เวลาที่ไหลผ่านไป
ความเหนื่อยล้าจากการทำงานพิเศษที่ร้านสะดวกซื้อใกล้บ้านทำให้เขากลับบ้านเกือบเช้าทุกที การทำงานพิเศษทั้งที่ยังเรียนหนังสืออยู่อาจจะไม่ใช่เรื่องน่าสนุกเท่าไหร่ แต่เขาอยากลองทำอะไรแปลกใหม่ให้กับชีวิตบ้าง ไม่ใช่แค่เรียนแล้วกลับบ้าน
ชายคาเรื่องสั้นเป็นกิจกรรมน้ำหมึกโดย ‘คณะเขียน’ ซึ่งเปิดพื้นที่วรรณกรรมมากว่าทศวรรษ ก่อนย้ายตัวเองจากสิ่งพิมพ์มาสู่ออนไลน์ตั้งแต่มกราคม 2022 โดยนักเขียนที่สนใจสามารถส่งประกวดเพื่อคัดเลือกเรื่องสั้นที่ดีที่สุดของแต่ละเดือนมาเผยแพร่บนเว็บไซต์ The Isaan Record
ความเหนื่อยล้าจากการทำงานพิเศษที่ร้านสะดวกซื้อใกล้บ้านทำให้เขากลับบ้านเกือบเช้าทุกที การทำงานพิเศษทั้งที่ยังเรียนหนังสืออยู่อาจจะไม่ใช่เรื่องน่าสนุกเท่าไหร่ แต่เขาอยากลองทำอะไรแปลกใหม่ให้กับชีวิตบ้าง ไม่ใช่แค่เรียนแล้วกลับบ้าน
เรื่องราวของอนุสาวรีย์แกะทั้งสามตัวที่ประดับหน้าทางเข้าหมู่บ้านโนนเชิงเทียนเริ่มต้นจากเช้าวันหนึ่งเมื่อ 21 ปีก่อนหลังเสียงปืนหนึ่งนัดดังขึ้นในเวลา 9:20 นาฬิกา หากนับจากการชันสูตรศพอย่างละเอียดในภายหลัง แต่หากนับจากการประมาณแล้ว หลายปากต่างให้การว่าอยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่สองโมงเช้าถึงสามโมงเช้าเมื่อเสียงปืนหนึ่งนัดนั้นดังขึ้นจากบ้านผู้ใหญ่เรืองผู้เป็นดั่งพ่อของบ้านโนนเชิงเทียนมาตั้งแต่รุ่นปู่ของปู่ของผู้ใหญ่เรือง
มันควรจะเป็นมื้ออาหารธรรมดาๆ ในสนามบิน กระทั่งบางอย่างโผล่ขึ้นมาอย่างไม่ได้รับเชิญ และอาจเพราะความหิวกระมังที่กระตุ้นให้เขาตัดสินใจทำสิ่งที่กระทั่งตัวเขาเองยังสงสัยว่า หากไม่ใช่ที่นี่เขาจะยังทำเช่นนี้อยู่หรือเปล่า
ผลงานของสมุด ทีทรรศน์ เล่าเรื่องความสัมพันธ์ที่เป็นเจ้าของกันและกันเพียงชั่วคราว ทว่าระหว่างลมหายใจหอบกระเส่าและการเล้าโลม บางรอยแผลของผิวสัมผัสกลับทำให้ความชั่วคราวนั้นทอดยาวออกไป
ถ้าคุณมองเรื่องการมีเซ็กส์เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ บทสนทนาในชายคาเรื่องสั้น “คืนหน่าย” จะถือเป็นเรื่องปกติทันที
ความฝัน ความหวังของคนเป็นแม่ ทำได้เพียงมองลูกกางปีก เติบโต มีชีวิตเป็นของตนเอง แม้วันหนึ่งบ้านที่เคยอยู่ด้วยกันในวันวัยจะกลายเป็นกลายเป็นสถานที่แห่งเพียงความทรงจำก็ตาม ชายคาเรื่องสั้นโดย ปันนารีย์
ชชายคาเรื่องสั้น “น้ำตาในโรงอาหาร” เป็นเรื่องราวของสิตา นักวิทย์สาวในโรงงานแห่งหนึ่งที่ถูกเทจากชายหนุ่ม การจากไปของเขาทำให้เธอเฝ้ารอวันหวนคืน ซึ่งก็ไม่มีวี่แวว แต่เมื่อเปรียบเทียบกับใครบางคนที่ยังอยู่ต่อ….ในชีวิตมันเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับ
ชายคาเรื่องสั้นเรื่องนี้เป็นของ “สันติสุข กาญจนประกร” ดุจเสมือนเรื่องจริงโดยเฉพาะในยุคต่อสู้เรื่องประชาธิปไตยของครอบครัวชนชั้นกลางบางครอบครัวที่ผู้ปกครองกินสลิ่ม ทว่าลูกในไส้ออกมาเรียกร้องเคลื่อนไหวเรียกร้องเพื่อคนเท่ากัน แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อลูกของเธอถูกจับในข้อหาฉกรรจ์ตามมาตรา 112 และ 116 ซึ่งคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ต้องเผชิญ
“คนอยู่ที่ไหนก็เป็นคนที่นั่น” แต่ความหวาดระแวงทำให้คนบางคนมองมนุษย์ไม่เป็นคนเท่ากัน เรื่องสั้น “ประชากรแฝงในโรตีแกง” จึงเป็นบทสนทนาที่บาดลึกลงไปในความเป็นปัจจุบันที่แบ่งแยกชนชั้น วรรณะ เชื้อชาติ แม้นับถือศาสนาเดียวกันก็ตาม
ยามได๋สิเมือเฮือน” เป็นหนึ่งในชายคาเรื่องสั้นที่ชวนตั้งคำถามถึงผู้คนที่ใช้ชีวิตริมโขงตั้งแต่เกิดจนสิ้นชีพ เพราะชีวิตบนสายน้ำมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทุกโมงยาม
ชีวิตที่สับสนอลหม่านมีวันดีๆ และวันร้ายๆ ซึ่งชีวิตที่ไม่อยู่ท่ามกลางสงครามอย่างในยูเครนก็ยังดีกว่า แต่มนุษย์มักมีห้วงคำนึงที่ทำให้ตัวเองเจ็บปวดเสมอ แม้จะตื่นหรือฝัน ชายคาเรื่องสั้นตอนที่ 5 “หลังฝนซามีเรือลำหนึ่งล่องไปในมหาสมุทร” ชวนผู้อ่านตั้งคำถามกับชีวิตที่หม่นๆ นี้
คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยถูกกล่าวหาว่า “เป็นพวกหนักแผ่นดิน ถูกล้างสมอง” เชื่อว่า มีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่กำลังเผชิญชีวิตเหมือนอย่างตัวละครของ รัชศักดิ์ จิรวัฒน์ ถ้าใครอยู่ในภาวะนี้คงเข้าใจหัวอกตัวละครเรื่องนี้ได้ดี