าในอนาคตจะมีประชาธิปไตย

ชายน่าสงสารอย่างสาธิต ซึ่งเชื่อสนิทใจว่า การเคลื่อนไหวของเยาวชน มิได้เป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่หรือแม้แต่เยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ถ้าเขาคิดว่า เยาวชนที่เขาเห็นในกรุงเทพฯ กำลังถูกชี้นำ เขาควรจะมาที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และดูด้วยตาว่า ผู้คนทั้งหมดที่นี่ต้องเผชิญกับอะไรบ้างและตัวแทนของพวกเขาได้กระทำอะไรผิดพลาดไปกับประเทศนี้

ที่นี่ประชากรส่วนใหญ่ต้องนั่งดูรัฐบาลที่พวกเขาเลือกเข้ามาถึง 2 ครั้ง 2 ครา ถูกยึดอำนาจด้วยการรัฐประหารและถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคถึง 2 รอบ ปฎิธานด้านประชาธิปไตยของคนส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ต้องถูกทำลายลงซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้งที่พวกเขาเล่นตามกฎ คือ การเลือกตั้ง แต่กลับถูกย่ำยีซ้ำแล้วซ้ำเล่า 

บทบัญญัติต่างๆ (ในรัฐธรรมนูญ 2560) ถูกเขียนขึ้นเพื่อให้ชนชั้นนำในกรุงเทพฯ ชนะเสมอ ซึ่งถือเป็นเกมส์ที่ถูกวางหมากไว้แล้วและเมื่อเยาวชนรับรู้ข้อมูลมากพอที่จะชี้ให้เห็นอคติที่ทำให้พวกเขาถูกหลอกและหลงเชื่อมาโดยตลอด

มันไม่ได้มีปัญหาเรื่อง “ความมั่นคงของชาติ” เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเดินขบวนในกรุงเทพฯ และกระจายหัวเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ ประเทศไทยไม่ได้ถูกภัยคุมคาม แต่ในความเป็นจริงแล้ว การประท้วงเหล่านี้กลับชี้ให้เห็นในมุมตรงข้ามว่า อันที่จริง เผด็จการทหารที่แสร้งว่า เป็นประชาธิปไตย แต่โยนกฎหมายต่างๆ ใส่ผู้ประท้วงอย่างสะเปะสะปะ นั่นแหละคือตัวปัญหา

หลายคนในประเทศนี้ตาสว่างเมื่อปี 2553 และตายังเบิกกว้างอยู่ ตอนนี้ลูกหลานของพวกเขา ซึ่งหลายคนเติบโตขึ้นในช่วงเวลาแห่งเผด็จการ ได้เห็นความจริงว่า เกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย พวกเขาคือ คนตื่นรู้รุ่นที่สองและเป็นกลุ่มประชากรที่แสดงออกถึงปณิธานที่อยากเห็นประเทศที่ต่างออกไป ในขณะที่ผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนกำลังตะเกียกตะกายที่จะเล่านิทานเรื่องเดิมว่า ให้ช่วยกันยึดถือวิสัยทัศน์ที่นับวันยิ่งล้าหลัง ว่า ประเทศนี้เป็นอะไรและยังอาจเป็นอยู่ 

บางทีอาจถึงเวลาแล้วที่ผู้หลักผู้ใหญ่เหล่านั้น ต้องหลีกทางและให้เยาวชนเหล่านั้น เป็นครู แล้วสอนบทเรียนที่สำคัญให้กับเรา

ให้การลุกฮือของเยาวชนดำเนินไปและปล่อยให้ความขลาดเขลา ทำให้พวกเขาเชื่อว่า ประเทศไทยจะสามารถเป็นประชาธิปไตยได้ ท้ายที่สุดอนาคตของพวกเขา และของประเทศจะทอดเป็นทางยาวตรงหน้าพวกเขา

ไม่ใช่ตรงหน้าผู้หลักผู้ใหญ่พวกนั้น

image_pdfimage_print